อุปกรณ์วัดความหนาแบบประหยัด


มาทำอุปกรณ์วัดความหนาผู้ป่วยแบบประหยัด ไว้ใช้งานกันดีกว่า

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพ อะลูมิเนียม 1 เส้น ที่เหลือใช้จากการต่อเติมบ้านของผม

ผมมองดูแล้วน่าจะนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้?



ลองบีบเล่น แล้วเกิดไอเดีย ว่าจะทำอุปกรณ์วัดความหนา (Caliper) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยประเมินความหนาของอวัยวะผู้รับบริการ ในการกำหนด Exposure Factor เพื่อถ่ายภาพรังสี


มีขั้นตอนดังนี้ ครับ


1. เตรียมอุปกรณ์ ดังภาพ

  

 

2. บีบแผ่นอะลูมิเนียมมุมฉาก ให้แนบชิดกัน หากแข็งแรงแบบผม ก็บีบด้วยมือ

หรือ อาจใช้คีม ช่วยผ่อนแรง

(ระวังความคมของอะลูมิเนียม อาจบาดนิ้วระหว่างการทำ)


3. ใช้ค้อน ตอกให้แผ่นอะลูมิเนียมแนบชิดกันมากที่สุด  


4. วัดความยาวจากปลายสุดของเส้นอะลูมิเนียม ระยะทาง 160 ซม.  แล้วพับ (เนื่องจากแผ่นอะลูมิเนียม มีความหนายังไม่เป็นที่พอใจ จึงต้องพับ ทำให้มีความหนาเพิ่มเป็น 2 เท่า)



5. พันเทปกาว เพื่อปิดความคมของเส้นอะลูมิเนียม  




6. วัดจากปลายด้านหนึ่ง เท่ากับ 30 ซม. แล้วพับเส้นอะลูมิเนียม เป็นมุมฉาก  




7. นำบางส่วนของเส้นอะลูมิเนียมที่เหลือ มาพับเป็นห่วง แล้วพันด้วยเทปกาว



8. เป็นอันว่า... สำเร็จ



9. ก่อนใช้ นำไปติดสเกล เพื่อบอกระยะทางของระยะห่างที่ต้องการวัด



10. อุปกรณ์วัดความหนา ชิ้นนี้

10.1 ข้อดี คือ

- ราคาถูก

- สามารถสร้างขึ้นมาใช้งานได้ (ดีกว่าไม่มีใช้เลย)

10.2 ข้อด้อย คือ

- โครงร่างไม่แข็งแรง

- สเกล อาจมีความคลาดเคลื่อน (ความคลาดเคลื่อน ไม่ควรจะเกิน 1 ซม. ซึ่งความคลาดเคลื่อนดังกล่าว จะมีผลต่อการให้ Exposure สำหรับการถ่ายภาพรังสีอวัยวะที่มีความหนามาก ไม่มากนัก)

การพับ การทำมุมให้ฉาก ห่วงที่พับ ที่ทำในข้อต่างๆนั้น

หากการพับเอียง ไม่ได้ฉาก หรือ ห่วงที่ทำ มีขนาดใหญ่หรือเล็กไป อาจจะเป็นอุปสรรค หรือ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน


หากท่านใดสนใจ ก็ลองทำดูนะครับ



หมายเลขบันทึก: 494329เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สุดยอดเลยครับ ผมขออนุญาต Copy รูปแบบ นะครับ ที่ รพ.มีของเหลือใช้เพี๊ยบเลย ที่เตรียมจำหน่าย จะได้เอาเก็บไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ หน่วยงานนะครับ

เตรียมพร้อมจริงๆๆ นะคะ เพื่อคุณภาพ และความปลอดภัย ได้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ขอบคุณ สำหรับบทความดีดีนะคะ

ไอเดียบรรเจิด ขอบคุณค่ะอาจารย์

เรียน อ.เพชรากร

เห็นแล้วเกิดแนวคิดที่จะทำ caliper ไว้ใช้ในแผนกเลยค่ะ ขออนุญาต copy นะคะ ทำได้ง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก นำไปใช้ได้จริง เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ช่วยประหยัด...ขอบพระคุณค่ะ

เรียน ทุกท่าน การสร้างนวัตกรรม การนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสิ่งต่างๆ ช่วยทำให้ชีวิตมีรสชาติมากขึ้น ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท