นิยามของกฎหมายธุรกิจ


สรุปนิยามกฎหมายธุรกิจที่ได้เรียนกับอาจารย์แหวว

 

บทเรียน

กฎหมาย คืออะไร

1.       เหตุผลที่ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องให้รัฐสภาเขียน และไม่ใช้พระราชบัญญัติ

2.       ความเชื่อของชุมชน(จิตใจของประชาชาติ) ถ้าผิดความเชื่อของชุมชนก็อยู่ไม่

ได้

3.       เหตุผลของผู้ปกครอง (คำสั่งของรัฐาธิปัตย์) ผู้ปกครองไม่มีอำนาจตามอำเภอใจ 

สิ่งที่ทำให้ธุรกิจปลอดภัยมากที่สุดคือ  กฎหมาย 

กฎหมายจารีตประเพณี      ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมีการปฏิบัติตามหลักกฎหมายทั่วไป         กฎเกณฑ์ที่พัฒนาจากสิ่งที่ถูกต้องกฎหมายของรัฐสภา 

รัฐคือ  รัฐประกอบด้วย 3 ส่วน คือ อำนาจอธิปไตย ,ดินแดน และ ประชากร

  กฎหมาย แบ่งออกเป็น 

1.       กฎหมายในประเทศ

 2.       กฎหมายระหว่างประเทศ  

ซึ่งทั้งกฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศจะมี กฎหมายจารีตประเพณี ,หลักกฎหมายทั่วไป กฎหมายของรัฐสภาอยู่ภายในนั้น        

จารีตประเพณีระหว่างประเทศก็มีคือ สัญญาต้องเป็นสัญญา  

กฎหมายลายลักษณ์อักษรระหว่างประเทศ เรียกว่า สนธิสัญญา, ความตกลงระหว่างประเทศ, อนุสัญญา 

กฎหมาย เอกชน 

ระหว่างเอกชน (นิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน) เอกชนกับเอกชนตกลงกันเรียกว่ากฎหมายแพ่ง         

 กฎหมายมหาชน

 ระหว่างรัฐและเอกชน (นิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน) เอกชนกับรัฐบาลตกลงกันเรียกว่ากฎหมาย มหาชนเกิดสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน 

กฎหมายภายในรัฐคืออะไร กฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ,นิติสัมพันธ์ภายในรัฐ , บังคับดินแดนในรัฐ

 กฎหมายระหว่างประเทศ    แผนกคดีเมือง  กฎหมายที่ใช้บังคับนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ เรียกอีก อย่างว่า กฎหมายต่างตอบแทน

 กฎหมายระหว่างประเทศ   แผนกคดีบุคคล  กฎหมายที่ใช้บังคับนิติสัมพันธ์ของเอกชน 

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้    ในช่วงที่เรียนนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาจารย์ถามคำถาม

ว่า  คนไทยบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุเท่าไร  น่าแปลกใจมากที่นักศึกษาที่เรียนในชั้น

ตอบคำถามนี้ผิด  แสดงให้เห็นว่าคนไทยยังมีรู้กฎหมายที่เป็นพื้นฐานอีกมาก  ทำ

ให้เราถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนที่รู้กฎหมาย   แล้วคนที่มีฐานะยากจนล่ะ จะเป็น

อย่างไร เขาจะต่อสู้อย่างไรเพื่อที่จะได้รับความยุติธรรม    ถ้าเราสามารถที่จะทำให้

คนไทยรู้กฎหมายพื้นฐานได้กฎหมายจะเป็นสิ่งที่ปกป้องพวกเขา  

 

หมายเลขบันทึก: 49382เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก่อนอื่น เราก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า

"ไม่ใช่ทุกคนที่รู้กฎหมาย

และคนที่รู้กฎหมาย ไม่ใช่ว่าจะรู้และเชี่ยวชาญกฎหมายทุกฉบับ"

ต่อจากนั้นก็ต้องมาปรับทัศนคติของผู้ใช้บังคับกฎหมายให้มีความเป็นมนุษย์มากกว่านี้ คือการมองว่าทุกคนในสังคมมีความเป็นคน เท่าเทียมกันหมด

 

มาเขียนเรียบเรียงใหม่นะคะ จัดระบบความคิดให้ดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท