กฏหมายน่ารู้


กฏหมายน่ารู้

เงินฝาก กับ โทษลักทรัพย์

 

                                                                                              เขียน  ลีลา LAW 

               หลายท่านอาจเคยได้ยินข่าวพนักงานธนาคารใช้อุบายวิธีต่างๆในการเอาเงินฝากของลูกค้าไป นายจ้างจักทราบพฤติกรรมไม่ดีนี้ต่อเมื่อผู้ฝากร้องเรียนหรือผู้ตรวจสอบภายในองค์กรทำรายงานให้ทราบเท่านั้น จึงมีคำถามหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในใจ คือ ใครเป็นผู้เสียหายสำหรับพฤติกรรมเอาเงินฝากนี้ไป

               ปัญหาเรื่องการแอบนำเงินฝากในธนาคารไปเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของพนักงานธนาคารเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง จนกระทั่งมีการฟ้องคดีสู่ศาลฎีกาแล้ว จึงขอนำคำตัดสินที่จักตอบคำถามคาใจข้างต้นได้ คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 1104/2545 นายกอง เป็นพนักงานธนาคารแผนกรับฝากเงินของธนาคารไทย ซึ่งถือเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ เพราะเมื่อลูกค้านำเงินมาฝากที่ธนาคารไทย จึงถือเป็นเงินของผู้เสียหายและอยู่ในความครอบครองของธนาคารไทยแล้ว มิใช่อยู่ในครอบครองของนายกอง จำเลยในคดีนี้ การที่นายกองใช้ใบถอนเงินของลูกค้าหรือแก้ไขบัญชีลูกค้า ถือเป็นกลวิธีในการถอนเงินของธนาคารไทยจนเป็นผลสำเร็จแล้วทุจริตนำเงินนั้นไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และ ปรับไม่เกิน หกพันบาท มิใช่ความผิดฐานยักยอก

               ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า เงินฝากในธนาคารถือเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารที่มีเงื่อนไขว่า จะต้องคืนเงินจำนวนเดียวกันแก่ลูกค้าตามเวลาที่ตกลงกันหรือเมื่อลูกค้าเรียกร้องเท่านั้น ลูกค้าจึงมิใช่ผู้เสียหายแท้จริงที่มีอำนาจแจ้งความหรือฟ้องคดีต่อศาลสำหรับกรณีนี้ อีกสิ่งที่ผู้คิดก่อคดีประเภทนี้พึงระลึกไว้ คือ การตัดสินโทษประเภทนี้จะคำนึงถึงจำนวนครั้งที่จำเลยได้เอาเงินฝากของธนาคารไปเป็นหลักด้วย เช่น ถอนเงินในบัญชีของลูกค้าไป 50 ครั้ง และได้เงินไปหลายแสนบาท หรือ ไม่กี่พันบาท เป็นต้น การตัดสินโทษนั้นจะกำหนดเป็นรายครั้งที่ได้กระทำผิดนั้น หากศาลลงโทษคดีลักทรัพย์เงินฝากนี้ให้จำคุก 2 ปีจึงต้องลงโทษทุกกรรมที่ทำ ดังนั้น มีการถอนเงินไป 50 ครั้ง ทำให้จำเลยในคดีต้องรับโทษรวมกันเป็นจำนวน 100 ปี และต้องชดใช้เงินที่ลักทรัพย์ไปอีกด้วย แม้จะมีกฎหมายกำหนดให้รับโทษสูงสุดเพียง 50 ปีก็ตาม มันคงไม่คุ้มค่ามากพอกับเวลาที่สูญเสียไปในการจำคุกด้วยเวลาที่นานเพียงนั้น และความน่าเชื่อถือที่หมดไปด้วยพฤติกรรมของตัวเอง ก่อนที่จะคิดทำผิดกฎหมาย ขอให้ตระหนักด้วยว่า การสร้างเครดิตให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลอื่นต้องอาศัยเวลายาวนาน แต่การทำลายเครดิตทำได้เพียงชั่ววินาทีเท่านั้น โอกาสพลิกฟื้นเครดิตขึ้นมาอีกครั้งทำได้ยากยิ่ง เพราะอดีตเป็นภาพที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้และต้องติดตัวไปตลอดชีวิต นั่นหมายความว่า ท่านต้องสร้างเครดิตขึ้นใหม่ท่ามกลางอดีตมัวหมองที่เป็นประกาศเตือนบุคคลอื่นไว้อยู่ มันย่อมเป็นความลำบากในอนาคตที่ทุกท่านสามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ จึงพึงรักษาเครดิตของท่านไว้ให้ดีที่สุด

 

 

************************

ขายฝากโดยคู่สมรสไม่ยินยอม

ที่ดินขายฝากโดยคู่สมรสไม่ยินยอม

เขียนโดย  ลีลา LAW

 

                การใช้ทรัพย์สินเป็นประกันเพื่อกู้ยืมเงิน มิได้มีแค่จำนองหรือค้ำประกันเท่านั้น อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมากเพราะความรวดเร็วและเป็นส่วนบุคคล คือ  การขายฝาก ซึ่งมีความแตกต่างจากการจำนอง คือ จำนองนั้นเจ้าของที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่จนกว่าจะพ้นกำหนดเวลาจ่ายเงินไถ่จำนอง แต่การขายฝากนั้นผู้ซื้อฝากหรือผู้ให้เงินเป็นเจ้าของที่ดินตั้งแต่วันขายฝาก แต่มีเงื่อนไขว่าจะยอมให้ผู้ขายฝากไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ตามเวลาที่กำหนด ถ้าพ้นเวลาที่ตกลงกันแล้วที่ดินแปลงนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ปราศจากเงื่อนไขอีกต่อไป ผู้ขายฝากหรือกู้เงินนั้นมีอำนาจอย่างเดียว คือ ช่วงเวลาขายฝากนั้นมีสิทธิ์ไถ่ที่ดินได้ตลอดเวลา ผู้ซื้อฝากไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธการรับใช้หนี้เด็ดขาด ในทางกลับกัน ถ้าพ้นเวลาไปแล้วที่ดินจะเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ของผู้ซื้อฝากโดยไม่ต้องจดทะเบียนอีกครั้ง ขั้นตอนการขายฝากจึงสั้นและง่ายกว่าการจำนอง ไม่ต้องมีการบังคับชำระหนี้ให้ยุ่งยากด้วย  ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในการขายฝากที่ดิน คือ กฎหมายกำหนดว่าการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย หากไม่ได้รับความยินยอม จักเกิดผลอย่างใดกับการขายฝากหรือไม่

               คำตอบสำหรับข้อสงสัยข้างต้นได้เกิดขึ้นในคดีพิพาทซึ่งภรรยานำที่ดินและบ้านไปขายฝากกับผู้ซื้อฝากคนหนึ่ง โดยไม่ได้รับคำยินยอมจากสามี ต่อมาไม่มีเงินไถ่ที่ดินภายในเวลากำหนด ผู้ซื้อฝากจึงบอกขับไล่สองสามีภรรยาให้ออกจากที่ดินซึ่งรับฝากไว้เมื่อพ้นเวลาไถ่ถอนขายฝากแล้ว สามีสู้คดีว่าเขาไม่ได้ให้คำยินยอมในการขายฝากครั้งนี้ จึงยังเป็นเจ้าของบ้านอยู่ สัญญาขายฝากไม่ชอบด้วยกฎหมาย การต่อสู้คดีดำเนินต่อไปจนกระทั่งถึงศาลฎีกา ดังใน คำพิพากษาฎีกาที่ 7674/2550  ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้เพิกถอนการขายฝากที่ดินสินสมรสซึ่งคู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ ที่ดินนั้นยังเป็นของผู้ซื้อฝากซึ่งฟ้องขับไล่จำเลยและคู่สมรได้โดยไม่ถือว่าคู่สมรสที่ไม่ได้ให้ความยินยอมเป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินต่อไป ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)

          คำตัดสินดังกล่าวยืนยันว่า แม้การขายฝากโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสจะไม่สมบูรณ์ หากยังไม่ได้เพิกถอนสัญญาขายฝากตามขั้นตอนของกฎหมาย ก็ต้องถือว่าการขายฝากนั้นสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา สิทธิ์ของผู้ซื้อฝากผู้สุจริตต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายและใช้อำนาจเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ตามหลักขายฝากและหลักกรรมสิทธิ์เมื่อพ้นเวลาไถ่ถอนคืนแล้ว

 

*****************************

มรดกที่ดินติดจำนอง

 

เขียนโดย  ลีลา LAW

ท่านที่ได้รับมรดกจากญาติผู้ใหญ่นั้น ถือเป็นลาภในชีวิตหรือสิทธิอันพึงได้รับของทายาทเจ้ามรดก แต่บางครั้งอาจต้องทุกข์ใจหากสิ่งที่ได้รับเป็นที่ดินติดจำนอง และมีเจ้าหนี้ตามทวงหนี้กับทายาทซึ่งรับทอดมา อันสร้างความยุ่งยากใจแก่ผู้รับอย่างมาก คำถามที่เกิดขึ้นเมื่อมีเจ้าหนี้จำนองฟ้องทวงหนี้กับทายาทซึ่งรับมรดกที่ดินแปลงนี้ คือ เจ้าหนี้มีสิทธิทวงเงินกับทายาทของลูกหนี้ได้เพียงใด

         กรณีนี้ได้เคยมีการพิพาทกันจนกระทั่งมีคำตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้ที่ คำพิพากษาฎีกาที่ 809/2545 เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้และบังคับจำนองกับที่ดินซึ่งจำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินแปลงพิพาทอันเป็นของลูกหนี้มาก่อน หลังจากที่ลูกหนี้ตายไปเกิน 1 ปี ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่า 1 ปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือ ควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก จำเลยจึงโต้แย้งว่า คดีนี้ขาดอายุความมรดก 1 ปีไปแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องเรียกหนี้จำนองได้ แต่ศาลได้พิพากษาว่า บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นยกเว้นมิให้นำอายุความมรดกนี้มาใช้บังคับกับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 ซึ่งกำหนดให้ ผู้รับจำนองยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปีขึ้นไปไม่ได้ จากข้อกฎหมายนี้ทำให้แม้คดีนี้จะขาดอายุความไปแล้ว กฎหมายยังยอมให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินจำนองได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของลูกหนี้ให้ชำระหนี้จากที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำนองได้ และทายาทดังกล่าวจักรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับมาซึ่งมีกฎหมายบัญญัติคุ้มครองไว้ คำตัดสินดังกล่าวข้างต้นเป็นการให้ความยุติธรรมกับเจ้าหนี้ผู้มีประกันจำนองและทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก กรณีที่ลูกหนี้ตายกะทันหันก่อนชำระหนี้สินเสร็จสิ้น ดังนั้น ทายาทผู้รับมรดกคงทราบความจริงแล้วว่า การรับมรดกนั้นเป็นการรับทั้งสิทธิและหน้าที่อันติดอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งรวมถึงหนี้สินของเจ้ามรดกด้วย

 

                                              ****************************

สิทธิปฏิเสธไม่รับการยื้อชีวิต

 

         เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรมที่มนุษย์ทุกชนชั้นไม่เคยหลีกเลี่ยงได้ แม้จะมีเงินทองอยากซื้อชีวิตมากแค่ไหน สุดท้ายก็ไม่เคยพ้นความตาย เมื่อบ้านเมืองพัฒนาความรู้และเครื่องมือการรักษาโรคหรือพยุงชีวิตได้ทันสมัย เพียงช่วยให้เขาหรือเธอรอดชีวิตหรือยื้อชีวิตได้พักหนึ่งสุดแต่ระดับความเจ็บป่วยของแต่ละคน การพัฒนาวิธีพยุงชีวิตยังมีอีกด้านหนึ่งที่ควรรู้และกลายเป็นเรื่องที่หลายคนเสนอว่า การพยุงชีวิตอาจเป็นการมีชีวิตต่อไปอย่างทุกข์ทรมาน จึงอยากเลือกใช้สิทธิการตายของตัวเอง

        รัฐธรรมนูญไทยเปิดโอกาสให้คนไทยใช้สิทธิการตายได้โดยมีกฎกระทรวงออกมารับรองและเสนอรูปแบบการแสดงเจตนาล่วงหน้าสำหรับการตายอย่างมีศักดิ์ศรีของตนเยี่ยงเดียวกับชาติตะวันตกยอมรับรองสิทธิประเภทนี้แล้วบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิการตายคือ แพทย์และทีมงาน ไทยมีกฎหมายควบคุมการทำงานของแพทย์และจรรยาบรรณไว้ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า แพทย์ต้องใช้วิชาความรู้และเครื่องมือเท่าที่มีเพื่อรักษาชีวิตคนไข้อย่างเต็มความสามารถและบนมาตรฐานสากล อีกทั้งต้องทำงานอย่างความรอบคอบอีกด้วย หากแพทย์คนใดไม่ทำงานตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ จักต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะโคม่าหรืออาการหนัก จึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องรักษาชีวิตคนไข้ให้รอดปลอดภัยเป็นหลัก นอกจากสุดวิสัยจะยื้อรักษาชีวิตไม่ได้ด้วยสภาพโรคและความไม่พร้อมของร่างกายคนไข้เองซึ่งก็ยังมีหลักการประเมินการทำงานของแพทย์และความตายของคนไข้ช่วยชี้ว่า แพทย์ได้ทำงานครบถ้วนมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่

          เมื่อแพทย์ต้องทำงานหลักในการรักษาชีวิตคนไข้ให้รอดปลอดภัยเป็นหลักและทำอย่างสุดความสามารถ วิธียื้อชีวิตหรือลดอันตรายจากการเสียชีวิตจึงไม่พ้นที่แพทย์อาจต้องใช้เครื่องมือหลายชิ้นกับคนไข้ ทั้งแทง เสียบสาย ทุบอก ซึ่งเป็นวิธีการปั๊มหัวใจ เสียบสายน้ำเกลือ ต่อท่อหายใจ เพื่อรักษาหลายระบบในร่างกายให้ทำงานต่อไป หากแพทย์ไม่ทำสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานก็อาจถูกกล่าวหาจากญาติคนไข้ว่า ละเลยการทำงานหรือช่วยชีวิตคนไข้ บางครั้งแม้แพทย์จะทำสิ่งเหล่านั้นกับคนไข้แล้ว แต่ด้วยสภาพโรคและร่างกายคนไข้ที่ทนต่ออาการโรคไม่ได้ ก็อาจสิ้นชีวิตด้วยเหตุสุดวิสัยและสุดความสามารถของแพทย์แล้ว ภาพการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตคนไข้หรือการทำงานเพื่อยื้อลมหายใจคนไข้ไว้ อาจเป็นภาพน่าหวาดเสียวของหลายคน ทั้งนี้ทุกอย่างทำเพื่อให้คนไข้รอดชีวิตและเป็นไปตามหลักวิชาชีพกับความรู้ทางการแพทย์ซึ่งทั้งโลกก็เรียนรู้เหมือนกัน

                คนไข้บางคนเป็นโรคร้ายแรงที่รู้วันเวลาตายแน่นอนหรือแก่ชราและมีโรคร้ายรุม อาจรู้สึกว่าเมื่อเวลาสุดท้ายมาถึงก็ไม่อยากให้แพทย์ยื้อชีวิตไว้ เพราะแม้รอดมีลมหายใจ แต่ก็ต้องนอนไร้สติหรือแค่ยื้อความตายออกไปเพียงเล็กน้อย เขาหรือเธออาจไม่อยากให้ใช้วิชาแพทย์หรือเครื่องมือสารพัดแบบกับร่างกายตน และพร้อมใจรับความตายโดยดุษฎี แต่เกรงญาติพี่น้องไม่ยอมรับเรื่องนี้ จึงอาจขอใช้สิทธิเลือกการตายอย่างมีศักดิ์ศรี คือ ตายโดยธรรมชาติ หมายถึง อวัยวะทุกระบบที่ปราศจากเครื่องช่วยชีวิตจะค่อยๆยุติการทำงานตามธรรมชาติด้วยภาวะโรคและสภาพร่างกายคนไข้  ทั้งนี้ กฎหมายยังบังคับให้แพทย์ต้องคอยรักษาประคับประคองจนถึงที่สุด หมายความว่าแพทย์ยังไม่ทิ้งคนไข้ให้ตาย แต่จะให้ยาตามอาการเพื่อประคองคนไข้ให้สิ้นลมหายใจอย่างสงบ ไม่ทุรนทุราย เพียงแค่ไม่ใช้เครื่องมือใดสำหรับช่วยชีวิตตามที่คนไข้สั่งไว้

               หนังสือแสดงเจตนาของบุคคลที่ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยสามารถทำได้ตั้งแต่ยังมีสติสัมปชัญญะแจ้งความต้องการดังกล่าวไว้กับแพทย์หรือสถานพยาบาลก็ได้ ทั้งนี้ กฎหมายบังคับว่า แพทย์ต้องอธิบายภาวะความเป็นไปของโรคขณะนั้น พร้อมตอบทุกคำถามของคนไข้จนแน่ใจว่าเข้าใจตรงกันเพื่อให้คำยืนยันหรือปฏิเสธก่อนจะทำหนังสือดังกล่าว

           ส่วนกรณีที่บุคคลแสดงเจตนาไม่มีสติสัมปชัญญะดีพอจะสื่อสารได้ แต่ทำหนังสือไว้แล้วเกิดความสงสัยในเนื้อหาข้อความและกำหนดบุคคลอื่นเป็นผู้อธิบายเจตนารมณ์แท้จริงของเจ้าของหนังสือดังกล่าว แพทย์ต้องอธิบายภาวะความเป็นไปของโรคให้บุคคลดังกล่าวทราบและแจ้งรายละเอียดหนังสือแสดงเจตนาที่คนไข้เขียนไว้ก่อนที่จะทำตามหนังสือดังกล่าวด้วย

             แบบแสดงเจตนาไม่ต้องการยืดชีวิตหรือยุติการทรมานจากความเจ็บป่วยนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้ ก็หมายความว่า บุคคลสามารถแสดงเจตนาด้วยวาจาหรือด้วยหนังสือก็ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างญาติคนไข้กับบุคลากรทางการแพทย์หรือสถานพยาบาล สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติจึงจัดทำแบบแสดงเจตนาของบุคคลเป็นเอกสารหนังสือกรณีไม่ต้องการให้ยืดชีวิตหรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยซึ่งมีรายการตามที่กฎหมายระบุไว้ครบถ้วน แล้วยังระบุวิธีช่วยชีวิตที่คนไข้ต้องการใช้หรือไม่ใช้ อีกด้วย ไม่ว่าด้วยวาจาหรือโดยหนังสือ ควรต้องมีพยานรับรู้การแสดงเจตนานั้น

              นอกจากทำหนังสือแสดงเจตนาหรือทำโดยวาจา ก็ต้องมอบเอกสารดังกล่าวหรือบอกให้คณะแพทย์รับทราบ ปัญหาทางปฏิบัติคือ ถ้าแสดงเจตนาด้วยวาจาก็จะถกเถียงในภายหลังกับญาติที่ไม่เคยรู้หรือไม่รับรู้เจตนารมณ์ของคนไข้มาก่อน อันจะทำให้การทำงานของแพทย์ลำบากใจ ดังนั้น การแสดงเจตนาโดยวาจาของคนไข้ที่มีสติสัมปชัญญะขอเสนอให้มีหลักฐานเพิ่มเติมชัดขึ้นโดยถ่ายวิดิโอคำพูดของคนไข้ไว้ยืนยันเจตนารมณ์อีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือคณะแพทย์ทำงานง่ายขึ้นและญาติพี่น้องไม่แคลงใจการทำงานของแพทย์ด้วย

           วาระสุดท้ายของชีวิต กฎหมายตีความหมายว่า คือ ภาวะของผู้แสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้และแพทย์วินิจฉัยจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานแพทย์ว่า ภาวะนั้นไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้และให้รวมถึงภาวะการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างถาวร โดยปราศจากพฤติกรรมการตอบสนองใดๆที่แสดงถึงการรับรู้ได้ จะมีเพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น ด้วยวิชาความรู้ทางการแพทย์ไทยสามารถตอบได้ว่า เวลาใดคือวาระสุดท้ายของลมหายใจมนุษย์ที่ความรู้ใดก็ไม่สามารถรั้งชีวิตได้ คงทำได้เพียงใช้เครื่องมือยืดชีวิตชั่วเวลาหนึ่งก่อนตายจริง กฎหมายและแพทยสภากำหนดภาวะความตายไว้แล้ว รวมทั้งมาตรฐานพยากรณ์โรคสู่วาระสุดท้ายของแพทย์ไทยแม่นยำและชัดเจน

                   สิทธิที่คนไข้พึงรู้กรณีต้องการแสดงเจตนาไม่ประสงค์ให้ยืดการตายในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตหรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย คือ การอธิบายภาวะแห่งโรค ความทรมานจากโรคภัย วาระสุดท้ายของผู้เป็นโรคภัยนั้น รายละเอียดหรือข้อมูลการเจ็บป่วยของตนเอง ความเห็นของแพทย์ ประกอบการตัดสินใจ แบบแสดงเจตนาประเภทนี้ขอได้จากทุกโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน ขอย้ำว่า คนไข้ควรหาข้อมูลประเมินอาการของตนให้มากที่สุด สำรวจอารมณ์ความรู้สึกของตนว่ามั่นคง ไม่ท้อแท้ เข้าใจสภาพจริงหรือความต้องการแท้จริงของตัวเอง

                 ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแบบแสดงเจตนาไม่ยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยซึ่งมี 2 แบบให้เลือกใช้ตามความปรารถนาของแต่ละบุคคล โดยถือเป็นแบบพื้นฐาน แต่ไม่ได้ห้ามคนไข้เขียนเนื้อหาอื่นที่ให้ความหมายเดียวกับตัวอย่างนี้

 

ตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข (แบบที่ ๑)

                                                                          เขียนที่ ………………………………………..

                                                                          วันที่ …………………………………..

ข้าพเจ้า(ชื่อ-นามสกุล)………………………………………………………………………..อายุ……..ปี

หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน …………………………………………………………………………………..

ที่อยู่ที่ติดต่อได้………………………………………………………………………………………………………….

เบอร์โทรศัพท์ ………………………………………เบอร์ที่ทำงาน …………………………………………………

ขณะข้าพเจ้าทำหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ข้าพเจ้าประสงค์จะให้ผู้ประกอบ

วิชาชีพเวชกรรมที่ดูแลรักษาข้าพเจ้า รักษาโดยให้ข้าพเจ้ายังมีคุณภาพชีวิตที่ข้าพเจ้ายอมรับได้

ในกรณีที่ข้าพเจ้าตกอยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นวาระสุดท้ายในชีวิตของ

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ต้องการตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น (โปรดทำเครื่องหมาย ในข้อที่ท่านต้องการบางข้อหรือ

ทั้งหมด พร้อมลงชื่อกำกับในข้อนั้นด้วย)

ไม่รู้สึกตัวอย่างถาวร หมายความว่า ข้าพเจ้าไม่อาจรู้ได้ว่ารอบตัวข้าพเจ้ามีใคร

หรือสิ่งใดอยู่เลย และมีโอกาสน้อยมากที่จะกลับฟื้นขึ้นมาจากการสลบนั้น

…………

มีอาการสับสนอย่างถาวร หมายความว่า ข้าพเจ้าไม่อาจจดจำ เข้าใจหรือตัดสินใจ

เรื่องใดๆ ได้ ข้าพเจ้าไม่อาจจำคนที่ข้าพเจ้ารักได้ หรือไม่สามารถสนทนากับเขาได้อย่าง

แจ่มแจ้ง

…………

ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้อย่างอิสระ ซึ่งได้แก่ ไม่อาจพูดได้ยาวๆ

อย่างชัดเจน หรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ ต้องให้ผู้อื่นช่วยทำสิ่งต่อไปนี้ให้ คือ ป้อน

อาหาร อาบน้ำ แต่งตัว เดินไม่ได้เอง การฟื้นฟูสภาพหรือการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูใดๆ จะไม่

ทำให้อาการดังกล่าวกระเตื้องขึ้น

…………

อยู่ในภาวะสุดท้ายของการเจ็บป่วย หมายความว่า โรคที่ข้าพเจ้าเป็นอยู่มาถึง

ระยะสุดท้ายแล้ว แม้ได้รับการรักษาเต็มที่แล้วก็ตาม เช่น มะเร็งได้แพร่กระจายไปทั่วโดย

ไม่สนองต่อการรักษาใดๆ ต่อไปอีก หัวใจและปอดได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย

เรื้อรัง จนกระทั่งมีความรู้สึกว่าขาดอากาศอยู่ตลอดเวลา

…………

โปรดให้การรักษาข้าพเจ้าตามความประสงค์ ดังต่อไปนี้ (โปรดทำเครื่องหมาย ในข้อที่ท่าน

ยอมรับหรือไม่ยอมรับ พร้อมลงชื่อกำกับในข้อนั้นด้วย)

. การฟื้นฟูการเต้นของหัวใจและการหายใจ ได้แก่ การกระตุ้นให้หัวใจกลับ

เต้นขึ้นใหม่ หรือทำให้กลับหายใจได้ใหม่ภายหลังจากที่หัวใจหรือการหายใจหยุด

ทำงานแล้ว ซึ่งได้แก่การใช้เครื่องมือไฟฟ้ากระตุ้น กด กระแทกทรวงอก และใช้

เครื่องช่วยหายใจ

ยอมรับ

ไม่ยอมรับ

………………

. การพยุงการมีชีวิต คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจติดต่อกันไปตลอดเวลา การให้

สารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำ รวมทั้งการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้ปอด หัวใจ

ไต และอวัยวะอื่นๆ ทำงานต่อไปได้

ยอมรับ

ไม่ยอมรับ

………………

. การรักษาภาวะที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นใหม่ เช่น การผ่าตัด การถ่ายเลือด

การให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว แต่ไม่ได้รักษาโรคที่

เป็นอยู่เดิม

ยอมรับ

ไม่ยอมรับ

………………

. การให้อาหารทางท่อ หมายถึง การให้อาหารและนํ้าเข้าไปในกระเพาะอาหาร

ของผู้ป่วย หรือให้ของเหลวเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือรวมทั้งการให้อาหารหรือ

นํ้าทางหลอดเลือดแดงด้วย

ยอมรับ

ไม่ยอมรับ

………………

ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ให้บริการไปแล้ว โดยมิได้ทราบถึงเนื้อความใน

หนังสือแสดงเจตนาฉบับนี้หรือไม่ทราบความประสงค์ที่แท้จริงของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอร้องให้ ยุติการ

บริการ (Withdraw) ในสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่ยอมรับด้วย

ข้าพเจ้าขอให้สถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขอำนวยความสะดวกตามความ

เหมาะสม ดังต่อไปนี้

o ความประสงค์ที่จะเสียชีวิตที่บ้าน

o การเยียวยาทางจิตใจอื่นๆ (กรุณาระบุ เช่น การสวดมนต์, การเทศนาของนักบวช เป็น

ต้น)………………………………………………………………………………………………………

o …………………………………………………………………………………………………………….

o …………………………………………………………………………………………………………….

ข้าพเจ้าขอมอบหมายให้ (ชื่อ นามสกุล)…………………………………………………….. ในฐานะ

บุคคลใกล้ชิด (ถ้ามี) เป็นผู้แสดงเจตนาแทน เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้

ตามปกติเพื่อทำหน้าที่อธิบายความประสงค์ที่แท้จริงของข้าพเจ้า หรือปรึกษาหารือกับผู้ประกอบวิชาชีพ

ด้านสาธารณสุขในการวางแผนการดูแลรักษาต่อไป

ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือแสดงเจตนาต่อหน้าพยาน และทำสำเนาเอกสารมอบให้บุคคลใกล้ชิด และ

พยานเก็บรักษาไว้ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลเมื่อข้าพเจ้าถูกนำตัวเข้ารักษาใน

สถานพยาบาล

ลงชื่อผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา…………………………………………….

ลงชื่อบุคคลใกล้ชิด………………………………………….

ลงชื่อพยาน………………………………………………….

ลงชื่อพยาน………………………………………………….

ลงชื่อผู้เขียน/ผู้พิมพ์ …………………………………………………….

ผู้ใกล้ชิด (ทำหน้าที่อธิบายความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ทำหนังสือ หรือหารือแนวทางการดูแล

รักษากับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ดูแลรักษาข้าพเจ้า เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร พี่ น้อง หรือ

บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ไว้วางใจกัน)

ชื่อ-นามสกุล ………………………………………..มีความสัมพันธ์เป็น ……………………………..

หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ………………………………………………………………………………….

ที่อยู่ที่ติดต่อได้…………………………………………………………………………………………………………

เบอร์โทรศัพท์ …………………………………………………………………………………………………………

พยานคนที่ ๑

ชื่อ-นามสกุล …………………………………………มีความสัมพันธ์เป็น ……………………………

หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ………………………………………………………………………………….

ที่อยู่ที่ติดต่อได้………………………………………………………………………………………………………..

เบอร์โทรศัพท์ ………………………………………………………&hel

คำสำคัญ (Tags): #กฏหมายน่ารู้
หมายเลขบันทึก: 496713เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท