สุชาติ
อาจารย์ สุชาติ สุชาติ สุขราช

ธรรมะสำหรับ ผู้บริหาร


ธรรมะสำหรับ ผู้บริหาร

ธรรมะสำหรับ
ผู้บริหาร

ธรรมะกับผู้บริหารเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจแยกจากกัน ถ้าเราแยกธรรมะออกจากผู้บริหารหรือแยกธรรมะออก
จากการบริหารเมื่อไร ก็จะเกิดสภาวะอนาธิปไตยคือการบริหารนั้นล้มเหลว ไม่มีใครฟัง บริหารแต่ไม่มีคนทำตาม ทุกองค์กรเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น

ถ้าผู้บริหารไม่มีศักยภาพที่จะบริหารเพราะขาด
หัวใจคือธรรมะ ถึงใช้อำนาจบริหารก็ไม่มีคนทำตาม ดังนั้นธรรมะในการบริหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ขาดไม่ได้
ธรรมะในการบริหารมีมาก คงไม่สามารถหยิบมา
กล่าวในที่นี้ได้ทั้งหมด จะขอหยิบมาบางแง่มุม เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพอหอมปากหอมคอ

ทฤษฏีผู้บริหารมี ๔ แบบ คือ
๑. ผู้บริหารแบบพนักงานรถไฟผู้บริหารแบบพนักงานรถไฟในเมืองไทยก็คือไปตามราง มีโบกี้รถไฟ มีรางรถไฟ ขึ้นไปขับรถไฟ ไปตามรางจากสถานีต้นทาง ถึงปลายทาง ถ้ามีรางให้วิ่ง อย่างไรก็ถึงไม่คิดอะไรใหม่ ไม่ท้าทาย ไม่ลงทุน ไม่ปรับปรุงไม่แสวงหาบริการเสริม ไม่ขายบริการ ขับไปเรื่อยๆ กี่ปีกี่ชาติก็เป็นเช่นนั้นเอง นี่คือผู้บริหารแบบพนักงานรถไฟปล่อยให้ระบบไหลไปตามกลไกของมันเองโดยที่ตนเองแทบไม่แตะส่วนใดๆ

๒. ผู้บริหารแบบนายแพทย์

ผู้บริหารแบบนายแพทย์ก็คือ เป็นนักแก้ปัญหา เวลาปัญหาเกิดขึ้นมาจะหาสมมุติฐาน หาสาเหตุ หาวิธีการแล้วลงมือผ่าตัด เยียวยารักษา ถ้าเยียวยารักษาได้นายแพทย์จะมีความสุขมาก ดังนั้นผู้บริหารแบบนายแพทย์ก็เป็นผู้บริหารนักทำงาน แต่ก็เหมือนนายแพทย์ คือ ถ้าไม่มีการเข็นผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลก็ไม่ทำอะไรเหมือนกันถ้าผู้ป่วยไม่มาถึง ถึงเวลานัดหมายแล้วคนไข้ยังไม่มา
ก็อาจเล่นบีบี ทวิตข้อความขึ้นในทวิตเตอร์

๓. ผู้บริหารแบบชาวนาผู้บริหารแบบชาวนา คือ ผู้บริหารที่เอาธรรมชาติเข้าว่าการเมืองไม่ดีก็ไม่เป็นไร นักท่องเที่ยวไม่มาก็ไม่เป็นไรสบายๆ คือไม่คิดอะไรใหม่ ชาวนาแม้จะมุ่งผลผลิตก็จริงแต่ผลผลิตนั้นจะต้องอยู่ในพื้นที่ของตัวเองเท่านั้นจะไม่ขยายตลาดเพิ่ม และก็ผู้บริหารชนิดนี้จะจำกัดพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบมีเท่าไหร่ก็จะจำกัดอยู่แค่นั้น

๔. ผู้บริหารแบบชาวประมง

ชาวประมง ที่ออกทะเลไปนั้นพื้นที่ไม่จำกัด และมีความเสี่ยงเพราะว่าตรงที่ที่เส้นขอบฟ้าสิ้นสุดนั้นไม่ใช่ว่าทะเลจบแค่นั้น ชาวประมงต้องกล้าที่จะแล่นเรือออกไป ขยายเส้นขอบฟ้าออกไปเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าคลื่นลมจะมาเมื่อไหร่และใต้
มหาสมุทรจะมีปลามากน้อยแค่ไหนชาวประมงไม่รู้ฉะนั้นผู้บริหารแบบชาวประมงคือเป็นนักเสี่ยงเป็นนักท้าทาย เป็นนักแสวงโชค เชื่อมั่นในตนเองสูง กล้าคิดกล้าทำ กล้านำ กล้ารับผิดชอบ และกล้าเสี่ยง

ที่มา  จากหนังสือ 

บริหารคนให้สำราญ บริหารงานให้สัมฤทธิ์
ว.วชิรเมธี

หมายเลขบันทึก: 497100เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้บริหาร..ต้อง

- ครองตน (เป็นต้นแบบ/เป็นแบบอย่าง)

- ครองคน (ได้ใจคนทุกระดับ)

- ครองงาน (รอบรู้ในงานของตน)

 

ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท