การทดลองการย่อยแป้งในปาก


แป้ง จัดเป็นสารคาร์โบไฮเดรต ที่มีการย่อยในปาก ด้วยเอนไซม์อะไมเลส โดยการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล

      วันนี้ (2 ก.ค. 55 )สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  เรื่อง  ระบบย่อยอาหาร  มีนักเรียนคนหนึ่งสงสัยว่าทำไม ข้าวสุก(เปล่า) ที่เราเคี้ยวนานๆแล้วจะมีรสหวาน  เหมือนกับมีน้ำตาล    แต่เนื่องจากหมดชั่วโมงก่อน  จึงนัดหมายกันทดสอบในตอนเย็น  

เวลา 16.00 น. ครูและนักเรียนพบกันที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ครูชี้แจงเรื่องการใช้   อุปกรณ์การทดลอง    และ แนะนำสารเบเนดิกส์ให้นักเรียนสังเกต

นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 4-5 คน  แล้วทดลองตามใบกิจกรรม  ต่อไปนี้

กิจกรรมการทดลอง เรื่องการย่อยแป้ง

รายชื่อสมาชิก

1........................................................เลขที่..................

2........................................................เลขที่..................

3.......................................................เลขที่...................

4.......................................................เลขที่...................

5........................................................เลขที่..................

 จุดประสงค์

1. สังเกต ทดลองและอธิบายการทดสอบการย่อยแป้งในปากได้

 วัสดุ อุปกรณ์และอธิบายการทดสอบการย่อยแป้งในปากได้

         1.  ข้าวสุก 1 ช้อนโต๊ะ

         2. หลอดทดลองขนาดกลาง

         3. สารละลายเบเนดิกต์

         4. บีกเกอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

         5. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์

         6. แท่งแก้วคนสาร

 

คำถามก่อนทำกิจกรรม

 1. สารละลายเบเนดิกต์ใช้ทดสอบสารอาหารประเภทใด

.......................................................................................

........................................................................................

  1. ถ้านักเรียนบดข้าวสุกให้ละเอียดและนำไปทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์แล้วนำไปต้ม นักเรียนคิดว่า.................

............................................................................................

3. การบดข้าวให้ละเอียดเป็นการย่อยแบบใด

..............................................................................................

 วิธีการทดลอง

  1. น้ำข้าวสุกประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มาบดให้ละเอียดแล้วแบ่งเป็น 2 ส่วน ใส่ข้าวสุกส่วนที่ 1 ลงในหลอดทดลองที่ 1 ตั้งทิ้งไว้ ใส่ข้าวสุกส่วนที่ 2 ลงในหลอดทดลองที่ 2 ที่มีน้ำลายประมาณ 3-5 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วใช้แท่งแก้วคนนาน 30 วินาที

  2. หยดสารละลายเบเนดิกต์ 5 – 7 หยด ลงในหลอดทดลองทั้งสอง นำไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 2 นาที สังเกตและบันทึกผล

 บันทึกผลการทดลอง

ตารางบันทึกผลการทดลอง

 

หลอดทดลองที่

ผลการสังเกต

ก่อนหยดสารละลายเบเนดิกต์

หลังผ่านการต้มในน้ำเดือด

1

 

 

 

2

 

 

 

สรุปผลการทดลอง

.......................................................................................................

.......................................................................................................

........................................................................................................

.........................................................................................................

คำถามหลังการทำกิจกรรม

  1. การเปลี่ยนแปลงในหลอดทั้งสองเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

.............................................................................................................

..............................................................................................................      2. สารที่ตรวจพบในหลอดทดลองที่ 2 คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

...............................................................................................................

.................................................................................................................

3.แป้งในหลอดทดลองใดเกิดการย่อย สังเกตได้อย่างไร

..................................................................................................................

...................................................................................................................

       หลอดที่ 1 ข้าวสุก + น้ำดื่ม +สารเบเนดิกส์  

        หลอดที่ 2  ข้าวสุกที่เคี้ยวแล้ว + สารเบเนดิกส์  

ต้มน้ำให้เดือด

ใส่หลอดที่มีข้าวสุกทั้งสองหลอดลงในน้ำเดือด

 

หลังจากต้มในน้ำเดือด 2 นาที (หลอดที่ 1) 

                  หลอดที่  2   หลังจากต้มในน้ำเดือด 2 นาที

นักเรียนสรุปผลการทดลอง  ( สรุปผลการทดลองจากการทดลองพบว่าหลังจากเคี้ยวข้าวสุกแล้วหยดสารละลายเบเนดิกต์และผ่านการต้มในน้ำเดือด จะเกิดน้ำตาลขึ้น เพราะเมื่อตรวจสอบด้วยสารละลายเบเนดิกต์ จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ  แสดงว่าในน้ำลายมีเอ็นไซม์ที่ช่วยย่อยแป้ง  น้ำตาลที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงมาจากน้ำแป้งโดยเอนไซม์ในน้ำลายเท่านั้น กระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลงเช่นนี้ เรียกว่า การย่อย )

     เนื่องจากถึงเวลา 17.00 น. ผู้ปกครองมารับนักเรียน  จึงไม่ได้ส่งบันทึกการทดลองและการนำเสนอผลงาน   เมื่อถึงชั่วโมงเรียน   คงต้องทดลองซ้ำอีกครั้ง  เพราะวันนี้มีผู้ร่วมกิจกรรม 20 คน  (จากนักเรียน  39  คน)  วันนี้จึงถือว่าเป็นการเตรียมการทดลองจริง 

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนการสอน
หมายเลขบันทึก: 493190เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะพี่ครูสอน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง นักเรียนได้เรียนรู้ค้นหาคำตอบที่น่าสนุก พี่ครูขยันมากๆค่ะที่สอนนอกเวลาเด็กมีความสุขได้ความรู้ สุดยอดค่ะ

Blank

ขอบคุณค่ะน้องครูรินดา  

ขอถามหน่อยนะครับวัตถุประสงค์ในการทดลองนี้คืออะไร?ตัวแปรต้น,ตัวแปรตาม,ตัวแปรควบคุมคืออะไรบ้างครับ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท