ตอนที่ ๔.๑ ใช้เทคโนโลยีมือถือให้เป็นประโยชน์


"ครูไม่ได้เป็นทาสของมือถือ ครูเป็นผู้ใช้ไม่ใช่ผู้ถูกใช้เหมือนเราบางคน”

ตอนที่ ๔.๑ ใช้เทคโนโลยีมือถือให้เป็นประโยชน์

                แอร๊ยะ...คำคำนี้ได้มาจากภาษาวัยรุ่นในอินเตอร์เน็ต จ๊ากว่ามันแปลว่าอีหยังก็บ่รู้ (ไม่รู้ความหมาย) สงสัยมันคงมาจากคำว่า ไอ้ย๊า (นึกถึงเวลาหนังจีนกำลังควบม้าวิ่งไล่กวดกันอยู่)เด็กๆแอบเล่นเฟสบุ๊คในคาบเรียน เพราะว่าแทบทุกคนมีมือถือกันทั้งนั้น ครูไทบ้านของเราก็มีนะจ๊ะเด็กๆ ครูมีรุ่นโน-เกีย เอ๊กเพร๊สมูวสิก สีขาว(เอ๊ะ!สีขาวจริงไหมน้อ ไงมันสีออกเหลืองอมครีมละเนี่ย ) เด็กๆวัยรุ่นเห่อตามดารา ตามกระแสสมัยนิยม เปลี่ยนมือถือกันว่าเล่น ชนิดที่ว่าอดข้าว ทานมือถือแทนยังได้เลย เด็กๆบอกว่า

 “คุณครู.. มือถือเปลี่ยนใหม่ได้แล้วนะครับ” เด็กๆเว้าวอน

“ทำไมต้องเปลี่ยนด้วยหล่ะลูกของครูยังใช้ได้อยู่เลยนะเนี่ย โทรออก โทรเข้า” ครูน้อยโอดครวญ

“ของอาจารย์ตกยุคแล้วแหละค่า ..ถ่ายรูปก็ไม่ได้.. แชทก็ไม่ได้” เด็กประชด

“แหม..ลูกก็ว่าไปได้  ของครูน่ะถ่ายรูปได้ เล่นเน็ตก็ได้ แต่อาจจะช้านิดหน่อย ก็เท่านั้น” ครูอธิบาย

“แต่ว่าอาจารย์ใช้เครื่องนี้ตั้งแต่ผมอยู่ม.๑ เลยนะครับ ผมจำได้ ว่าก่อนหน้านี้มันสีขาว แต่ตอนนี้สีมันไม่ขาวแล้วครับ เปลี่ยนเหอะครับ” เด็กชายเมื่อ๓ปีที่แล้วอ้างเหตุผล

“ไหนๆ รุ่นไหนกันที่พวกเธอว่าดีนักหนา เล่ามาสิ” ครูเริ่มฉุน

ครูเถียงไม่สู้เด็กเลยสีหน้าถอดพร้อมกับมาแสดงไซน์โชว์ “พวกเธอดูมือถือครูนะ...ตุ๊บ..ตุ๊บ (เสียงครูปล่อยมือถือเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ในระยะที่แรง g เท่ากับ ๙.๘ พอดีเป๊ะ)” โทรศัพท์เหมือนกับสภาพที่โรงงานกำลังจะประกอบแต่ชิ้นส่วนของมันวางอยู่แบบกระจายอย่างไร้เอนโทรปี้

เด็กๆงง ว่าทำไมครูถึงกล้านัก “คุณครูไม่กลัวมันพังเหรอคะ” สาวที่ขี้เหร่ที่สุดในห้องถาม (เด็กคนนี้ชื่อสุนทรีลักษณ์ แต่ผมมักจะเรียกเธอว่า สุนทรีลึก เพราะแกไร้อารมณ์ ตอนเขาขำ แกไม่ขำ พอไม่ขำแกกลับขำคนเดียวซะงั้น)

ครูไม่ได้เป็นทาสของมือถือ ครูเป็นผู้ใช้ไม่ใช่ผู้ถูกใช้เหมือนเราบางคน” ครูเริ่มแรงส์..

“อาจารย์แน่จริง! เอาทิ้งน้ำในห้องน้ำเลย โทดรศัพท์มันเป็นของนอกกาย” เด็กยั๊วะ

“เอาของเธอมาด้วยครูจะยอมทดลองดู ” (ฮฮ..ฮ่า)ครูชนะ ๑ ประตูต่อ ๐

“แอร๊ยะ.." ......

หมายเลขบันทึก: 493133เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท