ชวนชุมชนสร้างพลังดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย ตอนที่ 2


เราจะเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการสร้างสุขภาพได้อย่างไ ?

บันทึกนี้ต่อจาก บันทึกที่แล้ว   เป็นการเชิญชวนทีมงานดำเนินโครงการ   มาร่วมคิดร่วมทำ  โดยอาจารย์ได้แบ่งขั้นตอนในการดำเนินงานออกเป็น 7 ขั้นตอน  ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  เริ่มด้วยคำถามที่ว่า   “เราจะเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการสร้างสุขภาพได้อย่างไ ?

คำตอบ คือ  การจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนต้อง......เป็นของชาวบ้าน  โดยชาวบ้าน  เพื่อชาวบ้าน  โดยใช้ประเด็นคำถามที่จะดำเนินการ ต่อไปนี้

1 จะทำเรื่องอะไร  โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม....

2  ทำในระยเวลา  กี่เดือน กี่ปี

3  ทำที่ไหน

4  ใครทำ

5   ใช้งบประมาณจากที่ไหน.....  จำนวน....

 

 

ซึ่งเมื่อเราได้คำตอบจากข้างบนแล้ว  เราจึงก้าวเข้าสู่…..

ขั้นตอนที่ 2     ด้วยการจินตนาการว่า  เมื่องานสำเร็จลง

  • ประชาชนจะได้รับประโยชน์อะไรจากโครงการ

  • ประชาชนจะกล่าวขานและชื่นชมเราอย่างไร

ผลในการทำกลุ่มในวันนั้น พอสรุปได้ดังนี้

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 3  ให้เราทบทวนว่าในการที่จะทำงานให้ลุล่วงนั้น   ให้วิเคราะห์ว่าสภาพความเป็นจริงปัจจุบันของเราเป็นอย่างไร 

ตัวอย่างผลจากการวิเคราะห์ของแต่ละกลุ่ม ดังนี้

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 4   เมื่อวิเคราะห์ความเป็นจริงแล้ว    ต่อไปก็เป็นการให้คำมั่นสัญญา  เหมือนเป็นข้อผูกมัด   ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้งานของเราสำเร็จ  

ผลของคำมั่นสัญญาแต่ละกลุ่ม คือ

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 5  แล้วก็ถึงการต้องกำหนดภารกิจหลักของงานว่า ต้องประกอบด้วยภารกิจอะไรบ้าง   เช่น

  • ภารกิจที่ 1 ด้านการค้นหา  เชิญชวนผู้นำชุมชน/องค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมงาน

  • ภารกิจที่ 2 ต้องให้ความรู้คณะทำงานต่างๆ

  • ภารกิจที่ ด้านการประชุมเพื่อกำหนดการมีส่วนร่วม

  • ภารกิจที่ 4  การดำเนินโครงการ  ลงมือทำ

  • ภารกิจที่ การติดตามผล และเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ

  • ภารกิจที่ 6  การนำเสนอ/ประกวด ผลงานของทีมทำงานต่างๆ

  • ภารกิจที่ ประเมินผล

 

ทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้น  ต้องเน้น  “การมีส่วนร่วม”  ของทุกภาคส่วนที่มาเกี่ยวข้อง  ซึ่งในกลุ่มวันนั้นยังไม่ได้นำเสนอ  แต่มีแผนและเห็นช่องทางว่าจะกลับไปดำเนินการอย่างไร

 

ขั้นตอนที่ 6   และเพื่อให้การทำงานง่ายและได้ผลตามกำหนด  ต้องทำปฎิทินกิจกรรม  และงานที่มอบหมายให้กับทุกคน 

 

และขั้นตอนที่ 7    ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ทีมงานต้องทำ   เป็นการไตร่ตรองและ ลปรร การทำงานร่วมกัน ตั้งแต่เริ่ม   ขณะทำและหลังทำกิจกรรมต่างๆ   เพื่อเป็นการพัฒนาและป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ

 

ซึ่งทั้งหมดที่ได้ทำมาข้างต้น  เป็นการดึงเอาสิ่งดีๆที่ค้นพบ  ที่เคยมีหรือเคยทำในชุมชน/องค์กร  มากำหนดเป็นแนวคิด  รูปแบบในการทำงาน  เพื่อเป็นการพัฒนา  เราเรียกกระบวนการนี้ว่า  “สุนทรียปรัศนี”   

 

 

และหวังว่า ... ทีมงานที่กำลังดำเนินการในโครงการวิจัยนี้  คงได้เก็บเกี่ยวเรื่องราวที่ผ่านการแนะนำ  พร่ำสอนของอาจารย์ไปใช้กับชุมชนเพื่อให้ได้ผลงาน/นวัตกรรมสังคมที่ต้องการต่อไป  

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 496612เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  •  “สุนทรียปรัศนี”  
  • น่าสนใจมากค่ะ เป็นกิจกรรมที่สร้างความสุข มิตรภาพ สะท้อนปัญหาและเรียนรู้แนวทางแก้ไขปัญหานร่วมกันด้วย ดีจังเลยนะคะ

การดึงเอาสิ่งดีๆที่ค้นพบ ที่เคยมีหรือเคยทำในชุมชน/องค์กร มากำหนดเป็นแนวคิด รูปแบบในการทำงาน เพื่อเป็นการพัฒนา เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “สุนทรียปรัศนี” น่าสนใจคะ

สุนทรียปรัศนีย์ คำถามดีๆ ย่อมได้คำตอบดีๆ

ศูนย์ 12ก็มีกิจกรรมกันที่หาดใหญ่ โชคดีมีวาสนาเจอคนโกทูโนว์ นามหนอนจิ๋ว (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496797)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท