กฎหมายขัดกันของญี่ปุ่น


public order ของประเทศญี่ปุ่น อยู่ในมาตราใด???????

        ผู้เขียนได้เขียนเรื่องความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ซึ่งบัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ใน มาตรา 5 อันมีความว่า "ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ให้ใช้กฎหมายนั้นเพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนชาวสยาม" มาถึง 2 ครั้งแล้ว 

       ในครั้งนี้ผู้เขียนจะพาเที่ยวต่างประเทศบ้าง  ประเทศญี่ปุ่นได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย หรือ ACT Concerning the Application of Laws ค.ศ. 1989 ว่า " In the case where the law of a foreign country is to govern and application of the provisions in such law in contrary to public order and good morals, such provisions shall not apply.

       จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าบัญญัติไว้คล้ายคลึงกันมากทีเดียว แต่ผู้อ่านต้องตั้งข้อสังเกตุว่าถึงแม้บทบัญญัติจะมีเนื้อหาเหมือนกัน แต่ในประเด็นว่าเรื่องใดขัดหรือไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับ จารีตประเพณี วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของแต่ละประเทศ ซึ่งแตกต่างกันออกไป อาทิเช่น ความสมบูรณ์ของการแต่งงาน สำหรับประเทศไทย การแต่งงานจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนกันถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีการทำพิธีทางศาสนาหรือไม่

        แต่ในบางประเทศ จะต้องมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาด้วยจึงจะถือว่าสมบูรณ์

คำสำคัญ (Tags): #laws#of#application#the#concerning#act
หมายเลขบันทึก: 49470เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ,

 

คุณพรพรรณพูดถึงตัวกม.ที่เรียกว่า Conflicts ใช่ไหมคะ

 

น่าสนใจเหมือนกันค่ะ  บังเอิญเคยเรียนป.โทด้าน Private International Law มาตอนอยู่อเมริกาเหมือนกัน  ถึงแม้ว่าจะทิ้งไปเป็นชาติแล้วน่ะนะคะ

 

แล้วก็บังเอิญตอนนี้กำลังสนใจเรื่องเกี่ยวกับสังคมญี่ปุ่นอยู่พอดี

 

Public Order ของญี่ปุ่น นั้น  เป็นไปได้ว่ามีที่มายาวนานมากเลยล่ะค่ะ  แต่ก็อาจจะสะท้อนให้เห็นได้ในตัวรัฐธรรมนูญ

 

ตอนอยู่ญี่ปุ่นเคยได้อ่านข่าวที่เกี่ยวกับการบังคับคดีต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในเชิงที่เกี่ยวกับสังคมบ้างเหมือนกันค่ะ  ด้วยความสนใจเฉย ๆ  ไม่ได้ลงลึกด้านกม.

 

แต่เท่าที่เห็น  ญี่ปุ่นค่อนข้างอนุรักษ์สูงมากเลยนะคะ  ทุกวันนี้ก็ยังตีความรัฐธรรมนูญแบบค่อนข้างอนุรักษ์อยู่มาก ๆ เลย

 

เพราะฉะนั้น  ที่ตั้งคำถามไว้ในประโยคเด่น  ตัวเองก็ตอบไม่ได้หรอกค่ะ  แค่แวะเข้ามาคิดด้วยคนเล่น ๆ ว่า  คงต้องดูที่รัฐธรรมนูญเขา  แล้วก็ตีความแบบอนุรักษ์เอาไว้ก่อนน่ะค่ะ สำหรับความหมายของ Public Order

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท