บวชป่าบ้านแม่ตาด


การบวชป่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่จะช่วยอนุรักษ์ผืนป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป

 

 

เรื่องเล่าจากบ้านแม่ตาด :

บวชป่าบ้านแม่ตาด

 

 

กำลังรับศีล 5 จากพระสงฆ์

 

 

          เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2555 ที่ผ่านมา ชาวบ้านแม่ตาด ร่วมกับ อบต.ห้วยทราย คณะนิสิตชั้นปีที่ 2 สาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ กลุ่มเยาวชนบ้านแม่ตาด และเครือข่ายเยาวชนตำบลห้วยทราย ได้จัดพิธีบวชป่าขึ้นที่พื้นที่ป่าบ้านแม่ตาด เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป

          เลยเก็บภาพดีๆ มาฝากครับ





พระสงฆ์กำลังให้ข้อคิด



ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่ตาดกำลังเล่าเรื่องราวของป่าบ้านแม่ตาดให้ฟัง

ถ่ายรูปร่วมกันไว้เป็นที่ระลึก

ผูกผ้าอย่างมีความสุข

เจ้าเป๊าะแป๊าะมัดผ้าซะแน่นเชียว

ต้นนี้หนูจองนะค่ะ

สามเณรไม้และพระภิกษุไม้เต็มไปหมด

ดูขลังขึ้นเยอะเลย

ได้เวลาอาหารเที่ยงพอดี

 คณะนิสิตชั้นปีที่ 2 สาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกกับอาจารย์(เสื้อเขียว)




เพลง   "ป่าลั่น"

ศิลปิน   "สุเทพ   วงศ์กำแหง"




หมายเลขบันทึก: 493019เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

กระบวนการเช่นนี้  สะท้อนภาพ "นิเวศวัฒนธรรม" ได้อย่างน่ายกย่อง  สื่อทะลุถึงภูมิปัญญา คติชน  จารีต...ความร่วมไม้ร่วมมือ  รวมถึงการบริหารจัดการป่าของชาวบ้าน

ป่าชุมชน เป็น "มรดกวัฒนธรรม" ที่มีค่าเกินบรรยายอย่างยิ่ง ...

ชื่นชม ครับ

 

สวัสดีครับ อาจารย์ แผ่นดิน

 

* ชาวบ้านแม่ตาดได้ร่วมกันจัดพิธีบวชป่ามา 3 ปีแล้วนะครับ และจะทำต่อไปทุกๆ ปี เพื่อช่วยกันดูแลและรักษาป่าของบ้านแม่ตาดให้คงอยู่ ทั้งนี้ เพราะว่าป่าแห่งนี้เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่มีบทบาทต่อการหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านในเขตอำเภอสันกำแพงมาตั้งแต่ครั้งอดีต หากไม่ช่วยกันดูแลรักษาเอาไว้ ก็อาจจะทำให้ป่าแห่งนี้หมดความอุดมสมบูรณ์และแหล่งต้นน้ำก็จะหมดไปด้วย

** ขอบคุณมากๆ ครับ ที่กรุณาแวะเข้ามาเยี่ยมและช่วยให้ข้อคิดเพิ่มเติม

เห็นชื่อบันทึก งงๆเล็กน้อยค่ะ "บวชป่า" เพื่อรักษาป่านี่เอง


 

สวัสดีครับ คุณ kunrapee

 

* การ "บวชป่า" เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการดูแลป่านะครับ ซึ่งชาวบ้านแม่ตาดได้จัดขึ้นมา 3 ปีแล้ว และจะทำต่อไปทุกๆ ปี

** การ "บวชป่า" หรือ "บวชต้นไม้" ทำขึ้นเพื่อคุ้มครองให้ต้นไม้ต่างๆ ดูขลังและศักดิ์สิทธิ์ขึ้น ซึ่งจะทำให้คนไม่กล้าเข้าไปตัดไม้ ทำให้ต้นไม้มีความปลอดภัย และทำให้ป่าไม้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

*** เรียกง่ายๆ ว่า หากใครตัดต้นไม้ที่มีผ้าเหลืองห่มอยู่ ก็เท่ากับเป็นการ "ฆ่าสามเณรหรือพระภิกษุหนึ่งรูป" เลยนะครับ

เยี่ยมมาก ๆ ค่ะ .....โดยเฉพาะที่ได้ปลูกสิ่งดีงามในหัวใจเด็ก ๆ อาคตบ้านแม่ตาด......อนาคตชาติไทย

สวัสดีครับ คุณหมอ ทพญ.ธิรัมภา

 

* การปลูกป่าที่ดีที่สุด ก็คือ การปลูกป่าหรือปลูกต้นไม้ในใจคนนะครับ หากทำได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เลย ดีกว่าการปลูกป่าจริงๆ เสียอีก

** ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่คุณหมอกรุณาแวะเข้ามาเยี่ยมและให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะสวัสดี เยี่ยมจริงๆค่ะ เห็นแล้วชื่นใจ

สวัสดีครับ คุณตันติราพันธ์

 

ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่กรุณาแวะเข้ามาเยี่ยมและให้กำลังใจ

เป็นกุศโลบายที่เยี่ยมยอดค่ะอาจารย์ "เสื้อเขียว"....เป็นนิเวศวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ และสืบสานผ่านมา ทำให้ป่าคงอยู่ได้ แต่ละพื้นที่ก็จะมีบริบทต่างๆกันไปนะค่ะ อืมม์..ในป่าที่บ้านแม่ตาดนอกจาก "การบวชป่า" แล้ว มีความเชื่ออื่นๆ แฝงไว้บ้างไหม๊ค่ะ เช่นมี ปู่ทวด คอยปกปัก รักษาป่าบ้างไหม๊ค่ะ?? น่าสนใจมากทีเดียวในเชิงนิเวศวัฒนธรรมค่ะ..:-))

สวัสดีครับ อาจารย์ kwancha

 

* นอกจากการบวชป่าแล้ว ที่บ้านแม่ตาดก็ยังมี "พิธีไหว้ผีขุนน้ำ" และ "พิธีฟังธรรมปลาช่อน" นะครับ ที่จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้าน รวมทั้ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ทั้งหลายด้วย

** หากพื้นที่อื่นๆ จะนำรูปแบบการดูแลป่าของบ้านแม่ตาดไปทดลองใช้ดูบ้าง ก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด และขอสนับสนุนเต็มที่เลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท