แนวคิดโพสต์โมเดอร์น มี ปัญญา หรือเปล่า (แปลมา)


ระหว่างการค้นคว้าเรื่อง "ปัญญา" (wisdom) ผมไปเจอ บล๊อกของฝรั่งคนหนึ่ง เขาเขียนไว้ น่าสนใจดี ก็เลยตัดสินใจเสียเวลาหลายชั่วโมงแปลเป็นไทย แรกกะจะเอาไว้อ่านเอง โดยปกติผมอ่านหนังสือภาษาอังกฤษไม่ค่อยต้องมานั่งแปลล่วงหน้า แต่บทความทางปรัชญาเนี่ยไม่ง่าย ชอบใช้ศัพท์หรู ศัพท์สูงเฉพาะทาง วิลิสมาหรา พวกนักวิทยาศาสตร์อ่านแล้วแทบจะงงเป็นไก่ตาแตก เล่นเอาผมต้องเปิดดิกฯ บ่อย ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกๆ ที่ทำแบบนี้ในรอบ ๒ ทศวรรษ

แต่ว่า บทความของเขามีมุมมองแบบที่ผมไม่อยากจะคัดเอาคำแปลมาทั้งหมด เพราะไม่เกี่ยวกับความสนใจของผม ดังนั้นก็จะคัดคำแปลของผมมาเพียงส่วนที่ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ เพราะผมจะได้มีไว้อ้างอิงในอนาคต เวลาที่ผมเริ่มเขียนหนังสือออกมา (ความจริงผมก็มีสำเนาอยู่ใน MBP โน้ตบุ้คของผมด้วย แต่ว่า มีโพสต์ไว้ที่นี่ คนอื่นมาอ่านเจอ อาจจะได้ประโยชน์ด้วยครับ)

 

ปัญญาของ แนวคิดยุคหลังนวสมัย มีไหม ?

คำแปลไทย จากบทความภาษาอังกฤษใน บล๊อกของ อดัม ทอมป์สัน โดย บุรชัย 

 

เห็นหัวเรื่องรู้สึกดูน่าไร้สาระ ยังงั้นใช่ไหม ผมหมายถึงว่า แนวคิดหลังนวสมัย จะไปให้อะไรใครที่มีความเชื่อแบบคริสตียนดั้งเดิม (orthodox christian) ได้บ้าง แนวคิดนี้ เป็นคำที่ผมมักจะพูดถึงด้วยความรู้สึกผสมกันระหว่าง ความรู้สึกแย่มาก ความดูถูก ความงง  เอาละ หลังจาก(อ่าน)ตลุยผ่านหนังสือเรื่อง Waiting for the Barbarians ของ J.M. Coetzee แล้ว ผมก็ได้ความตระหนักว่า บางที แนวคิดหลังนวสมัย อาจจะไม่ได้เลวไปเสียทั้งหมด

พื้นฐานของ Postmodernism คือความขี้สงสัย นักปรัชญาแนวคิดหลังยุคนวสมัย โจมตีการปกป้องเหตุผลของกลุ่มแนวคิดของ เดการ์ต และ คานต์ (Cartesian-Kantian) ในแง่ ความเชื่อถือได้ ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และ ความเป็น ปรวิสัย (Objectivity) ซึ่งยืนยันว่า จิตใจเป็นจุดเริ่มต้นของความแน่นอนที่ยอมรับได้ และดังนั้น รวมถึง ความรู้

นักประวัติศาสตร์แนวคิดหลังนวสมัยเปิดหน้ากากระบบการเมืองว่าเป็นการอ้างสิทธิโดยกลุ่มที่มีความต้องการอำนาจ เต็มไปด้วยความไม่คงเส้นคงวาภายใน ความไม่ลงรอย การเสแสร้ง และ ความอยุติธรรม

ศิลปกรชาวแนวคิดหลังนวสมัย ก็สร้างงานของเขาบนงานของคนรุ่นก่อนคือ ชาวนวสมัย โดยรื้อความคล้ายกันของประเพณีนิยม หรือมาตราฐานเชิงปรวิสัยสำหรับงานประดิษฐ์ ไปชอบแนวการลองความงามแนวใหม่แบบ เฮราคลิตัส (Heraclitian avant-garde approach)  ซึ่งเปลี่ยนทิศทางลมของปัจเจกบุคคล หรือ จินตนาการโดยรวม ด้วยความว่องไวเหลือเกิน เพื่อที่จะเสนอมติสอดคล้องที่อยู่เกินเอื้อมอยู่เสมอ

ถ้างั้น ที่พูดมานี้ทั้งหมดมีอันไหนที่ตีความได้ว่า มีปัญญา ?  เอ้อ เริ่มแรกเลย ความขี้สงสัยใน ความพอประมาณ หรือ ความไม่เว่อร์ (moderation) ก็เป็นประโยชน์พอควร ทว่า แนวคิดหลังนวสมัยเริ่มเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อ มันกล่าวอ้างเอาเศษเสื้อผ้าอาภรณ์ของเทพีแห่งปรัชญา มาเป็นองค์ทั้งสิ้นของปรัชญา (ไปดู บทความเรื่อง Consolation of Philosophy โดย Beothius เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม) (หมายเหตุผู้แปล : งานเขียนตั้งแต่ ค.ศ. ๕๒๔ มีใน วีกิพีเดีย และ อีบุ้คดาวน์โหลดได้จากโครงการกูเต็นบวก) ความขี้ระแวงสงสัย เมื่อใช้เป็น วิธีการ ก็ยิ่งมีประโยชน์ยิ่ง นักปรัชญาแนวคิดหลังนวสมัย (postmodern philosopher) จริงๆ แล้วชี้ให้เห็น ขีดจำกัด และ ความเปราะบางของแนวคิดปรัชญากลุ่มแสงสว่าง (Enlightenment philosophy) (หมายเหตุผู้แปล ศัพท์นี้ไม่ใช่หมายถึง การตรัสรู้ หรือ การบรรลุธรรม แบบในทางพุทธ) ซึ่งกลายมาเป็น เทพปกรณัมเชิงตรรกะแบบไม่มีเหตุผล (irrational rational) อย่างรวดเร็ว  ศิลปกรยุคหลังนวสมัย ขยายสัญชาตญาณของศิลปกรยุคนวสมัยจริง ออกไปจนถึงขีดที่เรียกได้ว่าเหลวไหล นี่คือข่าวที่น่าอัศจรรย์

(เนื้อหายังมีต่อ แต่ขอโพสต์แค่นี้)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 493978เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท