ผ้าขาวเปื้อนหมึก
กานนา สงกรานต์ กานต์ วิสุทธสีลเมธี

ประเพณีทางเหนือ


ตานข้าวใหม่

ประเพณีต๋านข้าวใหม่

วันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ หรือเรียกว่าเดือน 4 เป็งเป็นประเพณีทานข้าวใหม่ และตานข้าวจี่ ข้าวหลาม ชาวลานนาไทยได้ถือเป็นประเพณีทาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ตอนที่จะมีข้าวใหม่มาทนนั้น จะขอเล่าความเป็นมาถึงการมีข้าวใหม่มาทานเสียก่อน คือ เราจะต้องทำไร่ทำนาข้าวก่อนจึงจะมีข้าวใหม่ทานได้ การทำนาได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลือพ่ออุ้ยพ่อหม่อน ปู่ลุง อาวอา สืบสานกันมาถึงลูกถึกหลาน เหลน ล้วนแต่มีการทำไร่ทำนากันทุกบ้านเรือน จะมีมากมีน้อยก็ตามฐานะของตน ผู้ไม่มีนาก็ได้เป็นเช่านาเขาทำบ้าง ไปรับจ้างเขาทำก็มีมาก เพื่อได้มาให้เพียงพอแก่ครอบครัว ถือเป็นอาชีพของคนลานนา ส่วนอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริมการทำนาสมัยก่อนต้องใช้แรงวัวแรงควาย ชักลากเฝือไถต้องเตรียมเครืองใช้ มีไถเฝือ แอกควาย แอกน้อย เชือกต่อสำหรับผูกแอก ผูกไถ เมื่อเดือน 8-9-10 มาเถิง ฝนเริ่มตกลงมา ชาวนาก็จะตกกล้า หรือหว่านกล้า เริ่มเอาน้ำเข้าตกกล้าก่อน แล้วนะเอาข้าวเชื้อ (พันธุ์ข้าว) ประมาณกี่ต๋าง (กี่เปี่ยด) แล้วแต่นามีมากน้อยเท่าไรแล้วนำข้าวลงแช่น้ำ 3 คืน แล้วเอาออกอุก (อม) เจ้าของจะไถนาทำแปลงหว่านกล้าเมื่อแช่ 3 คืน แล้วเอาออกใส่ถุงใส่ทอทับด้วยใบตอง แล้วอบไว้ 2 คืน เรียกข้าวน้ำ 3 บก 2 ก็จะแตกงอกจึงนำไปหว่านในแปลงนาที่จัดไว้ หว่านกล้าแล้ว เจ้าของนาก็จะไถนารอกล้า ถ้าน้ำอำนวยให้ จะหมักไว้จนขี้ไถยุบตัวลงหญ้าต่าง ๆ จะเน่ากลายเป็นปุ๋ยไปในตัว แล้วก็เริ่มเผือกกลับไปกลับมาให้เรียบ ก็ลงมือปลูกข้าวต่อจากนั้นก็ค่อยดูแลหญ้าและศัตรูพืชในขณะปลูกข้าวจะเอามือเอาวันกัน ช่วยเหลือกันและกันไม่ต้องจ้าง มีแต่หาข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงกันสามารถปลูกได้อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมจ้างกันเช่นทุกวันนี้ เมื่อย่างเข้าเดือนกันยายน-ตุลาคม ข้าวจะตั้งก่องอกงามเรียกว่า สร้างต้นสร้างก๋อ พฤศจิกายน ข้าวก็ตั้งท้องออกรวง ธันวาคม ข้าวก็จะเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา ปลายเดือนก็เริ่มเก็บเกี่ยว แล้วมัดบ้างเป็นฟ่อนบ้าง แล้วรวมกันนวดฟากกับรางเรียกว่า (ฮางตี๋ข้าว) กว้างขนาด1 เมตรยาวประมาณ4 เมตรช่วยกันตีสนุกสนาน ส่วนมากมักตีกันตอนเย็นและเข้าคืน เพราะอากาศมันเย็นทำงานได้มาก แสงสว่างก็อยู่ใต้แสงเดือน และใช้เฟื่องจุดไฟแจ้งสว่างพอดีข้าวได้เสร็จแล้วก็ขนข้าวไปเก็บในยุ้งฉ่าง (หล่องข้าวหรือถุข้าว)

เมื่อเก็บเรียบร้อยแล้วก็ทำขวัญข้าว มื้อจันวันดีไล่ตามปักตืน วันผีกินวันคนกินทั้งข้างขึ้น และข้างแรม เมื่อได้วันดีแล้วก็เริ่มกินข้าวใหม่ ส่วนหนึ่งนำไปทำบุญแด่พระสงฆ์ สามเณร อุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาและพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้นเมื่อถึงเดือน 4 เป็ง ประเพณีตานข้าวใหม่ ทำบุญตักบาตร(ข้าวล้นบาตร) ประชาชนก็นำข้าวเปลือกข้าวสารใหม่ ข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวต้ม ขนมจ๊อก อาหาร น้ำตาล น้ำอ้อยไปใส่บาตรและยังมีพิธีบูชากองหลัวถวายเป็นพุทธบูชาอีก คือ พระภิกษุสามเณรและประชาชนชาวพุทธ ไปตัดเอาไม้จี่ ยาวบ้าง สั้นบ้างมาก่อเป็นกองหลัวทำเป็นเจดีย์แล้วจุดบูชาตอนเช้า เป็นการบูชาพระรัตนตรัย โดยความหมายเพื่อเผากิเลส ตัณหาให้หมดไป สมัยนี้มีให้เห็นน้อยเต็มทีเพราะไม้จี๋หายาก ถูกตัดฟันไปหมด ป่าไม้วอดวายไปหมดจนหาดูได้ยากแล้วเพราะมนุษย์คนเรานั้นหละ

 สามเณร วีระชีย แซ่ว้าง 

ประเพณีเข้ารุกมูล หรือ โสสานกรรม

ในล้านนาไทยมีประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งพระสงฆ์และศัทราประชาชนได้ร่วมกันจัดทำในระหว่างเดือน 3-4-5 เหนือ คือช่วงเดือนทางสุริยคติ ธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ นิยมให้พระสงฆ์ตามวัดต่าง ๆ ออกไปเข้าโสสาน หรือเข้ารุกขมูล หรือเข้าโสสานกรรมในป่าช้า  กิจกรรมเหล่านี้ทำขึ้นจนเป็น ประเพณ ีสืบต่อกัน มาจน ถึง ปัจจุบัน โสสาน คือ สุสาน หรือ ป่าช้า ที่ฝัง หรือเผาศพของชาว
ล้านนาไทยมีอยู่ 2 ประเภท คือ  ป่าช้าสำหรับใช้เผา และ ป่าช้าสำหรับใช้ฝัง ป่าช้าสำหรับเผา จะทำเชิงตะกอนก่อด้วยอิฐถือปูนไว้ เพื่อนำศพขึ้นเผา บางแห่งทำเป็นเมรุอย่างดี  สิ้นค้าใช้จ่ายแต่ละแห่งหลายแสนบาททีเดียว ป่าช้าสำหรับ ฝังนั้น  แต่ โบราณมาคน ใน ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวลาตายนิยมนำศพไปฝังที่ป่าช้าเป็นส่วนมากบางกรณีก็มีการนำเอาข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวไปฝังด้วยเช่นศพของชาวกะเหรี่ยงชาวลัวะ เป็นต้นเรามักจะขุดพบเสมอที่มีโครงกระดูกและอุปกรณ์เครื่องใช้ของ คนตายต่อมาเราได้รับเอาพุทธศาสนาประเพณีวัฒนธรรมจากอินเดียและลังกาเข้ามาประพฤติปฎิบัติกัน ในอินเดียและลังกา นิยมเผาบนเชิงตะกอน  เราได้นับถือคตินั้น  จึงละจากกาฝังดินมาทำพิธีเผากัน เป็นส่วนมากแต่ คนไทยบางแห่งยังแบ่งเกณฑ์อายุของคนตายไว้ว่าอายุต่ำกว่า20 ลงมาจนถึงเด็ก  เมื่อตายลงญาติจะนำไปฝังไว้ใน ป่าช้า ด้านหนึ่งซึ่งชาวบ้านจะแบ่งเขตไว้เป็นป่าช้าฝัง อีกส่วนหนึ่งเป็นป่าช้าเผาคือบริเวณที้เป็นเชิงตะกอนเผาศพคำว่าโสสานหรือสุสานเป็นคำในภาษาบาลีชาวบ้านส่วนมากมักจะเรียก ป่าช้าบ้าง ป้าเฮี่ยว บ้าง สุสานบ้าง แล้ว แต่ความนิยม พระสงฆ์ที่เข้าไป
อยู่ในป่าช้าหรือว่าเข้าสุสาน หรือโสสานนี้ ต้องเข้าไปพักอยู่ ที่โคนไม้ใหญ่ในป่าช้าแต่ละต้นห่างกันพอประมาณ จึงเรียกว่า "ไปอยู่รุกขมูล" หรือ "เข้ารุกขมูล" การเข้าโสสารหรือรุกขมูลนีพระสงฆ์ต้องถือปฏิบัติในธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กรรม"คือปฎิบัติจริงจังไม่ยอมเดือนทางไปไหน ชาวบ้านพูกกันว่า "ธุเจ้าเข้ากรรม"

สามเณรวศิน สุทา

ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์

ประวัติไม้ค้ำสะหลี(ไม้ค้ำสรีมหาโพธิ์)

คำว่า”สะหลี” เป็นภาษาพื้นเมืองมาจากคำว่า”ศรี” ประวัติควาเป็นมาขอไม้ค้ำสะหลี หรือ ไม้ค้ำโพธิ์ มีเรืองเล่าว่าสมัยเมื่อ ครูบาปุ๊ด หรือ ครูบาพุทธิมาวังโส เจ้าอาวาสองค์ที่ 14 วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร นั้น ยามเดือนแปดเหนือ (เดือนพฤษภาคม) พ.ศ.๒๓๑๔ ได้เกิดลมพายุใหญ่พัดเอากิ่งไม้สะหลี (ต้นโพธิ์) ภายในวัดหักลงมา รุ่งเช้าครูบาจึงให้พระภิกษุ สามเณร และ เด็กวัดช่วยกันเก็บกวาดกิ่งไม้หักไปไว้นอกวัด ยามนั้นครูบาพุทธิมาวังโส หรือ ครูบาปุ๊ด เจ้าอาวาสให้นึกตกใจกลัวยิ่งนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่สมัย เจ้าอาวาสองค์ก่อนๆมี่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเลย ครูบาปุ๊ดคิดอย่างนั้นทำให้เครียดหนักขึ้นตกตอนกลางคืน ครูบาปุ๊ดเข้าจำวัด และ ก็เกิดนิมิตขึ้นว่า มีเทวดามาบอกว่าที่เกิดเหตุอาเพศลมพัดกิ่งไม้สะหลีหัก นั้น เป็น เพราะ ครูบาปุ๊ด ไม่ได้ตั้งใจปฎิบัติธรรมโดยเคร่งครัด จวบจนล่วงเวลาได้ ๒ เดือนก็ได้บรรลุธรรม อภิญญาณ สารถย่นย่อแผ่นดินได้ โดยีเร่องเล่าว่า ครูบาปุ๊ดไปบิณฑบาตรที่อำเภอแม่แจ่ม แล้วกลับมา ฉันข้าวทีวัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหารในเช้าววันนั้นเอง (โดยมีพยานหลักฐานเป็นเรืองเล่า มีพ่อค้าวัวต่าง ชาวแม่แจ่ม
สมัยโน้น ได้มาซื้อข้าวของ ค้าขาย แลกเกลือที่อำเภอจอมทอง เพื่อกลับไปขายยังอำเภอแม่แจ่ม ได้พบ
ครูบา ปุ๊ด เดินโผล่ออกมาจากป่า บริเวณบ้านหัวเสือพระบาท (หมู่บ้านเชิงดอยทางทิศตะวันตกของ อำเภอ จอมทองประมาณ ๗ กิโลเมตร) พวกเขาหุงข้าวเสร็จ พอเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งเดินมา จึงนิมนต์รับบิณฑบาต
และ ได้ถามว่า “ท่านไปบิณฑบาตที่ไหนมาในป่าอย่างนี้”     พระท่านได้ตอบว่า “ ไปบิณฑบาตแม่แจ่มมา ”  พ่อค้าวัว “บ้านอะไรหรือครับท่าน”
พระตอบว่า “บ้านสันหนองนะโยม”
พระท่านได้เปิดฝาบาตรเพื่อให้พ่อค้าวัวต่าง ทำบุญใส่บาตร และทันใดนั้นพ่อค้าก็ได้เห็นข้าว ในบาตรพระ เป็นสีดำๆด่างๆ ก็รู้ว่าเป็นข้าวชั้นดี ซึ่งสมัยนั้นมีปลูกกันมากที่แม่แจ่มเท่านั้น ก็เข้าใจว่าคงจะเป็นบ้านเรา กระมัง พ่อค้าได้ถามพระครูบาอีกว่า “ คนลักษณะใดใส่บาตรครูบาขอรับ”
พระท่านก็ตอบว่า “ เป็นผู้หญิงคอออม( ออม หมายถึง พอง ปูด โปนออกมา)
พ่อค้าเอะใจ แต่ก็ไม่ได้พูดว่ากะไร หลังจากซื้อขายข้าวของเสร็จแล้วพ่อค้าก็เดินทางกลับบ้านแม่แจ่ม  ครั้นเมื่อถึงบ้านจึงได้ถามภรรยาว่า”ได้เคยใส่บาตรพระบ้างไหม”
ภรรยาตอบว่า” เคยใส่บาตรพระเดินออกมาจากป่า”
พ่อค้าถาม “แล้วเอาอะไรละ”
ภรรยาตอบว่า “ เอาข้าวกล่ำใส่” (ข้าวหอมชนิดหนึ่งชาวบบ้านนิยมปลูกไว้ ทำขนมไปทำบุญที่วัด)
พ่อค้าถาม “ แล้ววันไหน พระเป็นคนเช่นใดล่ะ”
ภรรยาได้ตอบคำถาม ซึ่งตรงกับเป็นพระองค์เดียวกันกับพระที่พ่อค้าได้ใสบาตรในเช้าวันเดียวกันที่บ้านหัวเสือพระบาท อำเภอจอมทอง จึงได้รู้ว่า พระองค์นี้มีบุญบารมียิ่งนัก
            พอท่านครูบาปุ๊ดได้ธรรมอภิญญาณแล้วก็มีสติปัญญาเกิดขึ้นตามลำดับ จึบได้วางแผนไว้ในใจ ในปีนี้พอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านตางมาทำบุญฟังเทศน์ที่วัดมากมาย ท่านจึได้บอกเรื่อถึงเหตุการณ์ที่ไม้สะหล
ีหัก ทีประชุมจึงตกลงไว้ว่า ปีต่อไปประมาณเดือน ๗ (เดือนเมษายน) ให้ชาวบ้านไปตัดง่ามมาชวยกันค้ำกิ่งต้นไม้สะหลีเอาไว้กันลมพัดหักโค่นใน พ.ศ. ๒๓๑๕ นั้นเอง
                        ต่อมาครูบาปุ๊ด และชาวบ้านได้กำหนดให้มีประเพณีการทำบุญแห่ไม้ค้ำโพธิ์ หรือไม้ค้ำนะหลี ทุกปีในเดือน ๗ เหนือ หรือ เดือน เมษายน ซึ่งมีประเพณีดังนี้
                        วันที่ ๑๓ เมษายน        เป็นวันสังขารล่องให้ชำระจิตใจ และ บ้านเรือนให้สะอาด
                        วันที่ ๑๔ เมษายน        เป็นวันเนาว์ หรือ วันเน่า ห้ามพูดคำไม่ดี ไม่เป็นสิริมงคล ถือเป็นวันดา หรือวันเตรียม งานด้วยมีการขนทรายเข้าวัด
                        วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันพญาวัน เป็นวันยิ่งใหญ่ กว่าวันใดๆมีการทำบุญใหญ่ เป็นวันแห่ไม้ค้ำสะหลี (แห่ไม้ค้ำโพธิ์ ) ซึ่งชาวจอมทองไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต่างก็จะพากันกลับบ้านมารดน้ำดำหัวบุพพการี และ รวมแห่ไม้ค้ำสะหลีกันอย่างเนืองแน่น ถือเป็นประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์แหงแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่สืบทอดกันมาช้า นานนับสองร้อยกว่าปีมาแล้ว
                        วันที่ ๑๖ เมษายน เป็นวันปากปี ถือเป็นวันเริมศักราชใหม่ของชาวพื้นเมืองเหนือล้านนา

                        ประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือประเพณีปี๋ใหม่เมือ หรือประเพณีวันสงกรานต์  ถือเป็นวันทำบุญ ครั้งใหญ่ของชาวล้านนาการทำบุญที่วัด และให้บรรดาญาติผู้ใหญ่ตลอดจนถึงบรรพชนที่ลุล่วงลับดับขันธ์ไปนอกจากนี้ ครูบาปุ๊ดยังได้อบรมสั่งสอนให้ชาวบ้าน ถึง กุศโลบายการจัดประเพณีนี้โดยได้อานิสงค์หลายอย่างเช่น

  1. เป็นการค้ำไม้สะหลี(ต้นโพธิ์) ไมให้หักโค่นลงมา
  2. เป็นการสืบชะตาวัด หมู่บ้านปละชาวเองให้เป็นสิริมคลอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
  3. เป็นการค้ำจุนสืบทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนานตลอด ถึง ๕,000  พระวสา
  4. เป็นรื่นเริงในหน้าแล้งซึ่งอากาศร้อนมากโดยมีพิธีรดน้ำดำหัว พักผ่อนในยามว่างานจากนั้นบรรดาเครือญาติจากที่ต่างๆ จะมารวมตัวพบปะสังสรรค์กัน ถือวาเป็นวันครอบครัวของชาวล้านนาจอมทองอีกด้วย

สำหรับผู้ที่เล่าสืบต่อมา คือ ครูบามหาวัน เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๕ ซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรน้อยอายุ
ประมาณ ๑0 -๑๑ ขวบ อยู่ในเหตุการณ์ด้วยครูบายะ หรือ ครูบาพุทธศาสตร์ สุประดิษฐ์
เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๖ ผู้สร้างกุฎิไม้หลังใหญ่(โฮงหลวง)
ตุ๊พ่อตั๋น สังวโร พระเถระผู้ใหญ่สมัยทานพระครูสุวิทยธรรม เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๗
พ่อหนานศรีทน ยศถามี มัคยนายก วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ยังได้เล่าอีกว่าตอนนั้นนอกจากกิ่งไม้สะหลีได้หักโค่นลงมาแล้ว ยังเกิดเหตุพระธาตุจอมทองได้หายจากผอบทองคำในมณฑปอีกด้วย ซึงต่อมาก็ได้เสด็จกลับมาประดิษฐานยังมณพป หรือ ประสาทชมปูดังเดิม

 

ตำนานไม้ค้ำสะหลีก็จบแค่นี้ก่อนแล

อาจารย์ เพชร  แสนใจบาล 
๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๙

สามเณรทศพล อาญาคำ

คำสำคัญ (Tags): #ตานข้าวใหม่
หมายเลขบันทึก: 495816เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท