สร้างความตระหนักผ่านประสบการณ์ตรง


มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นสลับกับมีพฤติกรรมที่แย่ลง กว่าคนจะสามารถดำรงการเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถาวร อาจต้องผ่านการดีขึ้นและแย่ลงหลายรอบ

หมอฝน พญ. สกาวเดือน นำแสงกุล รพ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์และลึกซึ้ง มีวิธีการทำงานที่แตกต่าง น่าสนใจ และใช้การได้ดี ดิฉันขอให้หมอฝนช่วยเขียนเรื่องเล่าการทำงานส่งมาให้เป็นระยะ ๆ เพื่อเผยแพร่ให้เป็นที่รู้ทาง GotoKnow

วัลลา ตันตโยทัย

สร้างความตระหนักผ่านประสบการณ์ตรง  

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทีมโคราชได้มีโอกาสอบรมทักษะกระบวนกรในการถอดบทเรียนกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรง แล้วคุณหมอนิสิตาและพี่วิลาวัลย์ นักวิชาการสาธารณสุข ได้คิดกิจกรรมผ่านประสบการณ์ตรงเรื่องความพิการขึ้นมา จากนั้นมีการเล่าเรื่องสู่กันฟังระหว่างกระบวนกรฝึกหัดทั้งหลาย ทำให้ทีมครบุรีได้นำไปปรับใช้กับการอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถของแกนนำ ที่ รพ.สต.เฉลียง

การอบรมแกนนำจัด 3 ครั้ง ในครั้งที่สามเป็นการทดสอบความรู้ความสามารถของแกนนำ โดยจัดคล้ายการสอบ OSCE คือให้แกนนำจับกลุ่มเป็นทีม ๆ ละ 3- 4 คน แล้วเล่นเกมวัดดวงโดยการจับฉลากความพิการ ได้แก่

1. ตาบอด ต้องใช้ผ้าปิดตา 

2. ขาขาด ต้องเดินด้วยไม้เท้า โดยยกขาข้างที่ขาดเอาไว้ 

3. อัมพาต ให้เอามือข้างที่ถนัดล้วงไว้ในกระเป๋า ใช้งานไม่ได้ และต้องนั่งถัดไปกับพื้น 

ทีมผู้พิการดังกล่าวต้องอยู่ในสภาพพิการนั้นตลอดการทำข้อสอบ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายไปตามฐานต่าง ๆ ด้วย

ประเด็นการถอดบทเรียน ได้แก่

  • รู้สึกอย่างไร
  • จะเป็นอย่างไรถ้าต้องอยู่ในสภาพดังกล่าวตลอดไป
  • ทำอย่างไรที่จะช่วยให้ตนเองและเพื่อนไม่ต้องตกอยู่ในสภาพนั้น ๆ
  • อยากบอกอะไรหมอ

น่าสนใจมาก หลายคนเคยฟังมาแล้วว่าภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง มีคนในหมู่บ้านบางคนก็เป็นเช่นนั้น แต่รู้สึกว่าไกลตัว ปัจจุบันไม่เห็นมีอาการอะไรผิดปกติเลย แต่พอมาลองอยู่แบบพิการต่าง ๆ 1–2 ชั่วโมง ทำให้รู้สึกมากขึ้นว่าเป็นอย่างไร จะกระทบต่อชีวิตอย่างไร มีความตระหนักมากขึ้นที่จะดูแลตนเอง

แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจในด้านพฤติกรรม ก็คือมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นสลับกับมีพฤติกรรมที่แย่ลง กว่าคนจะสามารถดำรงการเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถาวร อาจต้องผ่านการดีขึ้นและแย่ลงหลายรอบ

เราในฐานะผู้ดูแลก็คงต้องมีกำลังใจ มีความเพียร และเข้าใจธรรมชาตินี้ เพื่อที่พร้อมจะให้อภัยถ้าผู้ป่วยผิดพลาด และหากลยุทธ์ใหม่ในการช่วยให้เขากลับมามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นใหม่ จนกระทั่งเป็นนิสัยที่ติดตัวไป

พญ.สกาวเดือน นำแสงกุล 

หมายเลขบันทึก: 496266เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเกมที่น่าสนใจมากๆค่ะอ.วัลลา.. ประสบการณ์ตรงนี่แหละที่จะช่วยพัฒนาความคิด

 

เราในฐานะผู้ดูแลก็คงต้องมีกำลังใจ มีความเพียร และเข้าใจธรรมชาตินี้ เพื่อที่พร้อมจะให้อภัยถ้าผู้ป่วยผิดพลาด และหากลยุทธ์ใหม่ในการช่วยให้เขากลับมามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นใหม่ จนกระทั่งเป็นนิสัยที่ติดตัวไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท