โครงการ PLC ครูสอนดี จังหวัดมหาสารคาม _01: ข้อเสนอโครงการ สัญญา และความปรารถนา ของทีมขับเคลื่อน


แม้ว่าโครงการ LLEN จะหยุดแล้ว แต่ความหมายและความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ของโครงการ LLEN ยังไม่สำเร็จ ทีม LLEN ยังขับเคลื่อนต่อไป โดยมีศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ หรือ  CADL เป็นผู้ขับเคลื่อน และมีเพื่อนผู้มีใจเต็มร้อยอย่างคณะวิทยาศาตสตร์ เข้ามาร่วมด้วย และเพื่อนภายนอกจาก มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และมูลนิธิสยามกัมมาจล เข้ามาช่วยจากภายนอก ในปีนี้ เราขับเคลื่อน 3 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการบริการวิชาการจากภายในมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ภายใต้นโยบาย หนึ่งหลักสูตร หนึ่งชุมชน ของมหาวิทยาลัย.... แม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปร่วมด้วยโดยตรง แต่จากทรัพยากรทั้งเงินและคนหลายประมาณ ทำให้มีหลายโครงการที่เกี่ยวข้องและมุ่งพัฒนาการเรียนรู้หรือพัฒนาการศึกษาของคนในเขตพื้นที่ให้ดีขึ้นบ้าง
  2. โครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถาบันการศึกษา ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล
  3. โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย แห่งประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัย โดยคณะวิทยาศาสตร์ มุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ ของเด็กอนุบาล โดยคาดหวังให้เกิดเจตคติอันดีต่อนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับชาติไทยอย่างยิ่งในตอนนี้
  4. โครงการ PLC ครูสอนดี ที่สนับสนุนโดย มูลนิธิสดศรีฯ ที่จะกล่าวถึงในวันนี้ ครับ

อ่านข้อเสนอแบบละเอียดของโครงการ PLC ครูสอนดี มหาสารคาม  ได้ที่นี่ครับ 

วัตถุประสงค์

  1. สร้างชุมชนการเรียนรู้ครูสอนดี (PLC) ในจังหวัดมหาสารคาม
  2. เพื่อสร้างทีมแกนนำครูอำนวย (PLC manager &Facilitator) ให้เกิดภายในจังหวัดมหาสารคาม
  3. ถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีๆ (Best Practice) ของครูสอนดีจังหวัดมหาสารคาม

กรอบการดำเนินงาน

       กรอบแนวคิดในการพัฒนาชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์หรือ PLC มหาสารคามแสดงดังรูป

 

 

รูปแสดงแนวทางการขับเคลื่อน LLEN มหาสารคาม

 ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (Center of Academic Development for Learning: CADL) จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนเครือข่าย LLEN มหาสารคามเพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในเขตพื้นที่ให้เกิดชุมชนเรียนเรียนครูเพื่อศิษย์ชั้นนอก (PLC ชั้นนอก) ที่เป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างครูต่างโรงเรียนในกลุ่มสาระเดียวกันหรือช่วงชั้นเดียวกันในขณะที่ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ภายในโรงเรียน (PLC ชั้นใน) ที่เป็นหัวใจหลักของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและ PLC ชั้นนอกส่วนหนึ่งจะขับเคลื่อนไปภายใต้การสนับสนุนของโครงการ PLC ครูสอนดีจากมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์และสถาบันส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม (สสค.) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานแสดงดังรูปด้านล่าง

แนวทางในการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินการคือการใช้ KM ตลอดทั้งโครงการ โดยแบ่งออกเป็นโครง 4 โครงการย่อย ดังนี้

โครงการย่อยที่ 1 จัด KM ครูกลุ่มเป้าหมายคือ ครูสอนดีจำนวน 100 คน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และสร้างแรงจูงใจในการออกแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตลอดทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนที่ประสบผลสำเร็จของครูสอนที่

โครงการย่อยที่ 2 จัดฝึกอบรมแบบเข้มข้น 3 วัน 2 คืน เพื่อสร้างครูอำนวยจำนวน 25 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่สนใจ สมัครใจ ที่จะเข้ามาเป็นครูอำนวย โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการโรงเรียนอย่างเต็มที่

โครงการย่อยที่ 3 สนับสนุนให้ครูอำนวยที่ผ่านการอบรมเข้มทุกคน ไปจัด KM ภายในโรงเรียนของตนเอง โดยผู้จัดการเครือข่ายเป็นผู้ช่วยกระบวนกร

โครงการย่อยที่ 4 เสริมศักยภาพครูอำนวยโดยเข้าร่วมหลักสูตรเสริมศักยภาพPLC manager & Facilitator จัดโดยมูลนิธิสดศรีฯ

โครงการย่อยที่ 5จัด KM  เพื่อถอดบทเรียนครูอำนวยทั้ง 25 คน

โครงการย่อยที่ 6 จัดเวที Show & Share ครูสอนดีจำนวน 100 คน โดยเน้นที่ครูที่เป็นสมาชิก PLC มหาสารคาม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดชุมชนเรียนรู้ครูสอนดีและครูเพื่อศิษย์จังหวัดมหาสารคาม (PLC มหาสารคาม)
  2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) จากการปฏิบัติร่วมกันของเครือข่าย PLC มหาสารคาม
  3. เกิดครูอำนวยที่มีศักยภาพจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เครือข่าย PLC ชั้นใน
  4. ได้ชุดความรู้จากประสบการณ์การสร้างเครือข่าย PLC มหาสารคาม
  5. ได้บันทึกบทเรียนความรู้ปฏิบัติครูเพื่อศิษย์ของเครือข่าย PLC มหาสารคาม

ในการดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยที่หนึ่ง ซึ่งผ่านไปแล้ว คุณอ้อพูดประโยหนึ่งที่กินใจผมมาก "หมอเขาเขียนบันทึกให้ตัวเองอ่าน"  ผมก็เพิ่งเริ่มเข้าใจมากขึ้น ว่า ทำไมผมต้องบันทึกรายละเอียดแบบนี้ไว้ 

จะมารายงานแต่ละกิจกรรม หากเป็นไปตามแผนนะครับ

หมายเลขบันทึก: 496379เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำไม ไม่เห็นภาพกรอบแนวคิดเลย อ.ต๋อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท