ข้อคิดจากเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมือง : ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์


ข้อคิดจากเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมืองของ ศาสตราจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เป็นแนวความคิดความเห็นที่อาจารย์ได้นำเอาเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เพื่อศึกษาสังคมการเมืองไทย ถึงแม้ว่าอาจารย์รังสรรค์จะเขียนไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ แต่บทวิเคราะห์ดังกล่าวยังมีคุณค่าและสามารถใช้อธิบายเชื่อมโยงมิติของการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ในยุคปัจจุบันของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ในขณะที่หลาย ๆ ฝ่าย มีความเห็นว่า การปฏิรูปการเมืองเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในภาวะปัจจุบัน ผู้เขียนคิดว่า การวิเคราะห์ของอาจารย์รังสรรค์น่าจะช่วยทำให้เราเข้าใจสังคมการเมืองเชิงเศรษฐกิจและช่วยต่อยอดในการพัฒนาการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในอนาคต 

 

ข้อคิดจากเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมือง

           ในช่วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี้ เศรษฐศาสตร์ได้แผ่ขยายอาณาจักรทางวิชาการไปอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะแต่การนำเสนอบทวิเคราะห์ พฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังรุกล้ำเข้าไปวิ เคราะห์พฤติกรรมและปรากฏการณ์ทั้งทางสังคมและการเมืองอีกด้วย ณ บัดนี้ สำนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Mainstream Economics) มีองค์ความรู้ว่าด้วยสถาบันทางสังคม ดังเช่นสถาบันครอบครัว และการสมรสตลอดจนบท วิเคราะห์ปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคม อื่นๆ ทั้งนี้ด้วยการบุกเบิกของนายแกรี่ เบกเกอร์ (Garry S. Becker) แห่งสำนักชิคาโก ขณะเดียวกัน สำนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักก็มีองค์ ความรู้ว่าด้วยการเมืองและสถาบัน การเมือง ทั้งนี้ ด้วยการบุกเบิกของ นายเจมส์ บูคานัน (James M. Buchanan) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสา ขาเศรษฐศาสตร์ในปี ๒๕๒๙ ณ บัดนี้ เมื่อเรากล่าวถึงเศรษฐศาสตร์การ เมือง (political economy) ไม่เพียงแต่จะมีเศรษฐศาสตร์การเมืองของ สำนักมาร์กซิสม์เท่านั้น หากทว่ายังมีเศรษฐศาสตร์การเมืองของสำนักนีโอคลาสสิกอีกด้วย

 

          ผมสนใจและติดตามข่าวสารการเมืองตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนับเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้วที่ผมพยายามนำเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ศึกษา สังคมการเมืองไทย หลายต่อหลายครั้งที่ผมอ่านบทความหรือฟังการ อภิปรายทางวิชาการว่าด้วยการเมืองไทย ผม มักจะพบว่า ความรู้ความเข้าใจของผมเกี่ยวกับการเมืองไทยไม่ตรงกับผู้รู้จำนวนมากทั้งในสาขาวิชารัฐ ศาสตร์ และนิติศาสตร์ ผมมีความเห็นมาเป็นเวลาช้านานแล้วว่า เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมือง (Economics of Politics) สามารถช่วยให้เราวิ เคราะห์และเข้าใจสังคมการเมืองไทยได้ค่อนข้างดี ดังนั้น จึงอาจจะเป็น ประโยชน์ที่จะประมวลข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมการเมืองไทยจากเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมือง

 

          ข้อคิดเห็นประการแรก เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมืองแยก แยะ ระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่ (what is) กับสิ่งที่ควรจะเป็น (what ought to be) สิ่งที่ควรจะเป็นเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็น ค่านิยม อุดมการณ์และดุลพินิจส่วนบุคคล และมิอาจชี้ผิดชี้ถูกด้วยการหาประจักษ์พยาน ข้อเท็จจริง ความเห็นเกี่ยวกับ "สิ่งที่ควรจะเป็น" จึงมีอยู่อย่างหลากหลาย และไม่สามารถหักล้างกันชนิดเห็นดำเห็นแดง ในขณะที่ "สิ่งที่เป็นอยู่" เป็นเรื่องซึ่งสามารถวิเคราะห์และอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์สังคม ทฤษฎีและอรรถาธิบายว่าด้วย "สิ่งที่เป็นอยู่" หากไม่คงทนต่อการทดสอบกับ ข้อเท็จจริง ก็ต้องล้มหายตายจากไป ความสับสนอันเกิดจากการไม่แยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็น ย่อมทำให้เราหลงประเด็นใน การวิเคราะห์และมิอาจเข้าใจสังคมการเมืองไทยได้โดยถ่องแท้

          ข้อคิดเห็นประการที่สอง เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมืองเริ่มต้นบทวิ เคราะห์ด้วยความเชื่อที่ว่า มนุษย์มีความเห็นแก่ตัว มีกิเลสมีตัณหา และ ต้องการผลประโยชน์ส่วนบุคคลสูงสุด (utility maximization) ความเห็นแก่ตัวและความต้องการผลประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นพฤติกรรมที่สอด คล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ฉันใด หน่วยการเมืองอื่น ๆ ก็มีความเห็นแก่ตัว และความต้องการผลประโยชน์ส่วนบุคคลเฉกเช่นเดียวกัน การวิ เคราะห์สังคมการเมืองไทยจะไม่สอดรับกันทางตรรกวิทยาบนพื้นฐาน เดียวกัน หากเราเริ่มต้นบท วิเคราะห์ด้วยการสมมติว่า นักการเมืองเห็นแก่ตัว ส่วนทหารและนักวิชาการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมในช่วงเวลาเดือนแรกหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ มีเสียงแซ่ซ้องผู้นำฝ่ายทหารเป็นอันมากกว่าเป็นผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ ตั้ง แต่แล้วเพียงชั่วเวลาไม่ช้าไม่นานนัก เสียงแซ่ซ้องดังกล่าวนี้ก็ เงียบ หายไป สิ่งที่เกิดขึ้นมาแทนที่ก็คือความไม่แน่ใจของผู้คนในสยามประเทศเกี่ยวกับความต้องการอำนาจของผู้นำฝ่ายทหาร ในทำนองเดียวกัน นักวิชาการจำนวนมากออกมาก่นด่าความเห็นแก่ตัวของนัก การเมือง แต่นักวิชาการเหล่านี้มักจะทำงานรับใช้เผด็จการทหาร และ เกาะติดกลุ่มทหารที่ทรงอำนาจ โดยหวังลาภยศสักการะและผลประโยชน์ส่วนบุคคลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักการเมืองที่ตนก่นด่า ความเห็นแก่ ตัวเป็นสันดานดิบของมนุษย์ เราจะเข้าใจสังคมการเมืองไทยได้ดีขึ้น หากเราเริ่มต้นบทวิเคราะห์ด้วยข้อสม มติที่ว่า หน่วย การเมืองทุก หน่วย ตัวละครทุกตัว ล้วนแล้วแต่ต้องการผลประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นที่ตั้ง แต่ทั้งนี้หาได้มีความหมายว่า มนุษย์ไม่มีความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเลย

          ข้อคิดเห็นประการที่สาม ในเมื่อมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคลมีความ เห็นแก่ตัว พรรคการเมืองและรัฐบาลล้วนแล้วแต่ประกอบไปด้วยบุคคล ที่มีความเห็นแก่ตัว เพียงแต่เมื่อรวมตัวเป็นกลุ่มบุคคล สมาชิกของกลุ่ม จำเป็นต้องประนีประนอมผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน มิฉะนั้น กลุ่มที่เรียกว่าพรรคการเมืองดี หรือรัฐบาลที่ดี มิอาจรวมตัวอยู่ได้ พรรคการเมือง และรัฐบาลที่มีพื้นฐานมาจากความเห็นแก่ตัว ย่อมมิได้กระทำการเพียงเพื่อประโยชน์สุขของสังคมโดยส่วนรวม (social welfare maximization) หากแต่กระทำการและละเว้นการกระทำการเพื่อผลประโยชน์ ของตนเอง ดังนั้น เราจะเข้าใจพฤติกรรมของพรรคการเมืองและรัฐบาล ในระบอบประชาธิปไตยได้ดีขึ้น หากเราเริ่มต้นบทวิเคราะห์ว่าเป้า ประสงค์ของพรรคการเมืองและรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ก็คือ การ แสวงหาคะแนนนิยมสูงสุดทางการเมือง (vote gains maximization) ด้วยข้อสมบัติพื้นฐาน ดังกล่าวนี้ เราจะเข้าใจพฤติกรรมของพรรคการเมืองและรัฐบาลได้ดีขึ้น

             ข้อคิดเห็นประการที่สี่ ระบอบประชาธิปไตยมิใช่ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน หากแต่เป็นระบอบการ ปกครองของกลุ่มผลประโยชน์ โดยกลุ่มผลประโยชน์ และเพื่อกลุ่มผล ประโยชน์ พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีฐานทาง การเงินเพราะการรณรงค์ทางการเมืองมีรายจ่ายที่ต้องเสีย รายจ่ายทาง การเมืองจะมีมากเป็นพิเศษในฤดูการเลือกตั้ง แม้ในยามปกติก็ยังมีรายจ่ายที่ต้องเสีย มิเฉพาะแต่ในการดำเนินการของสำนักงานพรรค หากยังครอบคลุมถึงรายจ่ายในการสร้างความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับประชาชนที่มีสิทธิในการเลือกตั้งอีกด้วย ด้วยเหตุดังนั้น พรรคการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยจึงต้องผูกสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด หรือหลายกลุ่ม การที่กลุ่มผลประโยชน์เข้าไปเป็นฐานการเงินของพรรค การเมืองต่างๆ นับเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้น สามารถเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในกระบวนการกำหนดนโยบาย ทั้ง ในการทัดทานนโยบายที่ขัดผลประโยชน์ และในการผลักดันนโยบายที่ได้ ผลประโยชน์ รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องตอบแทนกลุ่ม ผลประโยชน์ที่เป็นฐานการเงินของตน ทั้งๆ ที่นโยบายที่เกื้อประโยชน์ของกลุ่ม ผลประโยชน์บางกลุ่มอาจเป็นนโยบายที่ลิดรอนสวัสดิการสังคมก็ ตาม

           ข้อคิดเห็นประการที่ห้า กลุ่มผลประโยชน์แต่ละกลุ่มมีบทบาทและ อิทธิพลในกระบวนการกำหนดนโยบายแตกต่างกัน บางกลุ่มมีมาก บา งกลุ่มมีน้อย ทั้งนี้กลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่อาจมีบทบาท และอิทธิ พลน้อยกว่ากลุ่มผลประโยชน์ขนาดเล็ก การรวมกลุ่ม ผลประโยชน์ มีต้นทุนที่ต้องเสีย ซึ่งเรียกว่า ต้นทุนปฏิบัติการ (transaction cost) หากต้นทุนนี้สูงเกินกว่าที่สมาชิกของกลุ่มจะแบกรับได้ กลุ่มผลประโยชน์ นั้นๆ ย่อมไม่สามารถผลักดันนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรวมกลุ่มของชาวนานับเป็นตัวอย่าง ของความข้อนี้ โดยทั่วไปแล้ว การรวม กลุ่มของชาวนาไทยเพื่อเดินขบวน เจ้าของโรงสีหรือนักการเมืองมักจะ เป็นผู้รับภาระต้นทุนในการเดินขบวน หากมีประโยชน์โภคผลใดๆ อัน เกิดจากการเดินขบวน ผลประโยชน์มักจะตกแก่ เจ้าของโรงสีหรือนักการ เมืองเหล่านั้น นอกจากนี้ กลุ่มผลประโยชน์ที่มีขนาดใหญ่มากเกินไปยัง เปิดช่องให้มีการ "ตีตั๋วฟรี" (free rider) กล่าวคือ อยากได้ประโยชน์ แต่ ไม่ต้องการร่วมรับภาระต้นทุนปฏิบัติการ การที่กลุ่มมีขนาดใหญ่มากจน เกินไป ทำให้สมาชิกของกลุ่มสามารถสงวนท่าทีในการร่วมรับภาระต้น ทุนของการรวมกลุ่มได้ เพราะถ้าหากมีผู้รับภาระรายจ่ายดังกล่าวแล้ว คนอื่นๆก็จะได้ ประโยชน์จากการรวมกลุ่มด้วย สภาพการณ์ที่มีการ "ตี ตั๋วฟรี" ดังกล่าว นี้ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่ไม่สามารถรวมตัว กันอย่างเหนียวแน่น ดังนั้น กลุ่มผลประโยชน์ขนาดเล็กจึงมักมีประสิทธิ ผลในการผลักดันนโยบายมากกว่ากลุ่มขนาดใหญ่ เพราะไม่เพียงแต่จะไม่เปิดช่องให้มีการ "ตีตั๋วฟรี" เท่านั้น หากทว่าต้นทุนการรวมกลุ่มยังต่ำ กว่าอีกด้วย และนี่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่า เหตุใดกลุ่มชาวไร่อ้อยจึง สามารถผลักดันนโยบายอย่างมีประสิทธิผลมากกว่ากลุ่มชาวนา

           ข้อคิดเห็นประการที่หก ประชาชนผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรมีพฤติกรรมและมีการใช้ลำดับแห่งเหตุผลในเชิงเศรษฐศาสตร์ (economic rationality) กล่าวคือ มีความต้องการอรรถประโยชน์สูงสุด (utility maximization) พฤติกรรมของประชาชนผู้มีสิทธิ ในการเลือกตั้งจึงเป็นไปเพื่อแสวงหาอรรถ ประโยชน์สูงสุด การกระทำการใดๆ เกิดจากการประเมินเปรียบเทียบ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ (exp ected benefits) กับต้นทุนที่คาดว่าต้องสูญเสียไป (expected cost) จากการกระทำนั้นๆ การตัดสินใจในการใช้สิทธิการเลือกตั้ง มิได้ แตกต่างจากการตัดสินใจในเรื่องอื่นๆ เพราะการใช้สิทธิในการเลือกตั้งมี ต้นทุนที่ต้องเสีย ประชาชนจะใช้สิทธิในการเลือกตั้งก็ต่อเมื่อประโยชน์ที่ คาดว่าจะได้มีมากกว่าต้นทุนที่คาดว่าต้องเสียไปในการใช้สิทธิดังกล่าว การนอนหลับทับสิทธิ์จึงเป็นเรื่องธรรมดา และมิใช่เรื่องที่จะต้อง ประณามกัน หากรัฐบาลไม่ต้องการให้ราษฎรนอนหลับทับสิทธิ์ รัฐบาลจัก ต้องดำเนินการลดต้นทุนในการใช้สิทธิการเลือกตั้ง และ/หรือหาทางเพิ่ม พูนประโยชน์จากการใช้สิทธิดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดสิทธิการ เลือกตั้งของราษฎร ราษฎรที่มีสิทธิการเลือกตั้งย่อมมีกรรมสิทธิ์ในสิทธิ ดังกล่าว กรรมสิทธิ์ในสิทธิการเลือกตั้งสามารถใช้ไปเพื่อผลประโยชน์ ส่วนบุคคลได้ โดยที่มีสภาพไม่แตกต่างจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ประเภทอื่นๆ ผู้คนที่สนับสนุนระบอบการปกครองประชาธิปไตยมักจะตั้งความหวังว่า ราษฎรจะใช้สิทธิการเลือกตั้งในการเลือกผู้แทนราษฎรที่ดีที่อุทิศ ตนเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม ในแง่นี้การใช้สิทธิการเลือกตั้งมี สภาพเสมือนหนึ่ง การแลกเปลี่ยนคะแนนเสียงทางการเมืองกับนโยบาย หรือ "บริการความสุข" ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเสนอหรือสัญญาว่าจะให้ ดังนั้น จึงมิใช่เรื่อง น่าประหลาดใจที่ราษฎรเลือกผู้แทนที่ "อุปถัมภ์" ตน และครอบครัวเป็นการส่วนตัว และที่สามารถดึงโครงการพัฒนาเข้าสู่หมู่บ้านได้ แต่ถ้าหากสัญญาเกี่ยวกับ "บริการความสุข" หรือนโยบายเป็น เพียงสัญญาลมๆ แล้งๆ ก็มิใช่เรื่องน่าประหลาดใจอีกเช่นกันที่ราษฎรจะ แลกคะแนนเสียงกับเงิน สิ่งที่พึงวิเคราะห์ต่อไปก็คือ มีข้อจำกัดทาง กฎหมายและข้อจำกัดทางสถาบันอะไรหรือไม่ ที่ทำให้สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรไม่สามารถมีบทบาทในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของราษฎร

          ข้อคิดเห็นประการที่เจ็ด นักการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มิได้มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมในแง่ ที่เป็น สัตว์เศรษฐกิจที่ต้องการอรรถประโยชน์สูงสุด เป้าหมายสูงสุดของนัก การเมืองก็คือ การมีอำนาจการเมืองการปกครอง การได้มาซึ่งอำนาจดัง กล่าวจะเป็นไปด้วยความชอบธรรมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกติกาและสถาบัน สังคม ตลอดจนความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของนักการเมืองแต่ละคนนั้นเอง บางครั้งความต้องการ อำนาจการเมืองการปกครองอาจผลักดันให้มีการ ซื้อเสียงในการเลือกตั้ง การเลือกพรรคการเมืองที่สังกัดก็ดี และการตัด สินใจย้ายพรรคก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากการประเมินความเป็นไปได้ที่ จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและในการได้มาซึ่งอำนาจการเมืองการปกครอง นักการเมืองจะไม่ลังเลที่จะกระทำการใดๆ เพื่อเพิ่มพูนคะแนน นิยมทางการเมือง หากประโยชน์จากการกระทำดังกล่าวมีมากกว่าต้น ทุนที่ต้องสูญเสียไป การผัน งบประมาณแผ่นดินลงสู่เขตการเลือก ตั้ง นับเป็นอุทาหรณ์อันดี เพราะการกระทำดังกล่าวนี้ช่วยเพิ่มพูน คะแนนนิยมทางการเมือง โดยที่ภาระรายจ่ายตกแก่ประชาชนผู้เสียภาษีอากร การแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรี หรือตำแหน่ง ข้าราชการการเมืองอื่นๆ รวม ตลอดทั้งตำแหน่งกรรมาธิการชุดสำคัญในสภาผู้แทนราษฎร ล้วนแล้วแต่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพราะตำแหน่งเหล่านี้ช่วยให้ได้มาซึ่งเงินได้และอำนาจ

         ข้อคิดเห็นประการที่แปด ความเฟื่องฟูของธุรกิจการเมืองในสังคม การเมืองไทยเป็นปรากฏการณ์ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ในเมื่อระบอบประชาธิปไตยในสังคมการเมืองไทยเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับพัฒนาการของ ระบบทุนนิยม และในเมื่อเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจของสังคมไทย เกื้อกูลต่อการเติบโตของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ จึงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่กลุ่มทุนแผ่ขยายอิทธิพลไปสู่อาณาจักรทางการเมือง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการกำหนดนโยบาย

 

 

  อ้างอิงจาก

             รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (๒๕๔๔). คู่มือการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร :โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. หน้า. ๓๔๕ – ๓๕๒.    

 

 

   

หมายเลขบันทึก: 493484เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท