Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย


โครงการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

          สวัสดีผู้ติดตาม Blog ของอาจารย์จีระ

          เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 มูลนิธิฯได้จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เรื่องการท่องเที่ยวเเละกีฬา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในโครงการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ณ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งเน้นบริบทเรื่องการท่องเที่ยวเละกีฬาทางภาคเหนือ

        ผู้ที่มาให้ความเห็นในการประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มาจากหลายส่วน เช่น ภาคการศึกษา ภาคประชาชน,ชุมชน  สื่อมวลชน สมาคมกีฬา จึงได้นำข้อมูลต่างๆมา share กัน เเละอยากให้ทุกท่านร่วมออกความคิดเห็นผ่าน blog นี้

                                                     คณะวิจัย

.........................................................

ติดตามสาระสำคัญของ Focus Group ที่อื่น ๆ

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ สถาบันวิจัยเเละพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/493727

Focus Group ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา (ภาคตะวันออก) เมืองพัทยา ชลบุรีhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/493394

สัมมนาระดมความคิดเห็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/490673

หมายเลขบันทึก: 492836เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปประเด็นการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group)

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคเหนือ

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555  

กลุ่มการท่องเที่ยวเวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ ห้องประชุมแม่ข้าวต้ม สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

 

 

เริ่มต้นจากการพิจารณามุมมองของการท่องเที่ยวว่ากระทบอะไรบ้าง

  • มีการให้วิเคราะห์ถึงสถานที่ท่องเที่ยว และเรื่องของที่ระลึก อย่างเช่นในเรื่องของที่ระลึก จะสังเกตเห็นว่ายังมีความไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ของที่ระลึกในจังหวัดภาคเหนือยังมีความใกล้เคียงกัน และบางครั้ง ก็สามารถหาซื้อได้ที่อื่น ๆ ด้วย เช่นในกรุงเทพ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลและสถานการณ์ที่ผ่านมา พบว่า

จุดแข็งประเทศไทยด้านการท่องเที่ยวคือ

1.การบริการลูกค้าดี

2.มีหลักสูตรการท่องเที่ยวจำนวนมาก

จุดอ่อนของประเทศไทยคือ

1.ไม่มีวิชาวัฒนธรรมอาเซียน   ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้เสนอว่าได้เริ่มปรับหลักสูตรใหม่ขึ้นมาแล้ว มีภาษาอังกฤษ จีน และการเรียนอาเซียน Study   โดยกล่าวว่าเรื่องภาษาตอนนี้เริ่มต้นที่จีนก่อน โดยสิ่งที่อยากให้เน้น คือการรู้เขารู้เรา

2. ประเทศไทย ภาษาอังกฤษยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ผิดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่านั้นจะมีจุดแข็งคือภาษาอังกฤษดี

3. ประเทศไทยไม่ชอบไปทำงานต่างประเทศ

4. ประเทศไทยเรียนเพื่อเป็นผู้บริหารมากกว่าลงมือปฏิบัติจริง ต่างกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าที่เรียนตั้งแต่ระดับปฏิบัติในเริ่มต้น

 

ประเทศพม่า

จุดแข็ง คือ ภาษาอังกฤษดี  มีความมุ่งมั่น และรู้งานตั้งแต่ระดับปฏิบัติขึ้นไห

ประเทศกัมพูชา

จุดแข็ง คือ ภาษาอังกฤษดี ,มีการทำทัวร์แพคเกจไปเสียมเรียบราคาพิเศษ

จุดอ่อน คือ มีทัศนคติที่ไม่ดีกับคนไทย

ประเทศฟิลิปปินส์

จุดแข็ง คือ       ภาษาอังกฤษดี  ,มีการส่งเสริมเรื่องท่องเที่ยวมาก, มีวิชาสอน 320 แห่ง

ซึ่งพบว่าประเทศนี้จะมีคนสนใจเข้าเรียนหลักสูตรการจัดการโรงแรมมาก

ประเทศเวียดนาม

จุดแข็ง คือมีแผนพัฒนาท่องเที่ยว 35 ปี  และศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศในกลุ่มอาเซียน

จุดอ่อน คนจบหางานไม่ได้

ประเทศมาเลเซีย

จุดแข็งคือ ภาษาดี

จุดอ่อน คือ การเรียนการสอนยังไม่มีมาตรฐาน

ประเทศลาว

จุดแข็ง  คือมีคน พูดภาษาฝรั่งเศส และพูดภาษารัสเซีย  ได้ , ยังคงมีวิถีชีวิตแบบคนลาวอยู่ทำให้น่าสนใจที่นักท่องเที่ยวเข้าไปศึกษา

ประเทศอินโดนีเซีย

จุดแข็ง คือมีหลักสูตรดี และภาษาอังกฤษดี

ประเทศสิงคโปร์

จุดแข็ง มีการพัฒนาหลักสูตรท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีการยอมรับทางวัฒนธรรม

จุดอ่อน ไม่เน้นวัฒนธรรมอาเซียน ไม่มีเอกลักษณ์ของประเทศ
วิเคราะห์สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคเหนือ

จุดเด่น

  1. แหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือ มีจำนวนมาก 
  2. การขายสินค้ามีความคล้ายกัน
  3. การมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน นับเป็นจุดหนึ่งที่ได้เสนอเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว
  4. ด้านสิ่งแวดล้อมมีความคล้ายกัน  ข้อสังเกตคือนักท่องเที่ยวจะลงที่เชียงใหม่ก่อน ส่วนจังหวัดอื่นเสมือนเป็นทางผ่านมากกว่า
  5. เชียงรายถูกโปรโมทให้เป็นเส้นทางเชื่อม GMS
  6. สถาบันการศึกษา มีหลายมหาวิทยาลัยที่สอนเรื่องการท่องเที่ยวจำนวนมาก
  7. ภาคชุมชน จุดเด่นคือเรื่องชนเผ่า มีเรื่องวัฒนธรรม วิถีชีวิต การแต่งกาย ภาษา ประเพณีต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือมีชนเผ่าเยอะ มีประเพณีที่แตกต่างกันแต่ละเดือน ถ้ามีการจัดระบบดี ๆ จะทำให้มีการท่องเที่ยวได้ทุกเดือน
  8. ภูมิอากาศ มีอากาศเย็นตลอดปี อย่างเช่นในเชียงราย ถ้าในเมืองร้อน แต่บนดอยหนาว นับเป็นความได้เปรียบ
  9. การคมนาคม เป็นจุดเด่น เช่น พื้นที่บนดอยมีรถไปสะดวก และปลอดภัย

10. จุดแข็งเรื่องความปลอดภัย

11. ตัวอย่างจังหวัดเชียงราย สิ่งที่คนมาเที่ยวประทับใจมากสุดคืออัธยาศัย

ทุนทางวัฒนธรรม

  • ในภาคเหนือนับว่าเป็นเอกลักษณ์พิเศษ เฉพาะ มีคนที่มาท่องเที่ยวและอยู่หลายวัน เช่น ที่ชุมชนหมู่บ้านจะบูสี จะมีคนมาอยู่นานประมาณ  1 อาทิตย์ (8 วัน)
  • โดยลักษณะการมาอยู่ของนักท่องเที่ยวนั้น จะทำทุกอย่างที่เหมือนเจ้าของบ้านทำ เช่น เก็บผัก ทำงานบ้าน ไปเก็บไข่เป็นต้น มีที่นักท่องเที่ยวสนใจ เรื่องไก่ออกไข่ ถามว่าทำไมบนดอยถึงเน้นให้ไก่อยู่ นอกเหนือจากดอกไม้

การเข้ามาช่วยของทางราชการ

1.การเข้าร่วมกับชุมชน เน้นการจัดอบรมให้ทุนความรู้กับชุมชน ตัวอย่างใน 2 ปีที่ผ่านมา ได้เริ่มทำงานกับเครือข่ายท่องเที่ยวเชียงใหม่  ซึ่งต่อมาได้งบการศึกษากับจังหวัดร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อทำการพัฒนาบุคลากร ทำกิจกรรม พัฒนาร่วมกัน มีการประชุมเสวนากลุ่มแพร่ น่าน พะเยา โดยมีการจัดประชุมที่ราชภัฏเชียงราย เป็นต้น

2.ชุมชนมองในแง่เรื่องงบประมาณไปลงในชุมชน แต่รัฐบาลมองว่าทำอย่างไรให้ชุมชนยืนได้ด้วยตัวเอง จึงเน้นไปที่การให้ความรู้กับชุมชน  เน้นการสอนให้ชุมชนจับปลาเอง  เป็นลักษณะการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง และยืนได้ด้วยตัวเอง

4. สิ่งที่ทำต่อไป คือการทำการตลาด ป้ายบอกทาง และสิ่งอำนวยความสะดวก กำลังหางบอยู่  (ตัวอย่างเรื่องป้ายบอกทางในประเทศไทยยังมีความสับสนในสายตาของคนต่างชาติอยู่ ควรเน้นการเขียนภาษาให้เท่ากัน และให้เหมือนกัน อย่างในกรุงเทพฯ มีความสับสน บางแห่งเรียกถนน Road Avenue เป็นต้น)

 

ชุมชนต้องการความช่วยเหลือจากทางราชการอย่างไรบ้าง

จุดเด่น

ถ้ามองมิติภาคประชาชน

  • จังหวัดเชียงราย มีกระบวนการเคลื่อนพอสมควร มีของดีเยอะ และสามารถพัฒนาศักยภาพได้ บางอย่างอาจมีคุณภาพดีกว่าในหลาย ๆ ด้าน
  • จุดเด่นของท้องถิ่นคือเรื่องความยั่งยืน มีหลายที่ให้ความสำคัญเรื่องการพูดภาษา แต่ความจริงแล้วมีความอันตรายอย่างหนึ่งคือเรื่องภาษาท้องถิ่น ไม่มีพื้นที่สอนภาษาพม่าที่เชียงราย  เป็นไปได้หรือไม่ที่มองนอกเหนือจากภาษจีน และอังกฤษ    ภาษาท้องถิ่นเบื้องต้นยังไม่หาย มีอยู่ แต่อยากให้เน้นการพัฒนาเพิ่มขึ้น ให้ดูตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่น มีการพัฒนาภาษาไอนุ ขึ้นมาจากหมู่บ้านหนึ่งเป็นต้น  สรุปคือภาษาท้องถิ่นเป็นจุดเด่นที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ
  • อัธยาศัยไมตรีของชาวภาคเหนือยังเป็นจุดเด่นอยู่

ธรรมชาติ

  • นักท่องเที่ยวที่มาภาคเหนือให้ความสนใจในการสัมผัสธรรมชาติจำนวนมากนับเป็นสินค้าที่เป็นจุดเด่นในชุมชน ที่ต้องเน้นความร่วมมือจากภาครัฐด้วย จะพัฒนาอย่างไรให้ท้องถิ่นได้ประโยชน์ และเป็นจุดขายอย่างไร

อาหาร

  • เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก ตัวอย่างยุโรปมีเงินกินแต่ไม่มีข้าวกิน มีแนวทางในการกระจายคนของยุโรปมาอยู่ประเทศในอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นจุดใหญ่ของการกระจายตัวของประเทศยุโรป
  • ประเทศไทยไม่มีสถาบันอาหารปลอดภัยที่คนจะบริโภคได้หมด
  • มีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เชียงรายจะมีจีนยูนนาน อาหารไทยใหญ่ อาหารพม่าตามชายแดน 
  • น่าจะนำเสนออาหารชนเผ่าเป็นจุดเด่นของการท่องเที่ยว

วัฒนธรรม

  • ไม่เป็นวัฒนธรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กลายเป็นวัฒนธรรมปรุงแต่งที่ต้องเตรียมเมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามา ต่างกับลาว ที่เขาเป็นเหมือนวิถีชีวิตประจำวัน

 

จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงของการท่องเที่ยวในภาคเหนือมีอะไรบ้าง

วัฒนธรรม

  • ภาคเหนือค่อนข้างอ่อน ส่วนใหญ่ชื่นชมวัฒนธรรมทางตะวันตกมากกว่าทำให้ถูกกลืนง่าย และความภาคภูมิใจไม่ค่อยมีเหมือนแต่ก่อน

สิ่งแวดล้อม

  • ยกตัวอย่างที่ประเทศจีนมาเที่ยวบินที่เชียงราย ททท.ทำลักษณะ Marketing มากเกินไป คนจีนมาเที่ยวเชียงรายต้องการดูอะไร เพราะใกล้เคียงจีน ความจริงเขาอยากไปทะเลมากกว่า
  • หน่วยงานที่ทำ โปรโมทเชียงรายเน้นการทำตลาดมากเกินไป ไม่ได้ชูที่เป็นรากเหง้าแท้จริง กลับกลายเป็นเพียงจุดเสริมไป

ผู้ประกอบการ

  • ขาดความเชื่อมโยง ขาดการบริหารจัดการที่ดีเท่าที่ควร
  • ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ความเป็นมืออาชีพจริง ๆ มีน้อย ทำให้เราด้อยในเรื่องโอกาส และการทำการตลาด
  • ทัวร์ที่ได้คือทัวร์โอเปอเรเตอร์ ได้แค่รับเข้าส่งออก เท่านั้น เม็ดเงินที่กระจายน้อยมาก

กลุ่มนักท่องเที่ยวจีน

  • ส่วนใหญ่เป็นจีนตอนใต้ ยูนนานจุดหมายปลายทางคือทะเลภูเก็ต พัทยา ถ้าจะพักก็แค่ประมาณ 1 คืน

บุคลากร

  • บุคลากรในภาครัฐไม่มีความเพียงพอ การเชื่อมโยงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลจึงด้อยไปด้วย
  • ความสามารถเฉพาะทาง รัฐยังขาดอยู่  มีการกำหนดอัตรากำลังไว้ แต่ไม่ได้ขยายออกไป

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • ภาคเหนือส่วนใหญ่คนจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลกัน
  • ภาคเหนือควรสามารถเชื่อมโยงกับต่างประเทศได้ เช่น จีนตอนใต้ ลาว พม่า แต่ถ้าไม่สามารถเชื่อมโยงได้ ก็ไม่ดีเท่าที่ควร
  • การคมนาคม ภาคเหนือสะดวก ถนนเป็น 4 เลนเกือบทั้งหมด กำลังขยายทางเชียงของ เชียงแสน ฯลฯ

การแก้ไข

  • เรื่องบุคลากร
  • เรื่องการบริหารจัดการ
  • การพัฒนาตามชายแดน
  • การโปรโมทการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์การท่องเที่ยวควรมีความร่วมมือกันในภาคปฏิบัติ
  • การจัดโซนนิ่ง อยากให้ดูว่า ไม่ใช่เศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น ชุมชนได้อะไร ได้มากน้อยแค่ไหน ใครได้อะไรบ้าง
  • การเปิด AEC ทำอย่างไรให้บริหารจัดการยั่งยืน

เมื่อเปิด AEC เราต้องพัฒนาอะไรบ้างเพื่อที่จะไปสู้กับเขาได้

โอกาสคืออะไร  การคุกคามคืออะไร

  1. 1.      เรื่องภาษา 
  • ภาคเหนือ ภาษาตัวเองยังไม่มีความภาคภูมิใจ มีตัวอย่างที่พ่อแม่พูดภาษาเหนือแต่สอนภาษากลางกับลูก แต่เป็นสำเนียงเหนือ นี่เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
  • ตัวอย่างจากประสบการณ์ที่ทำบริษัททัวร์ จะเน้นให้พนักงานกล่าวสวัสดีด้วยภาษาเหนือเป็นหลัก
  • สรุปคือ สร้างความภูมิใจในภาษาท้องถิ่น อย่างเช่นการตั้งชื่อก็เน้นภาษาเหนือเป็นต้น
  1. 2.      แผน
  • อยากให้มีการเน้นการวางแผนแล้วสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง จากอดีตที่ผ่านมาการประสานงานระหว่างเอกชนกับภาครัฐทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  • ถ้าเราไม่แข็งแรงเราก็ไม่สามารถไปสู่กับประเทศเพื่อนบ้านเรา
  • เราต้องรู้เขารู้เรา
  • ต้องมีการจับต้องได้
  • การทำ Blue Print ของประเทศ ท่องเที่ยวและกีฬา
  • การทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ต้องลงไปที่ชุมชนเพราะทำอย่างไรถึงให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  1. อยากให้มองเรื่อง 3 เสา ให้มองนอกเหนือจากเศรษฐกิจ เน้นเสาเรื่องสังคม วัฒนธรรมด้วย

สิ่งที่ท้าทาย และสิ่งที่ต้องสร้างทันทีคือ

เรื่องความมั่นคง

  • เรื่องความมั่นคง ต้องมองเรื่องความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวการเรียนรู้เชิงภัยพิบัติ ตัวอย่างโครงการเรียนรู้ท่องเที่ยวรอยเลื่อนเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่สังคมมนุษยชาติต้องเรียนรู้
  • เรื่องความมั่นคงทางอาชญากรรม มีข่าวเยอะมากในปัจจุบัน ภาคเหนือจะมีกระบวนการป้องกันความปลอดภัยได้อย่างไร ต้องมองถึงแนวทางการบูรณาการร่วมกัน นอกเหนือจากตำรวจท่องเที่ยว ต้องมีระบบสื่อสารให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้หมด
  • แหล่งท่องเที่ยว  2 ระดับเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ต้องพัฒนาการบริหารจัดการอย่างไร
  • การเปิด AEC ต้องเน้นการทำมุมต่าง เพราะจุดต่างคือจุดขาย ประเทศไทยมีจุดต่างจากประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างไร ตัวอย่างเช่นจีนมีหมู่บ้านหนึ่งที่ผู้หญิงเลือกผู้ชาย
  • สิ่งที่ชุมชนมองว่าเป็นจุดต่างคืออะไรบ้างอยากให้ทางชุมชนเสนอมาให้ทางภาครัฐทราบ
  • แม่ฟ้าหลวงควรเป็นแกนกลาง เป็นองคาพยพในการพัฒนาสู่ชุมชน

การพัฒนาบุคลากรในเชียงราย

  • ดร.ชูกลิ่น จากม.ราชภัฏเชียงรายเป็นผู้ที่ให้ความสนใจในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก สามารถมองได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเชียงรายเป็นอย่างไร
  • ขอยกคำกล่าวที่ว่า “ถ้าชุมชนไหนมีความสุขที่สุด ชุมชนนั้นคือแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุด” กล่าวโดย คุณภราเดช พยัฆวิเชียร
  • ดูชุมชนว่าเข้มแข็งอย่างไร มีความสุขอย่างไรมากกว่าที่ใช้มุมมองจากภาครัฐ
  • เด็กเป็นส่วนสำคัญที่ถ่ายทอดความเป็นชุมชนนั้น ๆ เอกลักษณ์นั้น ๆ สามารถทำได้อย่างไร
  • ต้องทำให้รู้ว่าท่องเที่ยวที่แท้จริงคืออะไร

การเพิ่มศักยภาพทางภาครัฐให้ชุมชน

  • ก่อนเข้าสู่         AEC สิ่งแรกที่ต้องทำคือทุนมนุษย์ การบริหารจัดการ การตลาด สิ่งแรกที่น่าจะทำต้องสร้างความเข้าใจให้รู้ว่าเมื่อเข้าสู่ AEC เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ถ้าจะมีโอกาส มีโอกาสอย่างไร มีความเสี่ยง มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง ต้องสร้างและค้นตัวเองให้เจอ
  • สิ่งที่จะทำจริง ๆ คือสร้างวัฒนธรรมบ้านเรา เป็นแหล่งเรียนรู้ ไม่ต้องวิ่งตามกระแส AEC ให้เราเป็นตัวของเราเองแล้วทุกอย่างจะเกิดกับตรงนี้
  • เน้นรากเหง้าให้เป็นแหล่งเรียนรู้
  • สร้างความจริงใจ หาเครือข่ายพันธมิตร หาคนที่รู้ ปรึกษาคนที่ทำได้อย่างเต็มที่
  • ต้องมองว่าอะไรบ้างเป็นโอกาสของเราที่จะเพิ่มรายได้
  • สิ่งที่จะสู้เขาได้คือการบริการ และไมตรีจิต

ภาคชุมชน

  • ชาวบ้านยังไม่รู้ว่า AEC คืออะไร
  • ชุมชนไม่ได้ต้องการเงินอย่างเดียว ต้องการหลายอย่างเหมือนกัน
  • การลงชุมชนต้องทำแผนให้ชัดเจน
  • ชุมชนอยากได้ความช่วยเหลือภาครัฐ อบรมให้ความรู้แหล่งท่องเที่ยว ป้ายบอกทาง สิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในแผนแล้ว แต่ปรากฏว่าไม่ถึงหรือลงผิดที่ จึงอยากให้ลงให้ถูกชุมชน
  • สิ่งที่อยากให้ภาครัฐทำคือความต่อเนื่องในชุมชน
  • หาวิธีจัดเวทีเรื่อย ๆ ว่าชุมชนต้องการอะไร ถ้าชุมชนทำไม่ได้ จะมีผู้ประกอบการมาแทรกทุกครั้ง ซึ่งไม่คิดว่าเป็นการสมควร และไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืนกับชุมชนอย่างแท้จริง
  • เครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ได้งบจาก สกว. ทำวิจัย แต่อยากให้หลังจากการนำวิจัยแล้วนำข้อมูลมาเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ต่อไปด้วย
  • มีหลายที่ที่ชุมชนทำท่องเที่ยว แล้วไม่มีนักท่องเที่ยวเพราะอะไร
  • การปฏิบัติก่อนและหลังทำมาตรฐานการท่องเที่ยวมีความเบียงเบนหรือไม่อย่างไร  พบว่าหลังจากมีการจัดระเบียบ หรือปรับให้เป็นมาตรฐานบางครั้งการติดป้าย หรืออะไรต่าง ๆ แล้วเสมือนว่ามีคนมาเยอะ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมา
  • การทำท่องเที่ยวแต่ไม่มีคนมาเที่ยว ทำไมหายไป บางครั้งไม่ได้หายไปซะทีเดียว แต่ความรู้สึกหนึ่งคือการใส่ใจมากเกินไป
  • พื้นที่สูง ถ้าประเทศไทยมีเหตุการณ์ต่าง ๆ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่เข้ามาในประเทศ ทำให้ไม่เดินทางไปที่ชุมชนด้วยเป็นต้น
  • นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชอบท่องเที่ยวในหมู่บ้านที่คนมาไม่ถึง สรรหาที่ไม่มีคนไปถึง
  • วิถีชีวิตที่นำเสนอ เช่นการแสดง ไม่ได้มาจากจิตวิญญาณที่แท้จริง

ความคิดเห็นจาก ม.ราชภัฏเชียงราย ที่ทำเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวเสริมว่า

  • ได้เริ่มพัฒนาบุคลากรให้กับโรงแรมทั้งหมด  รวมถึงอบรมมัคคุเทศก์ พัฒนาหลักสูตรที่ ม.ราชภัฏเชียงราย ทำร่วมกับ ททท.  ร่วมกับสถาบันการศึกษาภาครัฐ เอกชน สมาคมท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ สื่อมวลชน ทำหน้าที่ให้การเสนอ

พบว่ามีจุดแข็ง คือ

  • ภาคเหนือมีการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ยกเว้นทางทะเลไม่มี ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก
  • มีนักท่องเที่ยว เที่ยวแล้วติดใจอยากอยู่ต่อ
  • มีนักลงทุนจากต่างถิ่นจำนวนมากเข้ามา
  • แล้วเมื่อมี AEC เข้ามาจะเกิดอะไรขึ้น บางครั้งเรารู้ไม่เท่าทันกับนักลงทุน ตัวอย่างแม่กำปอง มีการใช้สลิงเข้ามา บางครั้งทำลายเสน่ห์ ธรรมชาติที่แท้จริงไป
  • อำนาจต่อรองของท้องถิ่นมีน้อย หากภาครัฐไม่สนับสนุนจริงจังหรือให้ความรู้กับชุมชน
  • การให้ความรู้ผ่านกระบวนการวิจัย ทำให้ชุมชนรู้จักตัวเอง และพึ่งพาตัวเองได้ แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้นำชุมชน ชุมชนเหมือนรัฐบาลเมื่อผู้นำเปลี่ยนชุมชนก็เปลี่ยน ด้วย
  • การรักษาสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่อยากให้เราทำ
  • ถ้าประเทศไทยจะทำการท่องเที่ยวขอให้มีเป้าหมายการจัดการท่องเที่ยวที่ชัดเจน ดูที่เป้าหมายแท้จริงคืออะไร
  • การทำวิจัยของเรา พื้นที่ตรงไหนที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ชุมชนยังอยู่ ป่ายังอยู่ด้วย นี่คือชีวิตของเขา
  • ต้องมีการฟื้นฟูวัฒนธรรม ฝรั่งอยากเห็นอะไรที่เป็นของแท้
  • เราเรียนรู้ความต้องการของนักท่องเที่ยวยุโรป แต่เราไม่รู้ความต้องการของนักท่องเที่ยวอาเซียน
  • เราต้องปรับปรุงวิธีการ กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งทำ ต้องบริหารจัดการอย่างมีจริยธรรม อย่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน อย่าแบ่งฝ่าย และให้ทุกคนมีส่วนร่วม
  • ในระดับท้องถิ่นจะมีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ  ชุมชนจะเรียนรู้จากเครือข่ายได้เยอะมาก
  • ถ้าชุมชนต่างอยู่ ชุมชนจะรู้ไม่เท่าทัน แต่ถ้ามีงบประมาณให้ชุมชนมีการพบปะ และแลกเปลี่ยนกันทำให้ชุมชนรู้ทันมากขึ้น
  • การท่องเที่ยวเริ่มไปสู่การเรียนรู้มากขึ้น
  • การสร้างให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวซ้ำต้องมีอะไรเพิ่มขึ้นมากกว่านั้น ต้องมีความแตกต่าง แต่แตกต่างอย่างไร ไม่เท่ากัน ชุมชนอยากพัฒนาแต่ไม่ค่อยมีมือเข้ามาช่วยเท่าที่ควร
  • การให้ความรู้ภาษา ม.ราชภัฏเชียงรายเปิดสอน 10 ภาษาแต่พบว่ามีความสนใจคนน้อยมาก
  • ทางจังหวัดมีแนวทางจะอบรมภาษาอังกฤษกับภาษาจีนให้ทางข้าราชการด้วยเหมือนกัน
  • แต่โดยความเป็นจริงอาจไม่ต้องถึง 10 ประเทศ แต่เลือกกลุ่มที่เราต้องวิเคราะห์อาเซียนที่มาเที่ยวประเทศไทยคือใคร อย่างเช่น จีนมาแน่ แต่เน้นไปทะเลเยอะ เที่ยวในเชียงรายน้อย  แต่สำหรับประเทศอื่นคือประเทศใดที่มาเที่ยว ต้องศึกษา
  • Tourism Management  ดร.เสงี่ยม ม.ราชภัฏเชียงราย
  • ทำอย่างไรที่ภาครัฐ และสื่อมวลชนจะช่วยกระตุ้น การจัดการเรียนการสอน ให้จัดการชุมชนได้อย่างง่าย และมีรายได้สู่ท้องถิ่นด้วย

สื่อ

  • การเพิ่มศักยภาพเพิ่มอย่างไรให้อยู่ในอาเซียนอย่างมีความสุข
  • มีมุมมอง 2 ด้าน คือ องค์ความรู้ในด้านการท่องเที่ยว และเรื่องการใช้สื่ออย่างไร
  • จังหวัดเชียงรายมีทรัพยากรท่องเที่ยวหลากหลาย ขาดอย่างเดียวคือทะเล มีเพียงทะเลหมอกที่ดูได้ทุกหน้า
  • 7 สายน้ำ 3 แผ่นฟ้า (ติดต่อไทย พม่า ลาว) 35 ม่อนดอย (มีดอยจำนวนมากเช่นภูชี้ฟ้า ดอยผาตั้ง ฯลฯ)
  • องค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น ได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ขาดความรู้การไปพัฒนาด้านใดและอย่างไร  งบประมาณท่องเที่ยวของท้องถิ่นถูกใช้ในการจัดกิจกรรม เช่นการ ไปจัดลอยกระทง สงกรานต์ ซึ่งความจริงมีงบประจำปีท้องถิ่น แต่ไปโยกงบท่องเที่ยวมา
  • เมืองบางครั้งไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวอะไรเลย แต่เราต้องสร้างความเชื่อขึ้นมาก็สามารถขายท่องเที่ยวได้
  • การท่องเที่ยวต้องมีมุมมองนอกกรอบ สร้างสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ แหล่งความเชื่อในการท่องเที่ยว  อย่างเช่น พระธาตุ 9 จอง ตามโบราณสถิติของล้านนา ใครเคารพได้ภายใน 1 วันนับว่าได้บารมีสูงสุด
  • เราควรหาท่องเที่ยวใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่ส่วนใหญ่ท้องถิ่นชอบทำสิ่งที่คล้ายกัน เช่น โฮมสเตย์ ถนนคนเดินที่ต่าง ๆ
  • ส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารต้องมีความรู้เป็นอย่างดี จัดให้ความรู้ผู้บริหารปกครองส่วนท้องถิ่นจัดได้อย่างไร เพื่อใช้ให้ได้ถูกทาง หาวิธีเชื่อมกับท่องเที่ยวแหล่งอื่น ให้มีการผ่านกันได้ เช่น สินค้าโอทอป 
  • การมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนในการท่องเที่ยว เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในอนาคต
  • ชุมชนบ้านร่องปลายนามีการอบรมการบูรณาการกับการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการวางแผนชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร เช่น เรื่องโฮมสเตย์ มีกลุ่ม2 กลุ่ม จัดทัศนยภาพสวยงาม และปลอดยาเสพติด ทำให้หมู่บ้านนี้ได้รับรางวัล และมีสื่อจากส่วนกลางหลายที่ มีอาหารเอง มีสินค้าโอทอป ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่จากชุมชน
  • ความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว นอกจาก อบท.แล้ว ชุมชนต้องมีความเข้าใจด้วย เมื่อมีการให้ความรู้ต้องติดตามและช่วยเหลือเขา มีการประเมินผล  ต้องการพี่เลี้ยงคอยดูจนสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง
  • การใช้งบประมาณการท่องเที่ยวของท้องถิ่น และชุมชน จะใช้งบอย่างไรให้คุ้มค่า ใช้วิธีอย่างไรเพื่อให้ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า
  • การให้ความรู้ด้านสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว เช่นงานประเพณีที่สำคัญ ๆ
  • แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวควรใช้การบูรณาการจากภาครัฐช่วย
  • สื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพัน นสพ. วารสารท่องเที่ยว วิทยุ อินเตอร์เน็ต แต่ละภาคส่วนให้ความสำคัญกับสื่อน้อย และขาดความเข้าใจในการใช้สื่อ ไม่ใช้สื่อเท่าที่ควร  ต้องควรเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสื่อด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น เริ่มต้นจากการใช้สื่อสิ่งพิ่มพ์ ตามมาด้วย นสพ. หนังสือท่องเที่ยว วิทยุ อินเตอร์เนต
  • ปัจจุบันสื่อที่มีประสิทธิภาพมากสุดคืออินเตอร์เนต มีการซื้อขายผ่านทางเวปไซต์ได้เลย ถึงเป็นการใช้สื่อลักษณะ Worldwide วิธีการที่ดีคือทำภาษาต่างประเทศด้วย  ยกตัวอย่างคุณ อาแป อะมอ  ได้รับปริญญาเกียรติคุณจากม.ราชภัฏเชียงราย  ด้านการใช้เวปไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจนประสบความสำเร็จ จบเพียงแค่ ป. 4 ทำอาชีพหาหน่อไม้ พบว่ามีฝรั่งมาเที่ยวจำนวนมาก ได้ปรึกษากับ คุณแอน (นักท่องเที่ยวต่างชาติ) จึงทำให้มีการพัฒนาโฮมสเตย์อาข่าวิวส์ ประชาสัมพันธ์ผ่านทางเวปไซด์ มีการจองผ่านจากตปท. พบว่าปีหนึ่งได้เงิน 200 ล้านบาท ปัจจุบัน มี 200 เวปไซด์ เพื่อดัก Search engine เป็นต้น
  • การใช้เทคโนโลยี Google Map เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ โดยการใช้สื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว  ถ้าเรียนรู้การสร้างเวปไซด์ได้เองจะช่วยในการประชาสัมพันธ์สื่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเยอะ
  • ศักยภาพการใช้สื่อสามารถเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวได้ด้วย ต้องมองให้ความสำคัญกับสื่อ และเลือกใช้สื่อใดให้ได้ประสิทธิภาพกับกำลังทรัพย์ของท่านเอง  การสนับสนุนให้ภาครัฐส่งงบประชาสัมพันธ์มาให้มากขึ้นกว่าเดิม

 

ความร่วมมือกับอาเซียนวิธีหรือแนวทางการร่วมมือกับอาเซียน มีอะไรบ้าง

  • ทิศทางที่จะเดินไปในประชาคมอาเซียน Where are we ?
  • มีบางชุมชนที่เข้มแข็ง และบางชุมชนต้องการพี่เลี้ยง ต้องรู้ตัวตนว่าของเราคืออะไร อะไรคือจุดเด่นของเรา
  • ผู้ประกอบการคือตัวกลางการนำสินค้าชุมชนมาขายให้ผู้ประกอบการ
  • ชุมชนผู้ประกอบการกับภาครัฐ ความเป็นตัวตนของตนเองต้องมี ชุมชนต้องเข้มแข็ง 
  • การบูรณาการให้สัมฤทธิผล ต้องดูที่รากเหง้าของตัวเองก่อนรู้ว่า Where we are go ?
  • ราชภัฏเชียงราย เป็นสถาบันแห่งแรกที่เปิดสอนด้านการท่องเที่ยว มีหลักสูตรนานาชาติ การจัดการการท่องเที่ยว ฯลฯ มีการจัดอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และมัคคุเทศก์ทั่วไป มีอบรมหลักสูตรระยะสั้น อบรมฟรี
  • กรุงเทพเป็น Gate way ของอาเซียน เชียงรายเป็น Gate Way ของ GMS ได้เปรียบประเทศอื่นในมุมมองของอาเซียน ตัวอย่างบริษัทดีทแฮม ไกด์พูดฝรั่งเศสไม่มี แต่ถ้าส่งไปลาว จะพูดภาษาฝรั่งเศสได้สบายมาก
  • อัตลักษณ์ของเชียงราย เชียงรายเหมาะที่จะเป็น Niche ให้ได้ ไม่เหมาะเป็น Mass เหมือนเชียงใหม่
  • การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ควรมีการ Control และการตัดสินใจด้วย
  • เชียงแสนเรื่อง AEC ยังเอื้อมไม่ถึง ชาวบ้านไม่เข้าใจว่ามีประโยชน์อะไรกับเขา ชาวบ้านเขาได้อะไร
  • เชียงรายเป็นได้แค่ Land เป็น Local เท่านั้น
  • Blue Print ต้องระวังให้มาก ตัวอย่างเช่นโฮมสเตย์ มีมาตรฐานมากฝรั่งไม่มา บางครั้งให้ออกเงินไปก่อนแล้วท่องเที่ยวดีปุ๊บ จะได้เงิน ซึ่งทำให้เอกลักษณ์เฉพาะหรือสิ่งที่เขาทำมาหากินอยู่หายไป
  • การเที่ยวเป็นเพียงอาชีพเสริมที่ทำให้เขามีความกินดีอยู่ดีมากขึ้นเช่น หมู่บ้าน ลอชา ขายได้ เพราะขายตัวเองลงไป ไม่ใช่ขายการท่องเที่ยว
  • พลังของคนที่ทำ  การหาตัวเองให้เจอ จะทำให้ตัวเองมีความเข้มแข็งได้ Knowledge ,Skill ต้องรู้
  • ภาคการศึกษาจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง มีสอนการจัดการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยว มีการสอดแทรกจริยธรรมในการบริการ ทุนมนุษย์ ต้องมีความดี  เพิ่มศักยภาพ ทำอย่างไรให้แข็งขันได้

ความสามารถในการยอมรับได้ มีมากน้อยแค่ไหน

  • ต้องดูว่าท่องเที่ยวเยอะเกินไปหรือไม่ที่ชุมชนจะรับได้ ถ้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
  • การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรร่วมกัน เช่น ทัวร์โอเปอเรเตอร์ ไทย ลาว เวียดนาม 
  • ด้านภาษาวัฒนธรรม หลายที่ขาดอาจมีการสร้างศูนย์วัฒนธรรม AEC ได้

การสอน และสื่อไปสู่อาเซียน

  • ควรเริ่มที่การเพิ่มศักยภาพตัวเอง
  • กรณีศึกษา PB ทัวร์ ไปร่วมทุนกับธุรกิจทัวร์ในพม่าชื่อ World View , มีการทำร้านอาหารไทยที่ลาวเป็นต้น คนได้ประโยชน์ก็คือคนไทยเองด้วย มีส่วนช่วยส่งเสริมท้องถิ่นในประเทศต่าง ๆ ด้วย
  • การเป็นพันธมิตรที่ดีในท้องถิ่น  ในระดับชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ มีเครือข่ายอยู่แล้ว มีการเดินทางไปมา มีการติดต่อตลอด น่าจะใช้ Connection สร้างความร่วมมือ และเข้าใจในอนาคต ในภาครัฐควรได้รับการสื่อสารให้พัฒนาคนให้ทำทางด้านนี้ด้วย
  • การที่ผู้ประกอบการไปลงทุนในต่างประเทศทำไมภาครัฐไม่ลงทุนสนับสนุนการตั้งกลุ่มประชาคมขึ้นมาอย่างแท้จริง  อย่าง R3A เกิดขึ้นทำไมไม่ใช้ประโยชน์
  • ภาษา ไกด์ทางภาษาของไทยหายาก ภาษาฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี อย่างฝรั่งเศส มาเชียงรายเยอะสุด แต่ข้ามไปลาวเขาพูดได้ เราเสียเปรียบมาก
  • ความรู้ด้านสมาคมอาเซียน ไทยอยู่ในอันดับ 10
  • เรามักคิดว่าเราขายอะไรเขา แต่เราไม่เคยคิดมาว่าเขาอยากซื้ออะไรเราหรือไม่ ทำไมไม่เอาสิ่งที่เขาอยากไปเสนอบ้าง
  • การตัดสินใจมาจากส่วนกลางแล้ว ไม่ได้เป็นข้อเสนอจากที่ประชุม แต่เรียกมาทำไม ดังนั้นการมาประชุมให้ภาคส่วนของประชาชนให้มีส่วนออกเสียง แล้วเอาสิ่งที่ได้จากประชุมมาคุยกัน
  • Gate way เป็นประตูพาคนเข้ามา อย่าเป็นเพียงแค่คนเฝ้าประตู

อบท. เทศบาล

  • บทบาทคนจะไม่ค่อยรู้สึกว่าเกี่ยวข้องเท่าไหร่ โครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทาง ไฟฟ้า ขยะ ร้านอาหาร คนจะไม่รู้สึกว่าส่วนท้องถิ่นเข้าไปจัดการ เขาเห็นเพียงงานประเพณีต่าง ๆ ที่อบท.จัดขึ้น
  • จากประสบการณ์ที่สัมผัสกับนักท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยว
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปประเด็นการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group)

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคเหนือ

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555  

กลุ่มการกีฬา เวลา 13.00 – 16.00 น.

ณ ห้องประชุมแม่ข้าวต้ม สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

 

เริ่มต้นโดยกล่าวถึงภาพรวมของกีฬาไทย

จุดเด่นของไทย

  • กีฬาเป็นหนึ่งได้ แต่ส่วนใหญ่เก่งคนเดียว
  • วิทยาศาสตร์การกีฬาเพิ่งเริ่มต้น

จุดอ่อน

  • ประเทศไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน
  • อุปกรณ์การกีฬาไม่พร้อม
  • การบริหารจัดการเพิ่งเริ่มต้น อย่างเรื่อง Sport Medicine เพิ่งมีการสอนที่ ม.มหิดล เป็นต้น

การวิเคราะห์สถานการณ์กีฬาในภาคเหนือ

  • การกีฬาจะเน้นความรับผิดชอบเรื่องความเป็นเลิศและอาชีพทางการกีฬา อย่างในจังหวัดเชียงรายจะมีฟุตบอลและวอลเลย์บอลที่เก่งอยู่ โซนภาคเหนือจะมี ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล และมีตะกร้อที่ เชียงใหม่ และแพร่
  • เชียงรายมีไทยพรีเมียลีกซ์ และเชียงรายยูไนเต็ด เชียงรายเอฟซี  สโมสรฟุตบอลเชียงรายสามารถสร้างรายได้ ตัวอย่าง มีประธานสโมสรคุณโอภาส มีทีมฟุตบอลเอง และสามารถคืนกำไรให้กับกลุ่มเชียงราย ได้
  • กีฬาตะกร้อ ที่แพร่ แม่เลี้ยงติ๊ก จะหางบประมาณมาช่วย สังเกตได้ว่าสมาคมกีฬาจังหวัดแพร่ จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเงิน แต่ที่เชียงรายจะไม่พอ แม้ว่าจะได้รับเงินอุดหนุนจาก อบจ.เชียงราย  และอบจ.ท้องถิ่นจำนวนหนึ่ง เนื่องจากนายกอบจ.คนเดิม กับนายกสมาคมกีฬาเป็นคนเดียวกัน จึงสามารถช่วยให้การสนับสนุนด้านกีฬาอย่างดี
  • กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มมีคนให้ความสนใจมากขึ้นมาจากกระแสความนิยมที่เป็นช่วงที่ทีมนั้นประสบความสำเร็จพอดี ดังนั้นจึงควรต้องใช้กระบวนการปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น จะช่วยส่งผลดีต่อมหาวิทยาลัยให้ได้รับผลกระทบทางบวกมากขึ้น
  • สภาพภูมิประเทศเหมาะกับการพัฒนากีฬาที่ทนทาน เช่นสมาคมจักรยานจะมีการจัดแข่งขันกีฬาแข่งขันจักรยานที่แม่จัน เป็นต้น
    • บุคลากรทางการกีฬาของเชียงรายมีความเข้มแข็งมาก
    • ปัญหาคือ การกีฬาที่ไทยไม่ได้นำมาปฏิบัติอย่างแท้จริง

ประโยชน์ของกีฬา

  • พัฒนาร่างกายได้ครบทุกด้าน เป็นลักษณะ Multiple Intelligence
  • ตัวอย่างให้เด็กอนุบาลออกกำลังกายช่วงบ่ายจะทำให้ EQ และ IQ ดีขึ้น

การจะไปบิดกีฬา Youth Olympicถ้าลงมาที่ภาคเหนือ ศักยภาพรองรับมากน้อยแค่ไหน

  • ถ้าลงมาที่จ.เชียงใหม่ น่าจะได้เนื่องจากเคยมีการจัด Sea Game แต่ที่เชียงราย นั้นจะมีลักษณะการแบ่งโซนอย่างเช่น โรงเรียนกีฬา
  • มีการมอบเนื้อที่100 ไร่ ถ่ายโอนให้อบจ. อาจช่วยส่งผลทำให้เยาวชนเชียงรายคึกคักขึ้น
  • เป็นไปได้หรือไม่ถ้าเชียงรายอยากให้เป็นศูนย์รวม อยากทราบว่ามีที่ไหนนอกจากอบจ.พัฒนากีฬาตรงนี้ได้
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีฟุตบอลไทยลีกซ์ สัปดาห์เว้นสัปดาห์  มีการจัดเป็น Event ใหญ่ มีกีฬาสำหรับมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ  มีสระว่ายน้ำที่เพิ่งจะสร้าง ทางสถาบันการศึกษาเริ่มไปช่วยเรื่อง Infrastructure ด้วย
  • มีคำแนะนำให้มีการจัดความร่วมมือในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ฯลฯ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา และพลศึกษามีมากน้อยเพียงใด

  • เรื่อง Sport แยกเป็นพลศึกษา และวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • วิทยาศาสตร์การกีฬา มีที่พะเยา เชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง   มีคนจบวิทยาศาสตร์การกีฬาปีละ 1,000 คน แต่การยอมรับยังไม่ค่อยมี
  • พลศึกษา มีม.นเรศวร ม.เชียงใหม่ มีการทำ Individual Study

อาชีพในการรองรับทางการกีฬา

  • มีสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สโมสรทางการกีฬา
  • ภาคกลางคนให้ความสนใจกีฬาสูง มีการทำงานกับทีมกีฬาอาชีพได้

สโมสรฟุตบอลเอฟซี

  • ดูแลเรื่องบริษัท มีสโมสรอีกชุดหนึ่งดูแล
  • มีการติดต่องบประมาณจากภาคเอกชน ในการดูแลสโมสรด้วย
  • งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ 1 ล้านบาท จะผลักให้สโมสรทั้งหมด
  • ส่วนตัวจังหวัดจะดูแลเรื่องการจัดการแข่งขัน การจัดการ พนักงาน การรักษาความปลอดภัย พนักงานสนาม ปัจจุบันยังไม่มีความพร้อม แต่ละสโมสรมีปัญหาเรื่องงบประมาณใช้จ่ายสูงเกินไป  แต่ละสโมสรต้องไปหางบประมาณจากภาคเอกชนต่างหาก
  • การจำหน่ายของชำร่วย การเก็บค่าเข้าชม ถ้าจ่ายไม่เยอะ จะไม่มีปัญหาเรื่องพวกนี้
  • นักเตะมีรายได้ไม่มาก แต่คุยกับนักเตะว่าถ้าดีพอสามารถไปสโมสรอื่นจะได้มากขึ้น
  • การบริหารจัดการใน 2 ปีแรก สโมสรมีปัญหาเรื่องจ่ายค่าตัวนักฟุตบอล แต่พอปีที่ 3 เริ่มดีขึ้น เนื่องจากได้สนับสนุนจากภาคเอกชนด้วย
  • ถ้ามีบริษัทที่มองเห็นภาพจะตอบได้ดีขึ้น
  • อย่างในสโมสรจะผู้รักษาประตูจบ ม.6 กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย ก็เพิ่งได้ทุนคนแรก

การแก้ปัญหา

  • จากตัวอย่างการบริหารจัดการค่าตอบแทนให้นักกีฬา ดร.ณัฐ ได้บอกว่ามีการวางเงินรางวัลไว้ส่วนเดียว ส่วนอีกส่วนเป็นเรื่องหาทุนเรียนต่อ กับให้อาชีพทางการกีฬา เน้นการหาพันธมิตรมากกว่า ซึ่งคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ตรงนี้
  • คนที่เป็นนักฟุตบอล นักกีฬา โค้ช ให้หาแนวทางหลากหลาย ให้นักศึกษายอมรับ
  • อาจมีเรื่อง Sport Medicine หรือกีฬาผู้สูงอายุ มากขึ้น
  • กีฬาอาชีพมีปัญหาเกิดขึ้น ดังนั้นจึงควรคิดหากระบวนการว่าทำอย่างไรให้สโมสรอยู่ได้ด้วยตนเอง ทำอย่างไรให้สโมสรเข้มแข็ง  ถ้าสโมสรไม่เข้มแข็งพอ กกท.อาจต้องพิจารณาสโมสรตัวอย่างเช่นที่พะเยา ได้อบท.ช่วยในการดำเนินการ เป็นต้น
  • นักกีฬาที่ทำอยู่ต้องก้าวสู่อาเซียน ดังนั้นต้องทำจริงจัง มีประกาศนียบัตรมาส่งเสริม ให้คนสนใจกีฬา ไม่สนใจเหล้า

 

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC

  • โอกาสทางการกีฬา ยังถือว่าขยายไปสู่ประเทศในอาเซียนได้
  • ประเทศไทยยังถือว่าเป็นชั้นนำอยู่ในด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • จุดเด่นคือควรทำหลักสูตรโดยความร่วมมือกับกกท. ขอความร่วมมือในการส่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้านมาช่วยสอน มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาที่จบจะได้เปรียบทางด้านภาษา แล้วปัจจุบันเริ่มมีภาษาจีนมาด้วย
  • มหาวิทยาลัยเริ่มชูธงว่า ควรต้องมีภาษาที่ 2, 3 ในการดำเนินการ
  • การเข้าสู่ AEC เสมือนการสอบใบอนุญาต อย่างวิทยาศาสตร์การกีฬา บางครั้งการออกตปท. ยังไม่รับออก นักวิทยาศาสตร์การกีฬาต้องมีใบอนุญาตตรงนี้ เช่นให้มีไกด์ไปทั่ว AEC
  • วิทยาศาสตร์การกีฬา ควรให้มีเรื่องการบริหารจัดการ Admin Management ด้วย อย่างเด็กต้องลงทุนไปสอบเพื่อได้ License มาการสนับสนุนเข้าไปสอบในองค์กร มีการร่วมมือกับสถาบันไทยกับต่างชาติ  อยากให้ช่วยเร่งจัดการสอบเด็กด้วย สิ่งที่ควรทำคือต้องมีการรู้ว่าความรู้ขั้นต่ำควรทำอย่างไรบ้าง ให้มีโค้ชเอฟซีเข้ามาช่วยในการดำเนินตรงนี้ได้
  • หลักสูตร มีมาตรฐานวิชา ทุกมหาวิทยาลัยมีความคล้ายกัน คือมีมาตรฐานวิชาชีพคุณวุฒิของเด็กที่จบมา แต่วิทยาศาสตร์การกีฬากำลังอยู่ในขั้นร่างมาตรฐานวิชาชีพอยู่ ขึ้นอยู่กับผลการวิจัย ของหลายมหาวิทยาลัยที่ทำหลักสูตรนี้ เนื่องจากมี Multi Scenery กว้างมาก และเมื่อจบวิทยาศาสตร์การกีฬาแล้ว ก็สามารถเข้าทำงานได้หลายอาชีพ เป็นต้น  ดังนั้นจึงทำอย่างไรเพื่อเร่งทำเรื่องมาตรฐานวิชาชีพ นักกีฬา  Sport tourism และวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • เน้นการทำงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้
  • การทำ Blue Print ภาพรวม  และแยกแต่ละส่วน มีการทำบิดบุ๊กส์
  • ถ้ามองเรื่อง AEC กับกีฬาอย่างไรก็ได้กำไร ถ้าเราคิดและสร้างมาตรฐานรองรับทั่วโลก กีฬาไทยสามารถไปได้แน่นอน  เนื่องจากถ้ามีการเปรียบเทียบในเรื่องค่าใช้จ่ายสังเกตได้ว่าอาชีพอื่นมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก

กีฬาชุมชนมีหรือไม่

  • มีกีฬาท้องถิ่น และกีฬาพื้นบ้าน
  • กีฬาพื้นบ้านแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน มีลักษณะท่องเที่ยวเชิงกีฬามีคนที่มาดูและมาชม

ดังนั้นจึงน่าจะมีปฏิทินของกีฬาพื้นบ้านให้ชัดเจน

  • กีฬาสากลกำไรแน่นอน  แต่กีฬาพื้นบ้านกำไรมหาศาล
  • มีการแข่งเรือที่เชียงแสน มีกีฬาวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงการแข่งขัน เน้นการท่องเที่ยว และวัฒนธรรม เน้นประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลาว จีน พม่า  ตัวอย่างมีวัฒนธรรมดำหัว มีพม่า ไทย ลาว จีน
  • กีฬาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ มีกีฬาพื้นฐาน ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ และมีกีฬาพื้นบ้าน  แต่ปัญหาคืองบประมาณโอนช้า และการติดต่อระหว่างประเทศคุยกันกระชั้นชิดมาก

 

ความต้องการสนับสนุน

  • ต้องการความสนับสนุนในเรื่องประชาสัมพันธ์ งบประมาณ จะให้ไปพึ่งทางท้องถิ่นเป็นหลัก เนื่องจากของกระทรวงได้น้อย ดังนั้นจึงต้องประสานกับทางท้องถิ่นว่าต้องการอะไร

 

การบริหารจัดการกีฬา

  • จะเชิญทางสโมสรไปร่วมประชุมรับฟัง และดูงาน
  • การเข้าไปมีส่วนในการจัดการกีฬา ตัวอย่างเช่น กรณีที่ลาวมีความต้องการจัดการทางด้านใด ไทย สามารถเข้าไปช่วยจัดการได้หรือไม่ เช่น ฟุตบอลลาว  มีกรณีตัวอย่างคือ มี สปอ. มาเลเซีย  จัดร่วมกับ สปอ.ของไทย ขอความร่วมมือให้แม่ฟ้าหลวงเป็นเจ้าภาพ เป็นต้น
  • มีแนวทางการทำ Sport Medicine เป็นลักษณะวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ
  • การจัดตั้งเวชนคร มีโรงพยาบาล ที่พักผ่อน มีคนเข้ามาอยู่ในนี้ ประเทศไทยยังไม่มี แต่มาเลเซีย และสิงคโปร์มีแล้ว  ถ้าเห็นความสำคัญก็ควรลองนำมาทำไม่จำเป็นต้องรอให้เขาเลือก
  • มีความสนใจและยินดีถ้ากระทรวงอยากจัดสัมมนาแล้วเชิญบุคลากรทางกีฬามาประชุมกันเป็นลักษณะการให้องค์ความรู้ทางการกีฬาคุยกันมากขึ้น
  • อุปกรณ์การกีฬา ภาคเหนือยังนำเข้าจากภาคกลางอยู่  การกีฬาของเชียงรายไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์ได้ทุกชนิด ส่วนกลางต้องจัดซื้อแล้วส่งมาให้เรา

อุตสาหกรรมการกีฬาที่ผลิตเองในภาคเหนือมีเองหรือไม่

  • ถ้าเป็นแบบอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ เหมือนแกรนด์สปอร์ต หรือ FBT ยังไม่มี ถ้ามีคงเป็นแบบเล็ก ๆ
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่ส่วนผลิตอุปกรณ์กีฬาย้ายมาอยู่ที่ท้องถิ่น

ตอบ มีความยินดี แต่ถ้าเขาจะเลือกคงย้ายไปลาวมากกว่าเนื่องจากติดที่ค่าแรง  ค่าแรงลาวถูกกว่า

  • ข้อสังเกต
    สินค้าที่ไทยทำไทยไม่นิยม แต่ถ้าไทยทำส่งไปนอกแล้วส่งกลับมาไทยนิยม
  • เสื้อผ้ากีฬาที่ทำจากใยไหมเป็นส่วนผสม ทำให้เย็น  ถ้าทำในภาคเหนือเป็นจุดหนึ่งถ้าทำได้จะดี  ความเป็นไปได้ น่าจะเป็นไปได้สูงถ้าให้ความรู้ แล้วเชื่อมโยงกับหม่อนไหม
    • ไทยจะก้าวไปได้ขึ้นอยู่กับนวัตกรรม
    • เปลือกไม่สำคัญแต่อยู่ที่ข้างใน

 

ไทยสามารถผลิตสินค้าทางการกีฬาให้อาเซียนได้หรือไม่

  • ต่างชาติซื้อเรา เนื่องจาก Idea ถูก ราคาถูก  และมีคุณภาพ ตัวอย่างพม่านิยมใช้ของไทยมากกว่าจีน สังเกตได้ว่าวันหนึ่ง Quality จะเป็นตัวกำหนด
  • อุปกรณ์ภาคเหนือยังไม่ชัดเจน แต่มีทิศทางทำได้ แต่ต้องมีระดับสูงหน่อย

 

ประเทศไทยยังเป็นตัวอย่างของประเทศใน AEC หรือไม่

  • บุคลากรยังมีความเป็นชั้นนำ ถือว่าเป็นจุดแข็งของเมืองไทยอยู่
  • ศักยภาพถ้าอยู่ในภาคเหนือก็ยังมีโอกาสที่จะพัฒนาได้

 

จะสร้างความร่วมมือกับภาครัฐอย่างไร

  • ส่วนภูมิภาคต้องรอรับนโยบายจากส่วนกลางลงมา
  • ถ้ามีงบประมาณ ไม่อยากให้กระจาย ให้ลงมาทำเองแล้วเชิญ GMS มา (อยากให้เพื่อนบ้านรักเราจะทำอย่างไร จึงคิดว่าน่าจะนำไปใส่ในเรื่องการศึกษา)
  • การได้งบประมาณในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ เช่นการแข่งเรือ ยังคงแข่งที่เมืองไทย แต่อาจมีการไปเยี่ยมประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น อยากให้มีการดึงเอายุโรป อเมริกา ตะวันออกกลางที่มีเงินเข้ามา ด้วย

 

การขาดคู่มือในการบริหารจัดการ

  • อยากให้มีการพัฒนาคู่มือการเรียนการสอน

 

ด้านสื่อมวลชนมีการสนับสนุนสื่อการกีฬาหรือไม่

  • สื่อทางการกีฬาส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะตีพิมพ์ทั่วไป
  • แนวทางการกีฬาจากท่องเที่ยวมาจากส่วนกลางมากเกินไป แต่ภาคปฏิบัติสามารถต่อกับ AEC ได้เลย
  • เส้นทางที่ไปเจอกับลาว กัมพูชา พม่า แล้วนำเงินเข้าประเทศสามารถทำได้อย่างไร บางครั้งภาครัฐไม่ค่อยรู้ลึก

ความเป็นไปได้ในการสร้างความต่อเนื่อง

  • ยุทธศาสตร์ของหัวหน้าคณะวิจัย เป็นยุทธศาสตร์ของการได้งบในการทำจริง
  • ถ้างบการพัฒนาคนออกมา 100 ล้านจะนำมาใช้ในการพัฒนาจริง
  • ถ้ามองประเทศเพื่อนบ้านยากจนต้องหาเงินจากประเทศที่มีมากกว่าไปช่วยประเทศที่มีน้อยกว่า

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • Youth Olympic ทำไมต้องจัดจังหวัดเดียว
  • ไตรกีฬา ทำไมต้องไปทะเล ไม่จัดที่จ.เชียงราย (มีเคยจัดที่เชียงแสน)
  • การพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬายังไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องไปเกี่ยวข้องกับทุกสาขา
  • กีฬาเกี่ยวข้องกับเยาวชน ในท้องถิ่นเห็นนักกีฬาเป็นฮีโร่คือจุดเริ่มของการกีฬา
  • ทุนของนักกีฬาถ้าเงินน้อยจะสนับสนุนอย่างไร
    • การพัฒนาคนจะให้แผน Focus ไปที่ส่วนหนึ่งด้วย มีการบูรณาการเรื่องทุน แล้วเชียงรายอาจเป็นโครงการนำร่อง  เน้นการสร้างบูรณาการที่เข้มแข็ง

 

10 ปีข้างหน้า Road Map เพื่อพัฒนากีฬาเป็นเลิศควรทำอย่างไร

  1. พัฒนาพื้นฐานทางการกีฬาเนื่องจากพื้นฐานกีฬาไทยยังไม่แน่น ตั้งแต่วินัย องค์ความรู้ในด้านการเรียน การสร้างแรงบันดาลใจ เรื่อง Infrastructure
  • วิชาพลศึกษาสัปดาห์หนึ่งเรียนแค่ชั่วโมงเดียว ถามว่าทำไมไม่เรียนสัปดาห์ละ 3 วันอย่างน้อย แต่โรงเรียนกีฬาอบจ. มีช่วงบ่ายทุกวันที่เรียน เพราะกีฬาช่วยส่งเสริมสติปัญญาด้วย
  • กระทรวงศึกษาฯ มีโรงเรียนหลายแบบ เป็นข้อถกเถียงอยู่ว่าทำไมชั่วโมงพลศึกษาลดลง เนื่องจากเขาไม่เห็นด้วยว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเล่นกีฬา
  • สถานการณ์การกีฬาคือทักษะในการแก้ปัญหา เด็กสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในอนาคต เมื่อเจอปัญหาแล้วท้อ แต่เขาจะพัฒนาให้ดีขึ้น  สร้างบุคลิกทางการกีฬาให้ดีขึ้นได้
  • เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา สามารถใส่กิจกรรมเรื่องการเคลื่อนไหวได้หมด
  • การให้องค์ความรู้ทางการกีฬาใส่ให้กับทางโรงเรียน

 

  1. การทำ Sport Asian

 

ทำอย่างไรให้เป็นนักกีฬาอาชีพได้

  • ปัจจุบัน ระบบการจัดการกีฬาอาชีพเริ่มชัดขึ้น ความเป็นอาชีพเยอะขึ้น จบม.6 เรียนคู่กับกีฬาได้ หรือไปสโมสรกีฬาได้   ปัจจุบันดีขึ้นกว่าอดีตเยอะ แต่จะพัฒนาต่อนอกเหนือจากประเทศ จะทำอย่างไรถึงไปได้ทั่วโลก

 

การจัดลีกซ์ใน AEC มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

  • AEC มี Part เล็ก โครงสร้างทำเหมือนกระบวนการศึกษา แข่งพร้อมกัน พักพร้อมกัน

โอกาสที่ต่างประเทศมาหาเรามีมากกว่า ยกเว้นสโมสรใหญ่จะไปได้ทั่วโลก

 

ทางด้านการศึกษา Double Degree มีการเรียนพ่วงกับที่อื่นหรือไม่

  • ความจริงมีความแตกต่างทางวิชาชีพ แต่สามารถทำได้ถ้าเด็กมีความสนใจ อาจต้องมีการแยกเป็นสาขาในอนาคตเนื่องจากหลักสูตรขั้นสูงมีความแตกต่างกัน อาจแยกได้ในปริญญาโท

 

การส่งเสริมให้มาเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬาอย่างรู้จริงมีหรือไม่

  • ครูประเทศไทยต้องมีวิชาชีพครู เนื้อหาวิชาที่เรียน มีพื้นฐานใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • มีคอร์สสั้น ๆ เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมในท้องถิ่น  กกท.ทำอยู่  ตัวอย่างเช่นพะเยา จะทำงบยุทธศาสตร์จังหวัด มีงบฯ อบรมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • อยากให้มีการส่งเสริมให้เด็กนักศึกษาไปช่วยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาที่สโมสร แล้วมีการได้เบี้ยเลี้ยง
  • กีฬาเพื่อสุขภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬาสามารถไปช่วยได้

 

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

  • การกีฬา ท่องเที่ยว มหาวิทยาลัย โรงเรียน ไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการคุยกัน แต่ในส่วนกีฬาอาชีพคุยตลอด ผลผลิตยังไม่ชัดเจนเลยมีปัญหา
  • นโยบายต้องกำหนดให้ชัดเจน  กีฬาก็กีฬา ท่องเที่ยวก็ท่องเที่ยว
  • ตัวอย่างประเทศอเมริกา ก่อนเข้าสู่อาชีพได้ต้องเล่นในระดับมหาวิทยาลัยก่อนถึงเป็นมืออาชีพได้  สิ่งนี้เป็นโมเดลที่ดีที่ไทยน่าจะนำมาใช้  แต่ไทยยังทำไม่ชัดเนื่องจากมองว่ากีฬายังทำไม่เก่ง และมองว่ากีฬากับการเรียนไม่ควรแยกโดยเด็ดขาด ควรเล่นกีฬาควบคู่กับการเรียน
  • การทำ Blueprint ของนักวิทยาศาสตร์การกีฬามืออาชีพ หรือกีฬามืออาชีพเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กควรอ่านและศึกษาก่อน ก่อนที่จะเข้ามาสู่ด้านการกีฬา
  • การเข้าร่วมกับองค์กรวิชาชีพที่ดูแลท่างด้านนี้เช่นการรวมโค้ชชั้นนำของโลกที่เป็นวิชาการมาด้วยกัน อย่าง NSCA (National Strength and Condition Association) ตั้งเป็นการสอบ ถ้าใครสอบได้ถือว่าได้ใบไปสมัครงานจะทำให้น่าเชื่อถือ

มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ตั้งองค์กรนี้เอง 

-       มีแนวคิดของสว. ทำการวิจัยเรื่องการตั้งแนวทางการทำมหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ กำลังหาที่ลงอยู่ ถ้าทำได้จะเป็นความคิดที่ดี

-       มีสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬา แต่ยังไม่มีการทำลักษณะการสอนที่แน่ชัด

-       ประเทศไทยรับเข้ามาคือ Fit Innovation ได้ทำการเชื่อมกับองค์กรนี้โดยตรง เป็นลักษณะ Dealer ในการดึงเข้ามา

  • การเร่งทำกฎหมาย และกฎระเบียบเรื่องจริยธรรมให้แน่ชัด เช่น กฎหมายด้านการป้องกันการพนัน
  • การทำการประชาสัมพันธ์ และการกำหนดมาตรฐานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา  สถาบันหลัก ๆ น่าจะมาคุยกัน และน่าจะขายได้
  • เลือกจังหวัดที่มีศักยภาพเป็นตัวนำร่อง
  • พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ให้เยาวชนสัมผัสด้านการกีฬา และสนใจการกีฬามากขึ้น ตัวอย่างที่ดี เช่นรายการกบนอกกะลา
  • การแลกเปลี่ยน อยากเสนอให้นักเรียน นักกีฬา และบุคคลที่ประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์การกีฬา อยากให้ภาครัฐสนับสนุนนักเรียนทุน ไปแลกเปลี่ยนกับประเทศในกลุ่ม AEC

 

ข้อเสนอแนะจาก สโมสรฟุตบอลเอฟซี

ฟุตบอลอาชีพมีศูนย์ที่นครสวรรค์ ขอเสนอ

  • ถ้าศูนย์วิชาการ Center น่าจะอยู่ที่แม่ฟ้าหลวง
  • เรื่องการกีฬา Center น่าจะอยู่ที่ภาค 5 เชียงราย
  • ท่องเที่ยวภาคเหนือที่เชื่อมโยงอนุภูมิภาคทั้งหมดอยู่ที่เชียงราย

 

วัฒนธรรมองค์กรของกีฬาเป็นอย่างไร

  • ควรมีการร่วมมือในทุกภาคส่วน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือวัฒนธรรมองค์กร
  • ค่านิยมคือ คุณลักษณะของการกีฬา  อย่างเช่น การมีสปิริต การยอมรับข้อผิดพลาดและแก้ไข  การเข้ากับสังคมได้ดี เนื่องจากทำงานกับหลาย ๆ ฝ่าย ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท