หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ชวนมาทำความรู้จักสารที่ชื่อ "ไกลโคไซม์"


สารเคมีทุกตัว มีคุณสมบัติ 2 ด้าน ด้านบวกและลบ จะใช้ให้เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษก็อยู่ที่ "สติ" ตอนนำไปใช้ รู้จักไว้ดีกว่าไม่รู้จัก

บันทึกที่มีแต่คำศัพท์เฉพาะจะดูเป็นอะไรที่วิชาการไป ก็ไม่รู้จะทำยังไง เพราะเป็นชื่อเฉพาะนี่นา เอามาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้รู้จักว่าอะไรที่มีชื่อเฉพาะนี้ มีฤทธิ์อะไร อยู่ในอะไรตามธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ในการใช้ความรู้ดูแลสุขภาพกัน แค่นั้นเอง 

กลัยโคไซด์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจาก agycone (หรือ genin)  จับกับส่วนที่เป็นน้ำตาล (glycone part) ละลายน้ำได้ดี  แบ่งเป็นกลุ่มตามสูตรโครงสร้างของ agycone

กลุ่มแรก   มีฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อหัวใจและระบบการไหลเวียนของโลหิต (Cardiac Glycisides) เช่น ใบยี่โถ

กลุ่มที่ 2   มีฤทธิฺเป็นยาระบาย ยาฆ่าเชื้อ และสีย้อมผ้า (Antraquinone Glycosides)  เช่น ใบมะขามแขก ใบขี้เหล็ก ใบชุมเห็ดเทศ ใบว่านหางจระเข้

กลุ่มที่ 3  มีคุณสมบัติเกิดฟอง เมื่อเขย่ากับน้ำ (Saponin Glycosides) เช่น ลูกประคำดีควาย

กลุ่มที่ 4  หลังถูกย่อยด้วยน้ำย่อยจะให้สารจำพวกไซยาไนด์ (Cyanogenatic Glycosides) เนื่องจากมีส่วนของ Agycone เช่น
Cyanogenetic Nitrate อยู่  รากมันสำปะหลัง สะตอ  ผักหนาม ผักเสี้ยนผี กระเบาน้ำ เป็นตัวอย่างพืชกลุ่มนี้

กลุ่มที่ 5  มีส่วนของ agkycone พวก Isothiocyanate อยู่  (Isothiocyanate Glycosides)

กลุ่มที่ 6  เป็นสารสีกลุ่มฟลาโวนอยอยู่ ( Flavonol Glycosides)  ส่วนใหญ่สีออกไปทางสีแดง เหลือง ม่วง น้ำเงิน เช่น ดอกอัญชัน

กลุ่มที่ 7  มี alycone เป็นแอลกอฮอล์บ้าง (Alcoholic Glycosides)  ฟินอลบ้าง (Phenolic Glycosides) แอลดีไฮด์บ้างอยู่ (Aldehyde Glycosides)

หมายเลขบันทึก: 495160เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาชวนหมอไปให้กำลังใจ ศาสตราเปล คุยเรื่องทำอย่างไรให้หัวใจมีSHA ที่รพ.สตูลครับ

รอกำลังใจจากคนเมืองบี

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492947

คุณหมอค่ะ ขอบคุณค่ะ... พืชผัก ใกล้ตัวหลายชนิดเลยนะค่ะ ที่มีไกลโคไซด์ เป็นข้อมูลที่มีประโยขน์มากค่ะ จะได้ระมัดระวังเรื่องการกินให้ถูกวิธี ความถี่ในการกิน และได้รับในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดพิษนะค่ะ

  • น้องภูสุภาที่รัก ไม่ได้แวะทักทายกันนานมากแล้ว สุขกายสุขใจนะคะ วิทยาศาสตร์ด้านอาหารทำเอาเราเวียนหัวมากมาย บางเวลาก็..อิอิ...ไม่ออกเลยแหละน้อง
  • อ.จันทร์ค่ะ สารชื่อเฉพาะพวกนี้ เกี่ยวดองกับสารที่เป็นต้นแหล่งทำยาก็มี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระก็มีค่ะ  ถ้ามีผู้รู้มาแบ่งปันเพิ่มจะดีไม่น้อยเลยค่ะ
  • คุณเบียร์ แวะมาเยี่ยมชมด้วย ขอบคุณค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ
  • อ.ขวัญค่ะ กินเพื่อสุขภาพ ไม่ได้หมายเพียงประโยชน์ด้านเดียว แต่หมายรวมแบบสัมพัทธ์ในทุกด้านเลยค่ะ ยิ่งความรู้ระดับนาโนลึกมากเท่าไร ยิ่งมีเรื่องคาดไม่ถึงปรากฏออกมาอีกมากมาย
  • บังวอญ่าค่ะ แต่ก่อนเวลาเราเรียนเรื่องปัจจัย 4 กัน เราท่องกันจนขึ้นใจ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค แต่เราไม่เคยคิดว่าทั้ง 4 ปัจจัยเกี่ยวดองกันอยู่เสมอ และมีเรื่องลึกซึ้งซ่อนอยู่มากมายเนอะค่ะ
  • น้องไม้โตค่ะ ขอบคุณที่มาเยือนค่ะ

หมอพอรู้วิธีการสกัดสารกลัยโคไซด์ ออกมาจากพืชไหมคะ

หมอพอรู้วิธีการสกัดสารกลัยโคไซด์ ออกมาจากพืชไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท