ข่าวใหม่ของ บรรณสาร มทส.


จัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อเมริกัน

โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาระดับป. ตรีได้เรียนรู้จักวัฒนธรรมตะวันตก ในวันที่ 4-5 ก.ย.2549  ที่ผ่านมา

คนึงนิตย์ บร. มทส.

หมายเลขบันทึก: 49684เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ไชโยพี่นิตย์เขียนได้แล้ว
  • รออ่านอีกครับผม

  • Spaz




ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามีหอจดหมายเหตุแล้วนะ จะเปิดอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้ ในวันที่ 29 ก.ค. 53

การบริหารการจัดการหนังสือพิมพ์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คนึงนิตย์ หีบแก้ว

หนังสือพิมพ์ได้จัดพิมพ์ขึ้นในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2387 หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกของไทยมีชื่อว่า บางกอกรีดคอเดอร์ แต่คนไทยเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเป็นรายปักษ์ พิมพ์เดือนละ 2 ครั้ง โดยมีหมอบรัดเลย์เป็นบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์เปรียบเป็นแหล่งข่าวสาร แหล่งข้อมูล เผยแพร่ให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่ผู้อ่าน ให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม สามารถรับรู้และทันเหตุการณ์ที่เกิดมากมาย และมีผู้ให้ความหมายหนังสือพิมพ์ไว้ดังนี้

พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ให้ความหมายไว้ว่า หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน ออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม

หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตามปรกติออกเป็นรายวัน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2542)

สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความหมายหนังสือพิมพ์ ว่าหมายถึง แผ่นกระดาษซึ่งตีพิมพ์ลายลักษณ์อักษร เป็นข้อความ เสนอต่อสาธารณชนตามวาระที่กำหนด ตามปกตินิยมคือ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และข้อความที่ตีพิมพ์อยู่นั้น เป็นรายงานเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และจะเกิดขึ้นในอนาคต

จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์รายงานข่าวสาร ข้อเท็จจริง เหตุการณ์สำคัญ เพื่อให้ความรู้ ความบันเทิง และเสนอข้อเขียนเชิงวิพากษ์ วิจารณ์ต่างๆ ทิ่เกิดขึ้นในแต่ละวัน หรือเนื้อหาสาระอื่นๆ ที่น่าสนใจ มีระยะเวลากำหนดออกจำหน่ายชัดเจน

ในยุคเทคโนโลยีการสื่อสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถูกพัฒนามากขี้น หนังสือพิมพ์ยังคงมีบทบาทความสำคัญต่อผู้อ่าน ซึ่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่อาจทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ไม่อาจทดแทนหนังสือพิมพ์ฉบับจริงได้เนื่องจากขาดเนื้อหาที่ครบถ้วนของสิ่งพิมพ์นั้น ๆ เพราะข้อความทั้งหมดที่เผยแพร่ส่วนใหญ่มาจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ (โอฬาร สุขเกษม, 2550) ปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคนิคการผลิตและรูปลักษณ์หนังสือพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ และสื่อโทรทัศน์ เพื่อไม่ให้หนังสือพิมพ์แบบดั้งเดิมถูกกลืนหายและถูกมองว่าล้าสมัย ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์จึงถูกแปลงเข้าสู่รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าอ่านมากขี้น และต้นทุนการผลิตถูกลงเนื่องจากไม่ต้องตีพิมพ์ ไม่ต้องเข้าเล่ม รวบรัด กระชับและรวดเร็วมากขึ้น (บุรีรัตน์ สามัตถิยะ, บรรจง ปิยธำรง และครรชิต มาลัยวงค์, 2548)

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เป็นฉบับตีพิมพ์และในรูปอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือพิมพ์เป็นทรัพยากรหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจัดให้บริการผู้ใช้บริการ การบริหารจัดการหนังสือพิมพ์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีดังนี้

1. รูปแบบของหนังสือพิมพ์ให้บริการ 2 รูปแบบ คือ หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ชื่อ IFD Newsclip online

และบริการฉบับจริง มีให้บริการจำนวน 23 รายชื่อ ได้แก่ กรุงเทพธุรกิจ ข่าวสด คมชัดลึก โคราชรายวัน ไทยโพสต์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ฐานเศรษฐกิจ แนวหน้า บ้านเมือง ประชาชาติธุรกิจ ผู้จัดการรายวัน ผู้จัดการรายสัปดาห์ มติชน โลกวันนี้รายวัน โลกวันนี้รายสัปดาห์ สยามกีฬา สยามโพสต์ สยามรัฐ แหล่งงาน สมัครด่วน The Nation Bangkok Post

1. สถานที่ให้บริการหนังสือมี 2 แห่ง คือ บริเวณข้างห้อง Silent zone 3 ชั้น 1 ให้บริการหนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน และบริเวณหลังเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2 ให้บริการหนังสือพิมพ์ย้อนหลัง

2. การเตรียมหนังสือพิมพ์ก่อนออกให้บริการ หนังสือพิมพ์ฉบับจริงทุกฉบับที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาให้บริการต้องเย็บเล่มก่อนออกให้บริการ เพื่อให้ผู้อ่านเปิดอ่านได้สะดวก แต่มักประสบปัญหาฉีกขาดระหว่างวัน อาจสืบเนื่องมาจากวิธีการเย็บและคุณภาพของกระดาษ การเย็บในปัจจุบันศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา นิยมเย็บสันด้วยลวดเย็บกระดาษ 3 ตำแหน่ง คือ สันด้านบน กลาง และล่าง ซึ่งเหมาะกับหนังสือพิมพ์ที่มีความหนาไม่มาก แต่มีข้อจำกัด คือ ความยืดหยุ่นในการเปิดไม่สามารถเปิดกางหนังสือพิมพ์ได้ไม่เต็มที ส่งผลให้เกิดการฉีกขาดง่าย และสันของหนังสือพิมพ์ไม่สวยงาม การเย็บหนังสือพิมพ์ มีขั้นตอนการเย็บ ดังนี้

1. ในกรณีหนังสือพิมพ์ 1 รายชื่อมีจำนวน 2 ชุดจะประกอบ ชุดแรก และชุดสอง เข้าด้วยกัน

ดังภาพที่ 1-2

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

2. เย็บหนังสือพิมพ์ด้วยลวดเย็บกระดาษ 3 ตำแหน่ง ดังภาพที่ 3-5

ภาพที่ 3

ภาพที่ 4

ภาพที่ 5

3. เมื่อเย็บหนังสือพิมพ์เสร็จ ด้านหน้าและสันของหนังสือพิมพ์ จะปรากฏ ดังภาพที่ 6-7

ภาพที่ 6

ภาพที่ 7

  • พี่นิตย์มา ฮ่าๆๆ
  • ไปกดเพิ่มบันทึกใหม่นะครับพี่
  • ฝากระลึกถึงทุกๆๆท่านในหอสมุดด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท