ปักธง-กระจายอำนา จจัดการตนเองแบบระยอง


อุตสาหกรรม-เกษตร-ท่องเที่ยว อยู่ด้วยกันได้

         ภาพในอนาคตของระยอง คือ อุตสาหกรรมขยายตัวเป็นผลกระทบ  สวนหมด  น้ำหมด/น้ำเสีย  ปลาหาย  อยากเห็น ระยองเป็นแหล่งอาหาร  การท่องเที่ยวอนุรักษ์  รัฐสนับสนุนชาวบ้าน มีที่ทำกิน  รู้จักตัวเอง (ประชุมกลุ่ม)

           จังหวัดระยองมีความพร้อม “ ครบเครื่อง”  ในการรับการกระจายอำนาจ  อยากให้ภาคเกษตร  อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวอยู่กันได้  ให้ชาวบ้านช่วยคิดว่าเราจะอยู่กันอย่างไร (นายก อบจ.ระยอง นายปิยะ ปิตุเดชะ)

 เมื่อวันที่วันที่ 10 - 11  กรกฎาคม  2555  ณ บ้านสังข์รีสอร์ต  แหลมแม่พิมพ์  อ.แกลง    จ.ระยอง   ได้มีการสัมมนาเรื่องกระจายอำนาจและจัดการตนเองจังหวัดระยอง  มีผู้แทนองค์กรท้องถิ่นและส่วนกลางเข้าร่วมสัมมนา  เป็นการจุดประกายระดมความเห็นจัดการตนเองของชาวระยอง 

 

ความคืบหน้าการกระจายอำนาจ  โดย  ศ.อุดม  ทุมโฆสิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์  นิด้า

            ปัญหาของจังหวัดระยองคือปัญหาของท้องถิ่นทั้งหมด  ภาควิชาการมองว่า สาเหตุปัญหาคือการรวมศูนย์อำนาจที่คนส่วนน้อย  ได้แก่ ข้าราชการและนักการเมือง สร้างเป็นระบบราชการขึ้นมาสกัดกั้นความเห็นและความเป็นอิสระของท้องถิ่น   ทางแก้คือต้องลดการรวมศูนย์อำนาจ  คือการกระจายอำนาจออกจากส่วนกลาง   หลักการของการกระจายอำนาจ คือ “ให้คนส่วนใหญ่ดูแลปกครองกันเอง”  ต้องเปลี่ยนความคิด ต้องผลักดันแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรค   ภารกิจนี้ได้ทำมานานแล้วและมีโอกาสสำเร็จ        

ประเทศที่เขาประสบความสำเร็จในการบริหารบ้านเมืองก็เนื่องมาจากการกระจายอำนาจ   เช่น ญี่ปุ่น สมัย ร.4 ล้าหลังกว่าไทย  พอหลังสงครามโลกกระจายอำนาจใหญ่จึงเป็นประเทศเจริญ   ประเทศมาเลย์เซียเมื่อไม่กี่สิบปีก็ล้าหลังกว่าไทย  เขากระจายอำนาจจริงจัง จนบัดนี้ก้าวหน้ามากกว่าไทย

หลักการของการกระจายอำนาจมีสี่เรื่อง คือ

1)ให้ท้องถิ่นเป็นอิสระ  เสนอปัญหา แก้ปัญหาได้เอง   ข้อบัญญัติท้องถิ่นมีฐานะเที่ยบเท่ากฎหมาย  เช่น  กฎ Homeroom Participle ของต่างประเทศ

2)เรื่องงบประมาณ “ส่วนกลางเอาให้น้อยลงหน่อย” ภาษีคือเงินจากประชาชน ให้ถือว่าเป็นของท้องถิ่นแล้วจัดสรรว่าจะให้ส่วนกลางเท่าไร

3)ข้อบัญญัติท้องถิ่น  คือ สัญญาประชาคมของท้องถิ่น  ต้องยกให้มีคุณค่าเทียบเท่า กฎหมาย ที่ผ่านมาให้ค่ากับข้อบัญญัติท้องถิ่นน้อยเกินไป    การมองปัญหาต้องมองว่าเป็นเรื่องของระบบ ไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคล

4)ทำให้ท้องถิ่นทั้งชาติมีกลไกเดียวกัน   ลดอำนาจที่กระจุกตัวอยู่กับกระทรวงมหาดไทย  ยังออกระเบียบจุกจิกเป็นการเพิ่มอำนาจให้ส่วนกลาง  กำหนดวงเงินให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติน้อยเกินไป กระทรวงมหาดไทยตั้งหน่วยงานใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซ้ำซ้อนกับกระทรวงอื่น เช่น  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตั้งสำนักสาธารณสุข ขึ้นกำกับท้องถิ่น

ต้องทำความเข้าใจคำจำกัดความการบริหารให้ชัด “ฝ่ายปกครอง” มีหน้าที่ควบคุมดูแลให้ประเทศอยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย “ฝ่ายท้องถิ่น”  คือ การบริหารจัดการในการพัฒนาเพื่อผลประโยชน์ของชาวบ้านและของท้องถิ่น

ผู้นำท้องถิ่นต้องใจกล้าและมีวิสัยทัศน์ในบริหารงานไม่ติดอยู่กับระเบียบกฎหมาย  ถือหลัก “ไม่ทุจริต ประชาชนได้ประโยชน์ – ทำ”  ประชาชนจะอยู่เคียงข้าง

 

นายก อบจ.ระยอง (นายปิยะ ปิตุเดชะ) บรรยายเปิดงาน

            จังหวัดระยองมีความพร้อม “ ครบเครื่อง”  ในการรับการกระจายอำนาจเนื่องจากเป็นพื้นที่มีรายได้สูง มีฐานเศรษฐกิจกว้าง(เกษตร  อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว) องค์กรท้องถิ่นและประชาชนประสานกันได้ อบจ.ระยองถูกมหาดไทยควบคุมมากเป็นข้อจำกัดในการสร้างสรรค์งานเพื่อสนองความต้องการประชาชน

            คณะรัฐมนตรีกำหนดให้มาบตาพุดเป็นเมืองพิเศษในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่คิดว่าทำเฉพาะมาบตาพุดไม่ได้ต้องทำทั้งจังหวัดเพราะปัญหาเกี่ยวเนื่องกัน

            ปัญหาระยองซับซ้อนและถูกส่วนกลางกดทับ อยากให้ชาวบ้านช่วยกันคิดว่า “เราจะอยู่กันอย่างไร” แก้ปัญหาปัจจุบันได้และมีอนาคต  ขณะนี้  “ส่วนกลางกำลังชุลมุล”  ระยองควรเตรียมให้พร้อม มีโอกาสขอไปด้วย

            ท่ามกลางข้อจำกัด  อบจ.ระยอง ก็สร้างสรรค์งานหลายเรื่อง เช่น  เปิดโรงเรียน  บริหารตลาดกลางยางพารา  ช่วยพื้นฟูมายองโอท๊อป  ล่าสุดร่วมทุนกับบริษัทอีสต์วอเตอร์แก้ปัญหาน้ำที่เกาะเสม็ด

            อบจ.ระยองมีหลักทำงานโดยถือประชาชนเป็นตัวตั้ง ใช้กลไกประสาน มุ่งมั่นเดินหน้าแม้มีอุปสรรคจากส่วนกลาง  ฝากคิดว่าเราจะอยู่อย่างไร แบบไหน ?  ให้พวกเราตัดสินใจกันเอง  อบจ.จะสนับสนุน

 

ประชุมกลุ่ม ระดมความเห็น

คาดการณ์อนาคตระยองและผลกระทบ

       ชุมชนท้องถิ่นถูกรัฐครอบงำ  ความตื่นตัวของชุมชนท้องถิ่นไม่ทันการรุกของโรงงาน  รัฐไม่เพิ่มบุคลากรบริการและเยียวยา  ภาพทางลบในอนาคตของระยอง คือ  สวนหมด  น้ำหมด/น้ำเสีย  ปลาหาย  มีแต่เคมีเกิดโรงงานอุตสาหกรรม  เป็นผลทำให้ชาวระยองต่างคนต่างอยู่   วิถีเปลี่ยน  ปัญหาสังคม  การศึกษาสนองทุนนิยม

ภาพที่อยากเห็น

            ระยองเป็นแหล่งอาหาร  การท่องเที่ยวอนุรักษ์  รัฐสนับสนุน มีที่ทำกิน  รู้จักตัวเอง  กศ.เน้นสัมมาทิษฐิ   สมบุรณ์ร่างกายจิตใจ   ไม่มีสารพิษ  สวนผลไม้คุณภาพ  

บูรณาการ ชุมชน/ท้องถิ่น/ท้องที่    มองปัญหารวมเป็นพลัง   ม.๕ บ้านค่ายเป็นสภาชุมชน  ชาวบ้านถือเงิน  มีกฎหมายท้องถิ่น

วางผังเมือง ๓ ขา สอดคล้องสภาพพื้นที่    คุณภาพ รพ.สต.  อุตสาหกรรมสีเขียว  องค์กรชุมชนติดตาม  รพ.ศุนย์ครบวงจร

ระยองเป็นเมืองพิเศษ  ผู้ว่ามาจากเลือกตั้ง   บริหารดี ท่องเที่ยว  ผังเมือง  คนยองมีสุขภาพ  ความปลอดภัย  มีตำรวจท้องถิ่น  อุตสาหกรรมอยู่ร่วมสิ่งแวดล้อม Eco-industry   มีระบบเฝ้าระวัง

มีแหล่งน้ำเพื่อ การเกษตร  ท้องุถิ่นรับผิดชอบ   แบ่งโซนเกษตร  พัฒนาเกษตร  เศรษฐกิจพอเพียง  บ้านปลา  กำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา   มีข้อตกลงเกษตร/อุตสาหกรรม  ประชาชนอยู่ดี ได้รับการสนองจากอุตสาหกรม 

ความร่วมมือสร้างสรรค์เพื่ออนาคต

            ผู้บริหารทุกระดับ คิดให้  อย่าคิดเอา    มีสภาประชาชนมีจิตสำนึกดี   ต้องคิดโดยคนระยองให้คนระยอง    พัฒนาคนถือหลัก  มีความดี   มีความสามารถ   มีความสุข   ขยายความคิดสู่มวลชนมีส่วนร่วมทุกมิติจากคนในพื้นที่  เป็นฉันทามติร่วมคิดสร้างกฎชุมชน

รัฐสนับสนุน/ท้องถิ่นร่วมมือ  รัฐส่งเสริมความพร้อมให้ชุมชนก่อนเขาจะมาร่วมมือ เป็นจังหวัดปกครองพิเศษ

 

วิทยากรให้ความเห็นนำเสนอกลุ่

 รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร  คณะกรรมการประจายอำนาจ

            ปัญหาเกิดจากรัฐ ประชาชนตามไม่ทัน ขยะเป็นปัญหาอมตะ ฝังกลบไม่ถูกหลักวิชา  ระยองเกิดอะไรขึ้น  อนาคตคืออะไร  เข้าใจท้องถี่นดี  ฐานะ กก.กระจายอำนาจจะช่วยเต็มที่

ประชาชนทำความเข้าใจให้ดีกับนายก   เมืองพิเศษอาจไม่ช่วยแก้ปัญหาถ้าไม่พร้อม  ความพร้อมคืออะไร เสนอ อปท.ต้องรวมกันเป็นหนึ่ง ประชาชนต้องตรวจสอบ จนท.ท้องถิ่น  ประชาชนต้องบอกผู้มีอำนาจท้องถิ่นให้ทำ ร่วมตรวจสอบ คือพลัง ปชต. 

ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี  ระยองต้องจัดการตัวเองก่อน เมื่อไหร่หาดจะสะอาด ประชาชนผลักดัน  อยากคุยกับ อปท.ระยองทุกหน่วย

            ปัญหารากฐานคือ “ความเป็นธรรมทางสังคม”  ยินดีมีคนมาร่วม แต่ให้กระจายความคิดให้กว้างขวาง   คอรับชั่นคือการขโมยเงินในกระเป๋า   สร้างประชาชนให้มีพลังร่วมตรวจสอบท้องถิ่น 

          เรายังไม่เป็นประชาธิปไตยจริง ประชาชนถูกชักจูงการเลือกตั้ง  พรรคการเมืองครอบงำท้องถิ่น  ท้าทายให้ประชาชนสร้างพลัง

 

นายอาหาญ  ศิริพูล คณะกรรมการกระจายอำนาจ  อดีตนายกนครขอนแก่น

          การพัฒนาผิดทางทำให้ เกิดความสูญเสียสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม  สังคม  เรียนรู้กระจายอำนาจจากอังกฤษ  เรียนรู้สิ่งไม่ดีจากภูเก็ต พัทยา    นิคมอุตสาหกรรมล้มเหลวในการควบคุมมลพิษยังอยู่ดี 

ทรัพย์ของระยอง คือ ทะเล  รักษาให้ดี   นิคม ระยองยังมีพืช สัตว์น้ำ  เพาะพันธ์ขยาย  สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุนสังคม  จดลิขสิทธิ์  พื้นวัฒนธรรม  เช่น สำเนียง ภาษากลอน     คุณภาพชีวิต- ผลไม้ดี ปลาปลอดภัย จะทำให้คนมาเที่ยว  สร้างสำนึก - ทำให้คนเข้าใจ  รวมกันสร้างเพื่อส่วนรวม อย่าแย่งกันจนขันน้ำหก 

วิสัยทัศน์ -  ระยองเมืองสะอาด  บริสุทธิ์  รักษาภูมิประเทศ – เอาทรายมาขายได้ 

ความรู้จะมาเอง – ถ้าไม่กลัว  ไม่ปิดกั้น   เรียนรู้ ทำประโยชน์  ต่อยอดได้

ฟื้นวิถีชุมชน – อีสานแข่งกันทอดผ้าป่า  ยกย่องศิลปิน/คนดี ประจำถิ่น ตั้งรางวัลกันเองได้ ให้ทุเรียนเป็นคะแนนความดี

พึ่งตนเอง – เริ่มจากรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล บนผลประโยชน์ประชาชน  เน้นการร่วมมือร่วมแรงและใช้ทรัพยากรของทัองถิ่น

ข้อบังคับท้องถิ่น – อนุมัติได้โดยสภาของท้องถิ่น   จะสนองรูปธรรมความต้องการประชาชน  คาดหวังได้มากกว่ารอ พรบ.ผ่านสภา  

     สรุปขอเสนอต่อระยอง   -  ใช้กฎท้องถิ่น  ใช้ทุนสังคม    พึ่งตนเอง  สร้าง ปชต.ด้วยความรัก   (จะหวงแหนพัฒนาต่อได้   คนนอกเสนอมาได้แค่ความชอบ)

 

รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน  ประธานสภาอาจารย์ นิด้า 

         เพียงร้องขอกระจายอำนาจจะไม่ได้  เสนอคิดเชิงรุกร่วมต่อสู้เข้ามีอำนาจรัฐ  ๕ ปีอำนาจรัฐต่อสู้กันจนวิกฤตไม่รู้ว่าเอากฎอะไรปกครองประเทศ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่

ประชาชนควรเข้าร่วมแสวงหากฎการปกครองใหม่ ไม่ต้องพึ่ง กก.กระจายอำนาจ  - ผลักดันให้ฝ่ายอำนาจเสนอว่าจะสนองปัญหาประชาชนอย่างไร  ร่วมแสดงเจตจำนงค์ทางการเมือง  มีต้นทุนอยู่แต่ยังไมแสดงความพร้อมให้ผู้มีอำนาจเห็น  ร่วมความเคลื่อนไหวการเมืองเมือเกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของส่วนกลาง  ทำต้นแบบ  เข้าร่วมในเหตุการณ์

กลุ่มสยามประชาภิวัตน์ เสนอแบบการปฎิรูปประเทศไทย  รูปแบบปกครองประชาชนต้องคิดเอง

 ผอ.  พิศิษฐ์  ศิริสุวรรณ    สภาพัฒนาการเมือง

 

           สภาพัฒนาการเมืองให้ความสำคัญเรื่อง   คุณธรรมจริยธรรมนักการเมือง  และกระจายอำนาจ  สนับสนุนภาคประชาชนขับเคลื่อนการกระจายอำนาจในรูปแบบ “จังหวัดจัดการตนเอง” ปัจจุบันดำเนินการอยู่ใน 8 จังหวัด   งบประมารณสำหรับจังหวัดระยองมีเงินเหลือ ๒  ล้าน เพื่อทำกิจกรรมประชาธิปไตยชุมชน   เห็นว่าควรทำแผนให้สอดคล้องกับกิจกรรมขับเคลื่อนกระจายอำนาจที่เริ่มกันในวันนี้

 สว.สาย  กังกเวคิน   สมาชิกวุฒิสภาจะหวัดระยอง

 

            วันนี้ร้านโชวห่วยระยองกำลังจะตาย  กรรมาธิการวุฒิสภารับเรื่องร้องเรียนไว้มาก   การทำ EIA  ที่รัฐธรรมนูกำหนดไว้ในมาตรา 67 ไม่ได้ผลเนื่องจากมีการล้อบบี้กัน  ผู้ทำโครงการให้บริษัทในเครือข่ายมาเป็นผู้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจึงเข้าข้างผู้เสนอโครงการ มีการ ล็อบบี้นักการเมือง   เราต้องเสียสละ ประชาธิปไตยยังอีกยาวไกล   นายก อบจ.ระยองสนับสนุนดี   ทำเลือกตั้งให้สะอาด ทำให้การเมืองเข้มแข็ง    นักการมืองฝายต่อต้านยังมีอีกมาก  โดยส่วนตัวเห็นว่ารัฐบาลนี้คงไม่เอาจังหวัดจัดการตนเอง  ต้องรอเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสำคัญของส่วนกลาง

ประชาชนบางกลุ่มเข้มแข็ง เช่น สหกรณ์วังจันทร์แข็ง   แต่บ้านค่ายยังอ่อนอยู่ทำให้เกิดโรงงานเป็นดอกเห็ด    เป็นห่วงว่าชุมบนระยองจะนอนรอความตายจากอุตสาหกรรมที่ล้อมรอบกระชับเข้ามาเรื่อย ๆ 

กรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภามีอำนาจเรียกหน่วยงานมาชี้แจงได้ แต่ชาวบ้านกล้าเรียกร้องหรือเปล่า

 

นายนิวัต พ้นชั่ว อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดระยอง

            การอุตสาหกรรมก่อผลกระทบต่อ ภาคเกษตรและสิ่งแวดล้อม  มีการประท้วงคัดค้านกันมาเป็นระลอกแต่อดีต ปัญหามีว่าคนระยองพร้อมจะสนับสนุนเงิน แต่ไม่ค่อยออกมาร่วมชุมนุม  ที่ผ่านมามีเรื่องทีก็เคลื่อนไหวกันที ไม่ค่อยต่อเนื่อง วันนี้เป็นคนจำนวนมากจากหลายกลุ่มมาประชุมเห็นเป็นนิมิตหมายดี   อยากให้ขับเคลื่อนต่อไป  กลุ่มอาวุโสยินดีสนับสนุน  อยากเห็นทุกฝ่ายในระยองร่วมกันจริงจังทั้งชาวบ้าน  ท้องถิ่น  ท้องที่   สส. และ สว.  การที่ อบจ.มาสนับสนุน ก็นับว่าเป็นเงื่อนไขที่ดีในการสรวมพลังระยอง

 

สรุปงานที่จะเดินต่อไป โดย อ.สมพงษ์  พัดปุย เครือข่ายท้องถิ่นไทย

            การประชุมวันนี้ไม่ใช่แค่งานวิชาการ คือ การประกาศสัญญาประชาคมขององค์กรที่เข้าร่วมว่าจะผนึกร่วมมือสร้างอนาคตเมืองระยอง  ตามทิศทางใหญ่ที่นายก อบจ.ระยองเสนอ  โจทก์ คือ  “เราจะอยู่กันอย่างไร  แบบไหน” เป้าหมายคือให้เกษตร อุตสาหกรรม  ท่องเที่ยว  ไปด้วยกันได้สู่ความยั่งยืนของจังหวัดระยอง   ขณะนี้ส่วนกลางกำลังชุลมุน ระยองควรมีความพร้อม ร่วมกับ  ขบวนภาคประชาชนจังหวัดอื่น ๆ  ใช้สถานการให้เป็นประโยชน์ขับเคลื่อนกระจายอำนาจบนความต้องการของคนระยอง

            โครงการที่จะประสานกันต่อไปได้แก่  

  1. จัดเวทีฟังความเห็นขององค์กรปกครองท้องถิ่น และ กำนันผู้ใหญ่บ้าน (อบจ.)        
  2. โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบกระจายอำนาจ จ.ระยอง  (นิด้า)
  3. โครงการประชาธิปไตยชุมชนระยอง (สพม.)
  4. สร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชน (พอช.)
  5. เสนอเป็นจังหวัดนำร่อง โครงการศูนย์บูณาการท้องถิ่น (คณะ กก.กระจายอำนาจ)

 

หลักการสำคัญคือ ทุกโครงการต้องถือประชาชนเป็นเป้าหมาย  บูรณาการกัน มีข้อมูลร่วมกัน เพื่อสร้างขบวนของระยองให้มีพลังบนรากฐานการพึ่งตนเอง

หมายเลขบันทึก: 497076เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ใช่กระจายอำนาจแบบข้างบนสั่งมา  ต้องเริ่มจากความเข้าใจของคนระยอง และพร้อมจะร่วมมือ-รับผิดชอบ

เชียงใหม่จัดการตนเอง ภูเก็ตจัดการตนเอง อำนาจเจริญจัดการตนเอง ปัตตานีจัดการตนเองและ...ระยองจัดการตนเอง

ส่วนพัทลุงก็กำลังเข้มข้นจัดการตนเอง ภายใต้โจทย์ เมืิองลุงน่าอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท