494964 และ 495087ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาไทย ของผู้สอนและผู้เรียนจะแก้ไขไปในทางใด


ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาไทย ของผู้สอนและผู้เรียนจะแก้ไขไปในทางใด

ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาไทย ของผู้สอนและผู้เรียนจะแก้ไขไปในทางใด

       เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย )

        จากการที่โลกก้าวเข้าสู่ยุค เทคโนโลยี มากขึ้นทำให้การเรียนการสอน เปลี่ยนแปลงไปอาจจะในทางที่ดีหรือแย่ก็ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละบุคคลแต่เทคโนโลยีที่ทันสมัยก็น่าจะทำให้กระบวนการสอนนั้นดูยุ่งยากกว่าที่เคยเป็นตัวอย่างเช่นบุคลากรบางท่านยังใช้คอมพิวเตอร์ได้ไม่คล่องแต่ก็ต้องเสียเงินเดือนมาซื้อเทคโนโลยีใช้ (  Notebook   Tablat ) มาเพื่อใช้ในการสอนและการทำงานเพื่อปรับระดับขั้นเงินเดือนทั้งที่ซื้อมาทั้งหลายอย่างนั้นใช่ไม่เป็นซักอย่างเลย  ก่อนที่เรานั้นจะให้ความสนใจนำเทคโนโลยีมาเสนอให้เด็กนักเรียนนักศึกษานั้นเราต้องย้อนกลับไปพัฒนาผู้สอนก่อนแบบนี้อาจจะทำให้นักเรียนเข้าใจเทคโนโลยีได้ดีขึ้นกว่าการที่เรียนจากคู่มือการใช้

       และไม่ใช้ที่จะแก้ปัญหาสำหรับกลุ่มนักเรียนผู้พิการ กลุ่มนักเรียนยากจน และ กลุ่มบุตรของแรงงานต่างด้าว  แต่เราต้องให้ความสนใจเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้(เด็กเรียนช้า)เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้(เด็กเรียนช้า)ก็เป็นเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้สอนต้องให้วามสนใจกับเด็กมากเป็นพิเศษเพราะภายนอกเขาอาจจะเหมือนกันกับเราทุกอย่างมีร่างกายครบ 32 แต่ด้านสติปัญญาเขาด้อยกว่าเราโรคความบกพร่องในการเรียนรู้(เด็กเรียนช้า) หรือที่คนไทยเรียกว่า LD Learning Disabilities เป็นกลุ่มที่มีความบกพร่องในทักษะการเรียนรู้เฉพาะด้าน ที่แสดงออกมาในรูปของปัญหาการอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การสะกดคำหรือการคำนวณ ทำให้เด็กมีผลการเรียนต่ำกว่าระดับเชาว์ปัญญา ซึ่งไม่ได้เกิดจากอวัยวะพิการ ภาวะปัญญาอ่อน ปัญหาทางอารมณ์หรือการขาดโอกาสในการเรียนรู้ แต่เป็นผลโดยตรงที่มาจากสมองทำงานบกพร่องไปอาการแสดง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. มีปัญหาในการอ่านหนังสือ อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้างแต่ความสามารถในการอ่านต่ำกว่าเด็กที่ฉลาดเท่ากันอย่างน้อย 2 ชั้นเรียน สะกดตัวไม่ถูก อ่านช้า ตกหล่น อ่านเพิ่มคำ อ่านสลับตัวพยัญชนะ ผสมคำไม่ได้ แยกคำไม่ถูก อ่านแล้วจับใจความไม่ได้
2. มีปัญหาในการเขียนหนังสือ อาจจะเขียนหนังสือไม่ได้ทั้งที่รู้ว่าจะเขียนอะไร เขียนแล้วเอาพยัญชนะมารวมๆกันแต่อ่านไม่ได้ เขียนพยัญชนะสลับกัน ขนาดของตัวอักษรไม่เท่ากัน เขียนไม่ตรงบรรทัด ไม่เว้นช่องไฟ
3. มีปัญหาในการคำนวณ อาจจะคำนวณไม่ได้เลยหรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข เขียนเลขสลับกัน ทำบวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้ ยุ่งยากกับการตีโจทย์ปัญหา

 


จากความผิดปกติเหล่านี้ จะทำให้เด็กเรียนหนังสือได้ลำบาก ทั้งๆที่เด็กมีระดับเชาวน์ปัญญาปกติก็ตาม แต่ผลการเรียนไม่ดีและเด็กเองก็มองเห็นข้อบกพร่องของตัวดองที่แตกต่างจากเพื่อนและไม่สามารถเอาชนะข้อบกพร่องนี้ได้ ส่งผลทำให้เด็กมองภาพตัวเองไม่ดี รู้สึกว่ามีปมด้อย ล้มเหลว

 ยิ่งเรียนยิ่งทำไม่ได้ แต่เวลาฟังคนอื่นพูดจะรู้เรื่องดีและฉลาดในการซักถาม ยิ่งทำให้พ่อแม่ครูคาดหวังว่าเด็กดูรู้เรื่อง แต่ผลสอบที่ไม่ดีจะส่งผลทำให้ผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจดุ ว่า ตำหนิ เคี่ยวเข็ญ ทำให้เกิดปัญหาอารมณ์ (ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล) และปัญหาพฤติกรรม (ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว หนีเรียน) ตามมา

สาเหตุ มีหลักฐานว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมอง ถ่ายทอดการดำเนินโรคในครอบครัว ร้อยละ 20 ที่จะมีประวัติว่าคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีปัญหาขณะตั้งครรภ์หรือขณะคลอด เคยมีโรคติดเชื้อหรืออุบัติเหตุรุนแรงที่สมอง เป็นโรคลมชัก เป็นต้น

อุบัติการณ์ พบได้ร้อยละ 6 ในเด็กวัยเรียน ถึงแม้ว่าเป็นความผิดปกติที่ติดตัวมาแต่จะทราบต่อเมื่อสภาพแวดล้อมเริ่มกดดันให้แสดงความสามารถออกมา จึงเริ่มเห็นความผิดปกติชัดเจนที่ชั้นประถมปีที่ 1- 3

ความผิดปกติที่พบร่วมกับLD โรคสมาธิสั้น โรคกระตุก(Tic disorders) กลุ่มที่มีความล่าช้าในภาษาและการพูด

การให้ความช่วยเหลือ
1. ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่ชั้นอนุบาล โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้มือไม่เก่ง งุ่มง่าม ซุกซน พูดช้าพูดไม่ชัด การทรงตัวไม่ดี สับสนในทิศทาง สับสนซ้าย-ขวา ฯลฯ เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการฝึกทักษะแบบเตรียมความพร้อมในทุกด้านขึ้นมาพร้อมกับการฝึกเฉพาะด้านในส่วนที่มีปัญหา เช่น การใช้มือ การพูด การเคลื่อนไหวหรือการทรงตัว เป็นต้น
2. ทำงานร่วมกันระหว่างพ่อ แม่ ครู และแพทย์ ในการค้นหาสาเหตุของปัญหา ให้วินิจฉัยโรค
3. ความเข้าใจของพ่อแม่และครูในตัวโรค LDและข้อจำกัดในเด็ก จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด เพราะจะทำให้เด็กได้รับความช่วยเหลือทางการศึกษาอย่างเหมาะสม ทำให้สามารถเรียนรู้ต่อไปได้ภายใต้ข้อจำกัดในความสามารถทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
4. ปรับระบบการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ต่อได้ โดยจัดทำแผนการเรียนเฉพาะตัว ( individual educational program ) และติดตามผลระยะยาว
4. ค้นหาจุดเด่นและข้อด้อย พัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ เช่น กีฬา ดนตรี การทำกิจกรรม การช่วยเหลือตัวเอง ฯลฯ เพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจในตัวเด็ก ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ใช้เทคนิคการให้กำลังใจเป็นระยะ
5. บอกสิทธิ์ที่เด็กและครอบครัวควรได้รับ เนื่องจากโรค LD ถือว่าเป็นความพิการชนิดหนึ่งที่เด็กจะต้องได้รับความความช่วยเหลือทางการแพทย์และการศึกษาตามกฎหมาย โดยเด็กจะได้รับการวางแผนสร้างแบบการเรียนเฉพาะตัว ( individual educational program ) โดยจะต้องมีการปรับระบบการเรียนการสอนที่เน้นการฟัง การเห็น การลงมือปฏิบัติ มากกว่าจะเน้นการได้รับความรู้ผ่านการอ่านหนังสือ ใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ เช่น เทป วีดีโอ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้ติดตามการเรียนในห้องได้ทัน

การพยากรณ์โรค
เนื่องจาก LD เป็นความพิการติดตัว อาจพัฒนาความสามารถในการอ่าน เขียนหรือคำนวณขึ้นมาได้บ้างผ่านการฝึกฝนซ้ำๆ แต่อย่างไรก็ตามความสามารถของทักษะก็ยังต่ำกว่าความสามารถของเด็กที่มีระดับเชาวน์ปัญญาเท่ากันอย่างน้อย 2 ชั้นเรียน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะวัดความรู้ที่เด็กมีโดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับเด็กปกติ คือ เด็กจะต้องอ่านโจทย์เอง เนื่องจากเด็กอ่านไม่ได้หรืออ่านได้บ้างแต่ไม่รู้เรื่อง ผลสอบจะไม่สามารถวัดความรู้ที่เด็กมีได้แน่นอน
เด็กส่วนใหญ่จะถูกกันออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่แรก ทำให้ขาดโอกาสเรียนรู้ มองตัวเองว่าโง่ เป็นคนไม่ดี ไม่มีความสุข ก้าวร้าวในกรณีที่ถูกลงโทษบ่อยๆ ติดยาเสพติด กลายเป็นปัญหาสังคมได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทางการศึกษาละเลยมิให้ความช่วยเหลือโดยปรับระบบการเรียนการสอน และยังใช้มาตรฐานการเรียนการสอนเช่นเดียวกับเด็กปกติ

(ขอบคุณข้อมูลเรื่องโรค LD จาก สุขภาพไทย Thaihealthข่าว ข้อมูลสุขภาพ เพื่อคนไทย )

 

          และนี้ก็เป็นเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้สอนนั้นจะต้องศึกษาข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะได้ช่วยคัดกรองเด็กกลุ่มออกมาจากการเรียนการสอนปกติและจัดทำการเรียนการสอนที่เขาสามารถทำได้จะเป็นการช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 495142เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เขียนเร็วดีนะคะ แต่ก็ยังไม่ทำตามที่อาจารย์บอกว่า ใครลงบันทึกต้องแจ้งให้อาจารย์ทราบทาง Blog เพื่อจะได้เข้าไปตรวจและให้ข้อชี้แนะ และล่าสุดอาจารย์ก็บอกไว้ว่า "ถ้าใครลงบันทึกไปแล้ว แต่ไม่แจ้งให้อาจารย์ทราบในช่องแสดงความเห็น อาจารย์ก็มิอาจทราบได้"  นี่บังเอิญว่า อาจารย์เห็นรูปในหน้าแรก GotoKnow ก็เลยเข้ามาดู
  • เนื้อหาดี น่าสนใจค่ะ

  • แต่อาจารย์ยังแยกไม่ออกว่า ส่วนไหนเป็นส่วนที่หนูเขียนเอง ส่วนไหนเป็นส่วนที่อ้างอิง ให้ดูตัวอย่างการอ้างอิงของอาจารย์ในบันทึกล่าสุด แล้วปรับแก้ไขโดยให้กล่าวถึงแหล่งอ้างอิงไว้ในเนื้อหาด้วย อาจารย์ดูเนื้อหาในย่อหน้าแรกแล้ว น่าจะเป็นการนำเนื้อหาเรื่องเทคโนโลยีมาจากวิกิพีเดีย (หรือเปล่า) ต้องอ้างอิงที่มาไว้ในวงเล็บด้วย ถ้าเป็นเอกสารจากเว็บก็ต้องให้ Link ของเอกสารที่อ้างอิงเพื่อให้อาจารย์และผู้อ้านท่านอื่นๆ เข้าไปดูแหล่งอ้างอิงได้

  • การลงบันทึกทุกครั้งต้องใส่เลขบันทึกที่เกี่ยวข้อง บันทึกนี้ ให้ใส่หมายเลข 494964 และ 495087

  • ไม่เข้ามาอ่านและทำตามข้อชี้แนะ 15/20
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท