แล้วจะเลือกข้างไหนดี (อาจปรับใช้กับสามจังหวัดใต้ได้บ้าง)


ข้างหนึ่งคือความเชื่อ อีกข้างหนึ่งคือความจริงและความถูกต้อง ในชีวิตคนเรา จะเลือกข้างไหนดี

ข้างหนึ่งคือความเชื่อ อีกข้างหนึ่งคือความจริงและความถูกต้อง

ในชีวิตคนเรา จะเลือกข้างไหนดี 

บางคนเชื่อว่ามีกระหังลิงลมอยู่จริง จึงเอาแห  มาดัก  เอาผ้ายันต์มาติดไว้ประตู

พอรู้ความจริงว่าพวกขี้ยา ไม่ได้มีวิชาอาคมอะไร ก็หายเชื่อ

บางคนเชื่อว่า ปลีกล้วยออกข้างต้น มีเลขหวยติดมาด้วย

พอไปซื้อหวย ถูกกินรวบ ก็หายเชื่อ  (แต่ก็อาจไม่เข็ด)

บางคนเชื่อว่าตุ๊กแกห้อยหัวฟังเทศนาได้

พอรู้ว่าถูกหลอกขายรูปถ่ายก็หายโง่

บางคนเชื่ออย่างนั้น เชื่ออย่างนี้  เพราะรู้สึกเอาว่าน่าจะเป็นจริงตามที่มีคนเขาเอาความรู้สึกมาปั่นให้เกิดความเชื่อ     

บางคนก็ไม่เชื่อเพราะว่าเป็นคนมีความรู้ ริงๆเกี่ยวกับสิ่งที่คนทั่วไปเขาเชื่อกัน

คนที่เชื่อและไม่เชื่อถ้ามีความคิดเห็นด้วยบ่อย ๆ  มาก ๆ ไปพร้อมกับความรู้ 

ที่เพิ่มขึ้น ก็อาจเปลี่ยนแปลงความเชื่อเป็นไม่เชื่อ หรือ ไม่เชื่อ เป็นเชื่อได้

ความเชื่อ และไม่เชื่อ  ที่ถูกต้อง จะเกิดขึ้นได้หากค้นพบความจริง

แต่ความจริงก็พบได้ยากหากไม่มีความรู้  และมีผู้มาคอยปั่นหัวให้เชื่อ

พบความจริง ความถูกต้องเมื่อไร ก็ไม่ถูกหลอก

นอกจากนั้นก็ยังจะช่วยให้คนอื่น ทันคนทันเกมของพวกคนชั่วอีกด้วย

แล้วจะเลือกข้างไหนดี

แน่นอนท่านต้องตอบว่า  เลือกข้าง ความจริง และความถูกต้อง

แล้วจะรู้อย่างไรว่า เป็นความจริง และ ถูกต้อง

ก็ลองกลับไปอ่านข้างต้นที่กล่าวถึงบทเรียนการค้นพบความจริง และความถูกต้องอีกที

อ่านจบแล้ว…..ถ้าจะให้ดีเปิดเพลงนี้ฟังด้วยอีกทีนะครับ

คลิ๊กเลยครับ http://music.forthai.com/music/lyric/?sid=4070

แสนสงสารหมู่มัสยา
ที่พากันหลงเหยื่อ
ถูกพรานเบ็ดเบื่อ
อ่อยเหยื่อหย่อนทิ้งลงมา
เพียงพรานต้องการ
นงคราญหมู่มัสยา (รวมถึงคนที่ฉลาดน้อยกว่าทั้งหลาย)
หย่อนเบ็ดเหยื่อเงินตรา
ล่อหลงพากันหลงลืมตน.
แสนสงสารสุดทางจะหนุน
ดรุณที่ยังอ่อน   (รวมถึงคนที่ยังเข้าถึง ความจริงและความถูกต้องไม่ได้)
ถูกพรานเกี่ยวหย่อน (พวกขี้โกงทั้งหลาย)
จากคอนไปแล้วเสียคน (รวมถึงเสียเงิน เสียค่าโง่ เสียอิสระภาพ) 
ปลากินเหยื่อดี
จึงมีพรานทุกแห่งหน
หย่อนเบ็ดลงสายชล
ตกเสียจนปลาหมดลำคลอง.
หมู่มัสยานารีนี้เอย
เปรียบเปรยเหมือนปลา
เป็นเหยื่อกามาต้องพาหม่นหมอง (รวมถึงเป็นเหยื่อของคนโกงที่ฉลาดกว่า  แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะเหนือฟ้าย่อมมีฟ้า ที่ว่าฉลาดกว่าก็ติดคุกได้หัวโต)

หลงเหยื่อเงินตราน้ำตาตกนอง
มักครองอกตรม ระทมใจเจือ
เพราะเหยื่อของพราน.
แสนสงสารแต่ยังไม่สาย
จะกลายเป็นปลาปล่อย
เก็บใจหนักหน่อย
อย่าปล่อยใจหลงซมซาน
จงมองให้ดีใครมีเหลี่ยมมาอ่อนหวาน
ก็จงดูนานนาน
ถ้าแม้พรานจงหักเบ็ดพลัน.  (หากพบว่าเป็นขี้โกง ก็ปราบ หรือ หาทางปราบในทันที)

หมายเลขบันทึก: 496160เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 07:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถ้าหากความเชื่อ(belive)หมายถึงสภาพจิตของบุคคลที่ยึดมั่นว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นความจริง และหากไปเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา(faith) มักไม่มีหลักฐานให้พิสูจน์ได้ ความรู้จึงอาจเป็นทางแก้

แต่ความรู้จะมีได้บุคคลนั้นต้องรู้จักสงสัยและใช้กระบวนการคิดเชิงวิจารณ์(critical thinking)ซึ่งก็จะซับซ้อนเกินไป

กาลามสูตรในพุทธศาสนาสอนให้เราอย่าเพิ่งเชื่อในสิบอย่าง (ใช้คำว่าอย่าเพิ่งเชื่อนะครับไม่ใช่อย่าเชื่อ) แต่การที่จะให้คนทั่วไปรู้ว่าทำอย่างไรจึงเชื่อได้บอกแค่ว่าให้ใช้ปัญญานั้นก็ซับซ้อนพอกัน (เกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจ)

นมนานกาเลมาแล้ว สังคมไทยไม่เคยสอนให้เราเชื่อในตัวเอง ไม่สอนให้รู้จักสงสัยหรือโต้เถียง สอนให้เชื่อแต่ผู้ใหญ่จนติดอยู่ในกรอบเพียงเท่านี้

ที่ร้ายกว่านั้นเดี๋ยวนี้เราสอนให้เชื่อ"คนดี" ทั้งๆที่ไม่รู้เหมือนกันว่า "คนดี" ที่ว่านั่นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ?

มีเรื่องราวมากมายครับที่หาเหตุผลอธิบายไม่ได้เลยแต่คนในสังคมยังพากันเชื่อแถมยังบอกว่าถ้าไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่..บอกตรงๆครับถึงผมไม่เชื่อแต่ก็ไม่กล้าลบหลู่หรอก..

..กลัวโดนตื้บ !!

อย่างไรก็ตามผมยังคิดว่าความเชื่อของคนต้องมีพื้นฐาน มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ใครมาชักจูงอะไรก็เชื่อตามไปหมด เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็ต้องชักจูงให้เขาเลิกเชื่อสิ่งที่เคยเชื่อได้น่ะซิครับ

สำหรับ"ความจริง"กับ"ความถูกต้อง" ผมว่าไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

"ความจริง" อาจจะ "ถูกต้อง" "ความจริง" อาจจะ "ไม่ถูกต้อง"

ตัวอย่างเช่นการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องตาม ม.68 โดยไม่ผ่านอัยการสูงสุดนั้นเป็น "ความจริง"

..แต่เป็น "ความถูกต้อง" หรือเปล่าถ้าถามคนในสังคมผมว่าได้คำตอบไม่เหมือนกันครับ

..ขอคิดก่อนนะครับ ก่อนที่จะปักใจเชื่อข้างไหน..

นานๆได้กลับไปฟังเพลงเก่าๆเพราะๆเลยเพลินไปหน่อยครับ

ความเชื่อ-ความจริง-ความถูกต้อง (ใครเป็นคนตัดสิน) ทั้งสามสิ่งล้วนมาจากประสบการณ์ของแต่ละคน.. ต้องมีข้อมูลเยอะๆนะคะอ.ชัด อ่านมากๆด้วย

 

ขอบคุณทั้งสองที่มาร่วมอภิปราย อยากได้อย่างนี้แหละครับ สป๊าคกันไปมา เราก็ร่วมกันสร้างปัญญาด้วยกันสู่สังคมอุดมปัญญา คนในอนาคตข้างหน้า เมื่อพูดถึงความจริง  ก็จะง่าย ๆ เข้าใจได้ตรงกันทุกคน ผมลองหยิบจากหน้าแรก ๆ ของ กูเกิ้ลมาวางให้คลิ๊กทำความเข้าใจกันนะครับ

ความจริงคืออะไร  3  เว็บไซต์ นี้ก็น่าสนใจ ลองสรุปดูเองนะครับ

http://kit-meaninoflife.blogspot.com/2008/07/blog-post_09.html

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/134444

http://www.baanjomyut.com/10000sword/poem/08.html

 

 

แนวพิจารณาในเรื่อง ความถูกต้อง  อย่างหนึ่ง

Large_truth

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท