นายสายหมอก
นาย เฉลิมเกียรติ สายหมอก ตะดวงดี

"ชุมชนข้ามพรมแดน” กับคนเวียดนามในประเทศไทย


ชุมชนข้ามพรมแดน เวียนามในไทย คนญวนในไทย

"ชุมชนข้ามพรมแดน” กับคนเวียดนามในประเทศไทย

ประวัติศาสตร์การต่อสู่ประเทศเวียดนาม

 

“ชาวเวียดนามเป็นชนชาติที่รู้จักปรับตัวและประสานประโยชน์เป็นเลิศ

ด้วยสำนึกความเป็นชาติอันสยบมหาอำนาจได้”(สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์ หน้า 15 : 2549)

 

ต้นทศวรรษ 1400 เวียดนาม ถูกจีนปกคลองและมีการต่อต้านการปกครองโดยจีน นับพันปีในบางช่วงของถูกปกครองเสมือนจังหวัดหนึ่งของจีน จีนครอบงำทางวัฒนธรรมในเวียดนาม พุทธถูกแทนที่ด้วยขงจื้อ อิทธิพลทางวัฒนธรรมจีนมีมาก โดยเฉพาะในหมู่ขุนนาง สำหรับประชาชนมีไม่มากนัก เพราะติดต่อกับอารยธรรมจำปาและเขมรมากขึ้น อพยพลงใต้มากขึ้น

- อาณาจักรแรกของชาวเวียดนาม คืออาณาจักร นามเวียด (อาณาจักรทางตอนเหนือ)     เป็นเป็นเมืองขึ้นของจีนมานาน ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่เดี่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่  แม้ต่อมาอาณาจักรนามเวียดจะเป็นอิสระแต่ก็ยังคงส่งเครื่องบรรณาการส่งให้จีน (จีนถือว่านามเวียดเป็นเมืองประเทศราช)

- ทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศเวียดนามในอดีตเป็นที่ตั้งของอาราจักรจามปา(พวกจาม ซึ่งปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม)

 

กษัตริย์ของเวียดนามมีอำนาจอยู่เพียงส่วนกลางและถูกคานด้วยอำนาจของหมู่บ้าน มีความเป็นอิสระของหมู่บ้านการครองครอบเขมรได้ทำให้ชาว “เวียต” (Viet)   และชาวจีนอพยพลงไปทางใต้มากขึ้นเนื่องจากครั้งหนึ่งฝรั่งเศสมีส่วนช่วยให้กษัตริย์องค์หนึ่ง ได้ขึ้นสู่อำนาจ ถึงได้รับสิทธิพิเศษหลายประการ ทั้งการเผยแพร่ศาสนา การจัดการศึกษา และการจัดระบบอื่นๆ ในระดับท้องถิ่น

                 ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในเวียดนามในช่วง ศตวรรษที่ 1600 โดยเข้ามาทำการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส และชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexandre de Rhodes ได้เข้ามาพัฒนาภาษาเวียดนามที่เดิมใช้ตัวอักษรจีน มาใช้ตัวอักษรโรมันแทน (โดยพัฒนาต่อจากมิชชั่นนารีชาวโปรตุเกสที่เริ่มไว้ก่อหน้า) และในสมัยราชวงศ์เหงียนจึงมีข้อขัดแย้งกันทางศาสนาซึ่งเดิมชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ ขงจื้อ  ในช่วงปี ค.ศ. 1859-1867 ฝรั่งเศสได้เริ่มยึดครองเวียดนาม

                ในสมัยราชวงศ์เหงียน เวียดนามถูกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2427  ทำให้ประเทศถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ภาคเหนือเป็นแคว้นตังเกี๋ย ภาคกลางเป็นแคว้นอันนัม และภาคใต้เป็นแคว้นโคชินไชนา (โคชินจีน) และถูกรวมเข้ากับเขมร และลาว เรียกว่าสหพันธ์อินโดจีน (Indochinese Federation) ในปี ค.ศ. 1893

                ในช่วงที่เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสได้พัฒนา หลายสิ่ง ทั้งด้าน การศึกษา การเกษตร ระบบเมือง ระบบถนน การสาธารณสุข มีการส่งสินค้าการเกษตรมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับฝรั่งเศส

               ในช่วงที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ก็ได้เริ่มมีบางกลุ่มที่เริ่มต่อต้าน และต้องการปกครองของฝรั่งเศส นั้นก็คือกลุ่มของโฮจิมินห์ (กลุ่มเวียดมินห์ Viet Minh)

 

ยุคหลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส และ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามมหาเอเชียบูรพา)

            เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝากทางเอเชีย)ญี่ปุ่นได้ยกกำลังเข้ายึด        อินโดจีนของฝรั่งเศส และได้ประกาศยกเลิกอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2483  (ค.ศ.1940) พร้อมกับได้มอบหมายให้จักรพรรดิเบ๋าได๋ของเวียดนาม ประกาศอิสรภาพ และจัดตั้งรัฐบาลเวียดนามขึ้นปกครองประเทศ

            ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะยึดอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ในเวียดนามได้มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส ที่สำคัญอยู่ขบวนหนึ่งเรียกว่า สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม หรือเวียดมินห์ (Viet Minh) ผู้ก่อตั้งขบวนการนี้คือ          โฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) ขบวนการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะแยกสลายศัตรู และรวมพลังต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อที่จะพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และปลดปล่อยประชาชน  ฐานที่มั่นของขบวนการนี้อยู่ที่ เวียดบัค       (Viet Bac) และขบวนการดังกล่าว ได้กลายมาเป็น กองทัพประชาชนของเวียดนามในเวลาต่อมา ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นยึดครองเวียดนาม ครั้นสงครามมหาเอเชียบูรพานั้น จีนและสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความช่วยเหลือขบวนการนี้ เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้โฮจิมินห์สามารถก่อตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นทั่วประเทศ

            เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง(สงครามโลกครั้งที่ 2) ในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945)ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จักรพรรดิเบาได๋ได้สละราชสมบัติ และมอบอำนาจการบริหารให้แก่ฝ่ายเวียดมินห์                ฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีอังกฤษเป็นฝ่ายสนับสนุน ให้ฝรั่งเศสกลับเข้ามามีอำนาจในเวียดนามอีก โฮจิมินห์ได้ประกาศทำการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธอย่างเปิดเผย โดยได้ประกาศอิสรภาพ และสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม และโคชินไชน่าขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2488 โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวง และโฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี  

          จากข้อมูลประวัติศาสตร์ของประเทศเวียดนามจะเห็นได้ว่า มีความเชื่อมโยงต่อการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาวเวียดนาม หรือชาวญวน  โดยกลุ่มชาวเวียดนาม ได้มีการอพยพไปตามพื้นที่ ต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้ง อเมริกา แคนาดา ยุโรป และพื้นที่ รอบ ๆ แทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศลาว กัมพูชาและประเทศไทย

 

ชาวเวียดนามอพยพในประเทศไทย

          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏว่า ชาวเวียดนามเริ่มอพยพเข้ามาอาศยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยสมเด็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อชาวญวน (เวียดนาม) ได้อพยพเข้ามาเพื่อตั้งถิ่นฐานในหลายจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ระยอง ชลบุรี อยุธยา กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เข้ามาด้วยเหตุผลอยู่ 2 ประการ คือ             หนีภัยทางการเมืองและศาสนาในเวียดนาม และการถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยสงคราม (สงครามระหว่างไทย – เวียดนาม ในสมัยรัชการที่ 3 ) จากการที่ชาวเวียดนามอพยพและถูกกวาดต้อนเหกล่านี้ ได้ก่อให้เกิดการผสมกลมกลืนทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมระหว่างชาวไทยและชาวเวียดนามในที่สุด (ศูนย์การศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 33 : 2546)

          ในสมัย พระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาด้วยสาเหตุจาก ปี พ.ศ. 2313 ได้เกิดขบถขึ้นในเขตอันนัมเพื่อโค่นล้มอำนาจพี่น้องตระกูล เหงียน” โดย ชาวเวียดนามได้อพยพเข้ามาโดย พระเจ้าตากสิน ได้พระราชทานที่ดินตอนถนนพาหุรัด ให้ และเรียกว่า บ้านพาหุรัด (ถนนพาหุรัด ในปัจจุบัน)

          ในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ได้ให้การอุปถัมภ์ อง เชียง สือ หรือ เหงียน อานห์ ผู้นำตะกูลเหงียน ขุนศึกทางโคชินจีน  ในช่วงนั้นกำลังแข่งขันช่วงชิงอำนาจกับตระกูลตรินห์ (Trinh) ในช่วงที่เหงียน อานห์ อาศัยอยู่ในเมืองไทย บรรดาชาวเวียดนาม ที่ติดตาม ต่างก็ได้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ ภาษาของไทย จนสามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว

          ในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2363 ฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามทั้งหมดและใช้อำนาจปกครองแบบกดขี่ ในฐานนะเป็นเมืองขึ้น และประกอบกับประเทศเวียดนามในขณะนั้น ประสบกับภาวะขาดแคลนมาก ได้มีคนเวียดนามเป็นจำนวนมากอพยพหนีกระจัดกระจายเข้าไปอยู่ในประเทศลาว และบางาส่วนหนีเข้ามาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเข้ามาอาศัยอยู่แถบจังหวัด อุบลราชธานี นครพนม สกลนคร อุดรธานีและหนองคาย แต่มีจำนวนไม่มากนัก  และมีชาวเวียดนามที่อพยพมาอาศัยในประเทศกัมพูชา และเข้ามาประเทศไทยในแถบพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สระแก้วและปราจีนบุรี

          ในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 หลังจากที่ ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2488 พรรคเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ได้โอกาสเข้าปกครองตอนเหนือของประเทศภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ และในปีถัดมา พ.ศ. 2489 ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองแถบอินโดจีนอีกครั้ง ฝรั่งเศสได้บุกเข้ายึดประเทศเวียดนามอีกครั้ง ทำให้ กลุ่มเวียดมินห์และ ชาวเวียดนามจำนวนหนึ่งต้องอพยพ ข้ามประเทศกัมพูชาลาว และแม่น้ำโขง เข้ามาประเทศไทย โดยผ่านเส้นทางดังนี้

  1. จากเวียงจันทร์ มาอยู่ที่จังหวัด หนองคายและอุดรธานี
  2. จากแขวงคำม่วน (ท่าแขก) เข้ามาอยู่ที่จังหวัดนครพนมและสกลนคร
  3. จากแขวงสุวรรณเขต เข้ามาอยู่ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร
  4. จากแขวงปากเซ เข้ามาอยู่ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
  5. จากจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นดินแดนของไทย) เข้ามาอยู่ อำเภออรัญประเทศ และอำเภอเมืองปราจีนบุรี

          ในช่วงสงคราม อินโดจีน พ.ศ. 2488 เป็นการอพยพ ของกลุ่มคนเวียดนามที่ มีจำนวนมากที่สุดที่อพยพเข้ามา ในประเทศไทย อพยพเข้ามาทางเรือ โดยได้เข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา          อยู่ที่เกาะเปริต อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี  และที่จังหวัดสงขลา

 

          กล่าวโดยสรุป ชาวเวียดนามในประเทศไทย  จากข้อมูลพบว่า ลักษณะของคนเวียดนามที่อยู่ในเมืองไทย โดยมีชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีอาศัยอยู่ 13 จังหวัด ได้แก่ นครพนม มุกดาหาร หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี ยโสธร สกลนคร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู สระแก้ว ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี และพัทลุง (วิภาวินี  คำมาเรือน หน้า 71: 2550) มีลักษณะดังนี้

          ด้านเศรษฐกิจ ชาวเวียดนาม จะมีลักษณะเด่น คือ ความขยันขันแข็งและอดทนเป็นพิเศษ แม้แต่คนจีนในประเทศไทยเอง ยังยอมรับว่า คนเวียดนามมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ  มากกว่าตน  อีกทั้งในเรื่องของความรู้สึกชาตินิยม และความอดทนแล้ว ไม่มีชาติใดในเอเชียที่เหนือกว่าคนเวียดนาม

          คนเวียดนามที่เข้ามาในเมืองไทย มีการเข้ามารปะกอบอาชีพที่หลากหลาย เนื่องจากรัฐบาลไทย       ไม่หวงห้ามและให้สิทธิในการประกอบอาชีพอย่างเสรี เป็นผลให้ คนเวียดนามสามารสร้างฐานนะของความเป็นอยู่ในครอบครัวได้  ลักษณะของอาชีพของคนเวียดนามส่วนใหญ่ คือ การเกษตร งานช่างฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างเชื่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ช่างนาฬิกา ช่างเย็บเสื้อผ้า ช่างยนต์  พนักงานเสิร์ฟ  รับจ้างทั่วไป  เป็นต้น

          ด้านสังคม ชาวเวียดนาม จะมีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ในท้องถิ่นที่พักอาศัย มีการติดต่อคบค้ากับคนเวียดนาม อย่างใกล้ชิด  และการคบค้าสมาคมกับคนไทยนั้น  จะมีการติดต่อ เพื่อการเห็นว่ามีลักษณะ การก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองเท่านั้น

          ในเรื่องการแต่งงาน คนเวียดนามจะแต่งงานกับชายเวียดนามด้านกันเอง  และในช่วงแรก ๆ ของคนเวียดนามที่อยู่ในเมืองไทย นั้น ก็มีความพยายามที่จะให้ลูกของตนเป็นบุตรบุญธรรมของคนไทย เพื่อทำให้ได้สัญญาติไทย  อย่างไรก็ตาม ลักษณะของคนเวียดนามในยุคแรกที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย นั้น จะคบค้าสมาคมกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของไทย เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์ของตน เพียงเท่านั้น

          เฉลิมชัย ผิวเรือนนท์ ได้แยกลักษณะการแสดงออกของคนเวียดนาม ได้ดังนี้

  1. ใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬา โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ชายและหญิง อย่างชัดเจน เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นต้น โดยมีนัยยะ คือการเล่นกีฬาเพื่อปลูกฝังความสามัคคีในหมู่ของ คนเวียดนามด้วยกันเอง
  2. มีการจัดงานแสดงออก ซึ่งพลังความสามัคคีในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วัดเกิดของโฮจิมินห์  วันชาติ วันตรุษ ต่างๆ ของชุมชน
  3. หากมีวันสำคัญทางราชการของเวียดนาม คนเวียดนามจะหาโอกาสไปร่วมงาน เพื่อแสดงตนเป็นผู้ที่มีความหมาย เป็นผู้ที่ทางราชการไทยยอมรับ และเป็นสัญลักษณ์ของคนเวียดนาม

โดยคนเวียดนาม ได้ปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่บุตรหลานของตนอยู่เสมอ เช่น การเปิดโรงเรียนสอนภาษาเวียดนามให้ชาวเวียดนาม เพื่อไม่ใช้ลืมภาษาประจำชาติ  การปลูกฝังความรักชาติ และเคารพบูชาโฮจิมินห์ เป็นต้น

          ด้านภาษา ชาวเวียดนาม ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ  มีเพียงส่วนน้อย ที่นับถือศาสนาคริสต์  ซึ่งคนเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์ ในไทย ก็จะอยู่ในเขตพื้นที่ สามเสนของกรุงเทพมหานาคร และคนเวียดนามที่ อาศัยอยู่อำเภอท่าแร่ จังหวัด สกลนคร  ด้านลักษณะพิธีกรรมของคนเวียดนามจะมีลักษณะการไหว้คล้ายกับคนจีน และวันตรุษเวียดนาม   เป็นวันเดียวกันกับตรุษจีน โดยการประกอบพิธีทางศาสนาจะรวมกันในหมู่คนเวียดนาม เท่านั้น

          ด้านการศึกษา  คนเวียดนามส่วนใหญ่ จะให้การศึกษาแก่บุตรหลานของตน โดยในอดีต คนเวียดนามจะมีการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เปิดสอนหนังสือขึ้นตามบ้านของตนเอง  โดยไม่อนุญาตตามกฎหมายแต่อย่างใด  มีการสั่งสอน อบรม ปลูกฝังให้ลูกหลานของตน เกิด ความภูมิใจตนเอง ว่าเป็นคนเวียดนาม

          นอกจากนี้ ก็ยังมีคนเวียดนามที่เกิดในเมืองไทย เข้าเรียนหนังสือตามโรงเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะ  อย่างยิ่งในโรงเรียน ราษฎร์  ส่วนการจัดการศึกษาของคนเวียดนาม นั้น  คนเวียดนาม ก็จะยังคงเรียนภาษาเวียดนามพื้นฐาน

          ด้านการเมืองการปกครอง ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ยังมีความผกพันกับการเมืองการปกครองของเวียดนามอย่างใกล้ชิด โดยกลุ่มคนเวียดนามที่อยู่ในเมืองไทย สามรถแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้     กลุ่มแรก กลุ่มที่ เคารพวีรกรรมของโฮจิมินห์อย่างฝังใจ และเชื่อในตัวเองและการกู้ชาติของโฮจิมินห์  และยังต้องการกลับไปอยู่ในประเทศเวียดนามอีกครั้งและกลุ่มที่สอง กลุ่มที่มีทัศนคติและพฤติกรรมนิยมชมชอบประเทศไทยและคนไทย มีความปรารถนา จะอาศัยอยู่ในประเทศไทย ตลอดไป โดยคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ จังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย และ อุดรธานี

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              

ปัญหาชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศไทย

          จากที่คนเวียดนามอพยพหนีสงครามเข้ามาในประเทศไทย ช่วงตั้งแต่ กลาง ทศวรรษ 1940 – กลาง ทศวรรษ 1950 และช่วงสงครามเตียนฟูในกลาง ค.ศ. 1950 ที่ชาวเวียดนามอพยพเข้ามาตามแนวชายแดน  ของประเทศไทย ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น โดยในช่วงดังกล่าวประเทศไทยได้ปกครองโดยระบบรัฐบาลทหาร มีนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์ จึงมองว่าชาวเวียดนามเป็นภัยคุกามต่อความมั่นคงภายในของประเทศไทย อีกทั้งทางการเวียดนามไม่ยอมรับชาวเวียดนามที่อพยพกลับประเทศเนื่องจากเกรงว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้จะสนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์หรือฝ่ายเสรีนิยมจะนำความไม่มั่นคงมาสู่ระบบสังคมนิยมในเวียดนามได้ ดังนั้นคนกลุ่มดังกล่าวจึงกลายเป็นคนไร้สัญชาติ

          ปัญหาชาวเวียดนามอพยพนี้ได้ถูกหยิบขึ้นมาในสมัยรัฐบาลของพลเอกชาติชาย  ชุนหะวัณ อีกทั้งเป็นประเด็นที่ทั้งฝ่ายเวียดนามและไทยให้ความสำคัญ ในการเยือนระหว่างกันมีการเจรจากันในเรื่องนี้ อยู่เสมอ เนื่องจากฝ่ายเวียดนามไม่ได้แสดงท่าทีหรือมีมาตรการที่จะรับคนเหล่านี้กลับประเทศเวียดนาม อีกทั้งประเทศไทยก็มีท่าทีจะไม่แบกรับภาระปัญหาดังกล่าว ในบางครั้งส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์       ในระหว่างทั้งสองประเทศ

          ในสมัยรัฐบาลนายอานันท์  ปันยารชุน เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งทัศนคติของหน่วยงานไทยที่มีต่อชาวเวียดนามที่อยู่ในภาคอีสานได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีและให้การยอมรับมากขึ้น อันแสดงให้เห็นถึงการลงในความหวดระแวงระหว่างกัน ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจระหว่างสองประเทศที่มีต่อกันและในการแก้ไขปัญหาเวียดนามอพยพร่วมกัน โดยมีการกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ต่อชาวเวียดนามอพยพ ในปี 2535 – 2538 และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ปี 2538 – 2540 โดยให้ผสมกลมกลืนชาวเวียดนามที่อยู่ในสังคมไทยเป็นเชื้อสายญวน เช่นเดียวกับเชื้อสายจีน ในปี 2543 การแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็ได้มอบให้สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครองได้ดำเนินการ ปัญหาดังกล่าว ทำให้สถานะของชาวเวียดนามอพยพที่เข้ามาในประเทศไทย ระหว่าง 2488 – 2489 ได้กำหนดให้เป็นผู้เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2547 และบุตรหลานชาวเวียดนามอพยพ รัฐบาลไทย ได้ให้สัญชาติแก่บุญหลานชาวเวียดนามอพยพที่เกิดในประเทศไทย ในวันที่ 17 มีนาคม 2535 และโดยการออกนอกพื้นที่จังหวัดที่ได้กำหนดไว้ ทั้ง 13 จังหวัด คนเวียดนามจะต้องขออนุญาตต่ออำเภอก่อน (วิภาวินี  คำมาเรือน หน้า 71-72 : 2550)

กล่าวโดยสรุป จาการที่ชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในเมืองไทย โดยสามารถ แบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ รุ่น บิดามาดา รุ่นลูกและรุ่นหลาน รัฐบาล และคนไทยบางกลุ่มมองว่า เป็นภัยคุกคามของประเทศนั้น ๆ เนื่องจาก ในช่วงเวลานั้น คนเวียดนามบางกลุ่มเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ที่ดำเนินกิจกรรม     ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทย นอกจากนนี้ยังมีนโยบายกีดกันและการผลักดันให้กลุ่มชาวเวียดนาม ที่อยู่ในเมืองไทยกลับประเทศ จนมีการช่วยเหลือกันระหว่างรัฐบาลเวียดนามและรัฐบาลไทย       จนกลุ่มคนเวียดนามได้รับสัญชาติไทย ที่คล้ายกับ ชาวจีน ที่อพยพเข้ามาในเมืองไทย เรียกว่า                 “คนไทยเชื้อสายญวน”

 

นับตั้งแต่ ปลายสมัยอยุธยา ที่ ชาวญวน หรือชาวเวียดนาม ที่อพยพเข้ามา อยู่ในเมืองไทย โดยในแต่ละช่วง ก็มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาในลักษณะของผู้ลี้ภัย โดยชาวเวียดนามที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย มีการเข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่มีกลุ่มคนเวียดนาม ที่เคยอยู่มาก่อน ดังจะเห็นได้จากในพื้นที่ จังหวัด นครพนม หนองคาย อุดรธานี และ อุบลราชธานี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มคนเวียดนาม ที่อพยพเข้ามา มีการติดต่อกันระหว่าง คนเวียดนาม ที่อยู่ในประเทศ และกลุ่มคนเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทย และ ในพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ที่อาศัยกันมากที่สุดของประเทศ โดยงานวิจัยของ เฉลิมชัย  ผิวเรืองนนท์ ยังแสดงให้เห็นว่า ในช่วงที่กลุ่มชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในเมืองไทย ช่วงพ.ศ. 2522 นั้น มีกลุ่มคนไทย ส่วนหนึ่งมีทัศนคติไม่ตีต่อคนเวียดนามที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และอีกทั้ง รัฐบาลไทยก็มีนโยบาย ต่อต้านการเข้ามาของชาวเวียดนามอพยพ โดยใช้นโยบายการกีดกันและการผลักดันออกนอกประเทศ ซึ่งมีความ สอดคล้อง กับงานวิจัยของ Skinner ที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนกับชาวท้องถิ่น ในแต่ละประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพิจารณาจากบริบททางประวัติศาสตร์ ในการอธิบายปัจจัย ที่ทำให้ชาวจีนในบางประเทศ แต่งงานกับคนท้องถิ่น และกลายเป็นคนท้องถิ่น (assimilation) ในขณะที่ชาวจีนในประเทศอื่น ๆ ยังคงรักษาวัฒนธรรมเดิม ส่งผลให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมขึ้นใหม่จาการผสมผสาน วัฒนธรรมท้องถิ่น เข้ากับวัฒนธรรมเดิม (creolization)

ในกรณีของกลุ่มชาวเวียดนามในประเทศไทยเช่นเดียวกัน จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ลักษณะของชาวเวียดนาม นอกจากจะมีการปรับตัวเข้ากับ ลักษณะท้องถิ่นใหม่แล้ว ก็ยังคงมีการรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้ เช่นการแสดงออก การเข้าร่วมงานของชาวเวียดนามเอง วันตรุษ การใช้ภาษา การรักษาภาษาถิ่นเดิม อีกทั้ง ยังคงมีการแต่งงานกับกลุ่มชาวเวียดนามด้วยกันเอง มีการติดต่อกันระหว่างกลุ่มคนเวียดนาม อีกทั้งกลุ่มคนเวียดนามที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ยังมีการค้าขายและการติดต่อระหว่างกันเนื่องจาก รัฐบาลไทยไม่ได้จำกัดในการประกอบอาชีพของกลุ่มคนดังกล่าว  นอกจากนนี้ยังเป็นการแสดงถึงความรักชาติและการเคารพต่อ โฮจิมินห์ ซึ่งเป็นผู้ก่อการปฎิวัติประเทศเวียดนาม อีกด้วย

          จากการที่ชาวเวียดนามที่ อาศัยอยู่ในเมืองไทย เกิดปัญหาการถูกผลักดันให้กลับประเทศ แต่ประเทศเวียดนามก็ไม่ได้ให้สัญชาติกลับคืน กลุ่มชาวเวียดนาม จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้าท้องถิ่นใหม่ เช่น การยอมแต่งงานกับคนไทย การให้ลูกหลานชาวเวียดนาม เป็นบุตรบุญธรรมชองคนไทย และการเข้าเรียนภาษาไทย เป็นต้น เพื่อที่จะยกสถานภาพให้เทียบเท่ากันกลุ่มคนไทย อีกทั้งยังเป็นการ ปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นใหม่          ดังจะสอดคล้องกับงานวิจัยของ Skinner ที่ ชาวจีนแถบประเทศไทยและกัมพูชา พยายามปรับตัวให้เข้ากลับท้องถิ่นใหม่ และพยายามยกสถานภาพของตนเอง อีกทั้ง ยังมีการจัดการกันระหว่างรัฐต่อรัฐที่พยามเข้ามาแก้ปัญหา จนในที่สุด มีการออกกฎหมายเพื่อ รับสถานภาพของกลุ่มคนเวียดนาม ที่อาศัยในเมืองไทย “คนไทยเชื้อสายญวน”

จะเห็นได้ว่า การที่กลุ่มชาวเวียดนาม เข้ามาอาศัยและการตั้งชุมชนข้ามพรมแดน ข้ามแผนดินเกิด นั้น  ไม่ใช่คุณสมบัติที่ผูกติดกับการเดินทางมาเป็นผู้อาศัยในดินแดนที่ไม่ใช่ต้นกำเนิน แต่เป็นคุณสมบัติที่ถูกสร้างขึ้น เชื่อมโยงกับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองในแต่ละท้องที่ แต่คุณสมบัติ ที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านั้น อาจจะมีผลต่อลูกหลาน ต่อไปอีกหลายรุ่น

อีกทั้งแนวโน้มของการอพยพของชาวเวียดนามเข้ามาในเมืองไทยในอนาคต โดยตั้งแต่สมัยรัฐบาล นายอานันท์  ปันยารชุน มาจนถึงปัจจุบัน และตั้งแต่ ประเทศเวียดนามได้เปิดประเทศใน ปี พ.ศ. 2547    (ค.ศ.2004) ก็มีกลุ่มชาวเวียดนามที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยมากขึ้น อีกทั้ง มีการเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างรัฐบาล โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา มีชาวเวียดนามเข้ามาเรียนต่อในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีแนวโน้มเข้ามาศึกษาต่อมากขึ้น)    โดยเหตุผลหนึ่งของกลุ่มคนเวียดนาม ที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นนั้น เหตุผลหนึ่ง คือการที่       ในพื้นที่ดังกล่าวมีกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่ อพยพเข้ามาอยู่ในช่วงสงรามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนาม อีกทั้ง ยังเป็นพื้นที่ ลี้ภัยทางการเมืองของ โฮจิมิมห์ อีกทั้งนโยบายการเปิดประเทศของเวียดนามก็เป็นอีกปัจจัยในการพัฒนาประเทศและการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนคนเวียดนาม เพื่อให้มีการสร้างชมชนข้ามพรมแดน ในการติดต่อการค้า ระหว่างกันของชาวเวียดนาม ให้มากขึ้น ซึ่งคิดว่า น่าจะมีแนวโน้ม เป็นเช่นนั้น

หากมองการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มชาวเวียดนาม ที่เข้ามาตั้ง ชุมชนข้ามพรมแดน ในประเทศไทยแล้ว มีความคล้ายคลึงกับ ชาวจีนโพ้นทะแลที่ หนีภัยสงครามและหนีภัยปัญหา ของประเทศเพื่อ            ที่ต้องการเข้ามาอาศัยในท้องถิ่นใหม่ เพื่อความอยู่รอด และการสร้างครอบครัวใหม่ แต่ ยังคงรักษาวัฒนธรรม เดิมไว้ให้มากที่สุด โดยการสืบต่อวัฒนธรรมของกลุ่ม และการติดต่อกันระหว่าง กลุ่มที่อาศัยอยู่ในประเทศแม่ และกลุ่มท้องถิ่นใหม่  ถึงแม้ว่ากลุ่มชาวเวียดนาม ที่อาศัยในประเทศไทยนั้น จะมีจำนวนไม่มาหลากเทียบกับชาวเวียดนามในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งโลกทั้ง ออสเตรเลีย  อเมริกา ฝรั่งเศส เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มชาวเวียดนาม ที่อาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมีการ ติดต่อกับประเทศแม่ 

อีกทั้ง ในปัจจุบันรัฐบาลเวียดนาม มีนโยบาย เรื่องการให้สิทธิบางประการแก่ชาว เวียดนามที่อาศัยอยู่นอกประเทศ  ประการแรก สิทธิในการซื้อที่อยู่อาศัยได้ ทำให้ชาวเวียดนามในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศมากยิ่งขึ้น ประการที่สอง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารในเวียดนามที่อยู่ในอัตราสูง ดังเช่น ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ชาวเวียดนามเหล่านี้อาศัยอยู่ซึ่งมี เพียงร้อยละ 5 - 5.5 ทำให้ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศส่งเงินมาฝากในเวียดนามมากขึ้น ประการที่สาม ชาวเวียดนามที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ หรือชาวเวียดนามโพ้นทะเล (หรือที่ในภาษาเวียดนาม เรียกว่า เหวียตเกี่ยว หรือ Viet Kieu) ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจและลงทุนในประเทศเวียดนามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางใต้ของประเทศ ประการที่สี่ การเพิ่มขึ้นจำนวนเงินของชาวเวียดนามในต่างประเทศที่ส่งกลับมายังเวียดนาม ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ส่งกลับของคนงานชาวเวียดนามในต่างประเทศ ได้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศ (ธัญญาทิพย์ ศรีพนา . 2551 หน้า 3)

ดังนั้นใน ตั้งชุมชนข้ามพรมแดนของชาวเวียดนาม ในประเทศไทย นั้น ไม่ใช่เป็นการรักษาวัฒนธรรมและการรักษา อัตลักษณ์ของ กลุ่มชาติพันธ์ แต่ยังเป็นการ สร้างชุมชน การผูกสัมพันธ์ระหว่างคนในท้องถิ่นใหม่กับคนในท้องถิ่นเก่า ที่อพยพมา และมีความเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งในมิติทางด้านพรมแดน และการสร้างพื้นที่ข้ามพรมแดน สายสัมพันธ์ ที่ก่อตัวมาในรูปเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง 

เอกสารอ้างอิง

จันทรา  ธนะวัฒนาวงศ์ และคณะ. แนวทางการและกล

หมายเลขบันทึก: 493398เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาให้กำลังใจ
  • รออ่านอีกครับ

สรัะรำนไพไีนรดน่กาห

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท