หมออนามัย ยาแลกไข่ ไข่แลกยา


หมออนามัย ยาแลกไข่ ไข่แลกยา

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

เมื่อวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม 2555 มีการประชุมประจำเดือนที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแก่งคอยและมีการประชุม คณะกรรม คปสอ.แก่งคอย โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย และได้พูดยาแลกไข่ ไข่แลกยา และได้รับจัดสรรเงินมาทั้งจังหวัดๆละ หนึ่งแสนบาท แบ่งกันทั้งจังหวัดอำเภอแก่งคอย ได้เงินแปดพันบาท ในการซื้อไข่มาจำนวนแปดพันบาททั้งโรงพยาบาลแก่งคอย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ อีก 19 แห่ง รวมเป็น 20 แห่ง เงินแปดพันบาทนำไปซื้อไข่ ให้ทุกๆแห่งๆละ 5 แผง เท่ากับหนึ่งร้อยห้าสิบฟอง ยาแลกไข่ ไข่แลกยาได้ประมาณ 30 คน หากเป็นอำเภอใหญ่ๆอาจได้น้อยกว่านี้เพราะมีตัวหารมากกว่า และคงไม่พอที่จะเอา ยาแลกไข่ ไข่แลกยา และไม่สามารถใช้เงินบำรุงของสถานบริการจัดซื้อได้ นโยบายดีที่นำยาแลกไข่ ไข่แลกยา แต่ผู้ปฏิบัติที่อยู่ระดับล่างเหนื่อยในการหาไข่ (เงินซื้อไข่) เป็นการช่วยให้ชาวบ้านขายไข่ได้และกระจายรายได้ แต่ถ้ามองในมุมกลับต่อไปชาวบ้านมารับยาหรือได้ยาไปก็จะนำยาไปเก็บไว้ ไม่กินยาที่รักษาโรคนั้นๆ เก็บยาไว้ ยาแลกไข่ ไข่แลกยา และชาวบ้านจะต้องมาสอบถามในสถานบริการนั้นๆที่อยู่ใกล้บ้านเรื่อง ยาแลกไข่ ไข่แลกยา ตลอดว่าเมื่อไหร่จะมียาแลกไข่ ไข่แลกยาอีก ขนาดประชาสัมพันธ์ในระดับบน หากประชาสัมพันธ์ในระดับล่าง เสียงตามเสาที่อยู่ในหมู่บ้าน รับรองเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ต้องทำงานอย่างอื่น มีแต่ชาวบ้านจะนำยาเก่าที่ไม่ใช้ หรือลืมชื่อยา และวิธีการใช้ยา หรือยาหมดอายุ เพราะใส่ไว้ในถุงรวมกับยาอื่นๆหลายขนาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องหาไข่ (ซื้อด้วยเงินส่วนตัว และเบิกคืนไม่ได้) มาสำรองไว้ในการให้บริการ บางคนกินยามานานหลายๆปี เริ่มเบื่อและท้อในการกินยา กินบ้างไม่กินบ้าง บางคนไปพบหมอหรือแพทย์อยากได้ยามากๆ (หมอหรือแพทย์ตามใจ) บางคนบอกว่าหมอหรือแพทย์ให้แต่ยา ไม่มีวิธีการรักษาอย่างอื่นๆอีกหรือ จึงหยุดยาเอง บางคนได้ยามาจำนวนมาก เช่นยารักษาผู้ป่วยวัณโรคและโรคติดเชื้อ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และเสียชีวิต (โดยไปรับยาทุก 1-3 เดือน) ผมเป็นผู้ปฏิบัติ ผมพร้อมที่จะทำตามนโยบาย ดังที่ผมเคยกล่าวไว้ หมออนามัย พร้อมบริการประชาชน

หมายเลขบันทึก: 493893เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แด่...พี่และเพื่อนร่วมชะตากรรมครับ

ได้ยินข่าวนี้ตั้งแต่แรก ชวนให้ปวดหัวนะคะพี่แดง เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำมั้ยคะ หาวิธีอื่นดีกว่ามั้ย คิดว่าพวกเราทำได้นะ

ที่ทำได้ก็คงแค่สร้างกระแสให้นำยาที่ไม่ใช้มาคืนให้หน่วยงานสาธารณสุข

แต่ที่สังเกตเห็นประชาชนไม่ค่อยตื่นตูมและตื่นตามค่ะ แจกไปจนกว่าไข่จะหมดนั่นแหละค่ะ

                          

แวะมาทกทายสวัสดีค่ะคุณหมอ ขอให้มีความุขกับสิ่งที่ทำทุกๆวันนะคะ

  • มาเป็นกำลังใจให้กับผู้บริการประชาชนจ้ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท