หน่วยของกัมมันตรังสีมีกี่ชื่อ เรียกว่าอะไรบ้าง


หน่วยของกัมมันตรังสี

หน่วยของกัมมันตรังสี

ปริมาณ

หน่วยเดิม

หน่วยใหม่ (SI unit)

กัมมันตภาพรังสี

(Radioactivity)

คูรี

(Ci)

เบคเคอเรล

(Bq)

รังสีที่ถูกดูดกลืน(Absorbed dose)

แรด

(Rad)

เกรย์

(Gy)

รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)

เรินท์เกน

(R)

คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม

(C/kg)

รังสีสมมูล

(Dose Equivalent)

เรม

(Rem)

ซีเวิร์ต

(Sv)

1. ปริมาณกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)

    1 (Bq) = 1s-1 และ 1 Ci = 3.7x1010Bq

2. ปริมาณรังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose)

    1 Gy = 1 Jkg-1 = 100 rads

3. ปริมาณรังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)

    1 เรินท์เกน = 2.58x10-4 คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม

4. ปริมาณรังสีสมมูล (Dose Equivalent)

    HT = SRWRxDTxR

ขีดจำกัดขนาดของรังสีขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคล

อวัยวะ หรือ เนื้อเยื่อ

ขนาดรังสีสูงสุดที่อนุญาตให้รับได้ สำหรับ ผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติงานทางรังสี   "MPD"

ขีดจำกัดขนาดของรังสีสำหรับประชาชน "Dose limit"

อวัยวะสืบพันธุ์

3 เร็ม ใน 3เดือน

0.5 เร็ม ใน 1ปี

ไขกระดูกทั่วร่างกาย

5 เร็ม ใน 1ปี หรือถ้าจำเป็นก็ใช้สูตร 5(N-18)เร็ม (N=อายุเป็นปี)

ผิวหนัง

15 เร็ม ใน 3 เดือน

7.5 เร็ม ใน 1ปี

กระดูกไธรอยด์

30 เร็ม ใน 1ปี

มือ และ แขน

40 เร็ม ใน 3 เดือน

7.5 เร็ม ใน 1ปี

เท้า และ ข้อเท้า

38-75 เร็ม ใน 1ปี

อวัยวะอื่นๆ

15 เร็ม ใน 1ปี

1.5 เร็ม ใน 1ปี

ขนาดของรังสีกับอาการเจ็บป่วยที่ปรากฏ

ขนาดของรังสี ที่ร่างกายได้รับทั้งร่าง (Rem)

อาการเจ็บป่วยที่ปรากฏ

0-25

ไม่ปรากฏแน่ชัด

25-50

มีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดโลหิต

50-100

เม็ดโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลีย อาเจียน ไม่มีความพิการปรากฏ

100-200

มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น มีความพิการ

200-400

มีการเจ็บป่วยทางรังสี มีความพิการ หรืออาจเสียชีวิตได้

400

โอกาสรอดชีวิต 50 เปอร์เซนต์

มากกว่า 400

โอกาสเสียชีวิตสูง

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=164&Itemid=172

http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/65/nuclear1/unit.html

http://health.kapook.com/view24286.html

http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/65/nuclear1/limit.html

หมายเลขบันทึก: 492695เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 02:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนที่โรงงานนิวเคลียสระเบิด ทำไมคนญีปุ่นหาซื้อ โพแทสเซียมไอโอได ไว้รับประทาน ครับ

เพราะว่า

     ยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือไอโอดีน  เป็นยาที่ผลิตขึ้นในสูตรเดียวกับที่ประเทศรัสเซียใช้ เมื่อเกิดการระเบิดของโรงไฟฟ้าปรมาณู ที่รัสเซีย โดยนักวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ จากรังสีไอโอดีน 131

(รังสีแกมมาและเบต้า) ได้ดี ดังนั้น จึงปกป้องประชาชนที่ได้รับสารกัมมันตรังสีได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นยาเฉพาะที่ผลิตมาเพื่อสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น การที่จะแจกจ่ายให้ประชาชนได้ก็ต้องได้รับการยืนยันก่อนว่า จำเป็นต้องใช้จริงๆ สำหรับวิธีรับประทาน โพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือไอโอดีน คือ สามารถรับประทานได้ก่อนเข้าสู่พื้นที่เสี่ยง ที่มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ก่อน 1-12 ชม.โดยฤทธิ์ของยาจะอยู่ได้นาน 24 ชม.เด็กอายุ 1 เดือนถึง 3 ปี รับประทานขนาด 32 มิลลิกรัม เด็กอายุ 3-18 ปี ทาน 65 มิลลิกรัม ส่วนผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปีแต่ไม่เกิน 40 ปี ทานในขนาด 130 มิลลิกรัม คือ ปริมาณ 1 เม็ดนั่นเอง สำหรับผู้ใหญ่วัยตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปนั้นนับว่าเป็น กลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อการแพ้ยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือไอโอดีน ดังนั้น ถ้าไม่ได้เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงมากของรัศมีการแพร่สารกัมมันตรังสีก็ไม่แนะ นำให้ทาน เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงจากยาชนิดนี้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานขนาด 130 มิลลิกรัม ปริมาณแค่ 1 เม็ดครั้งเดียว

     ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จากการแพ้ยา คือ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ร้อนในปากและลำคอ บางรายมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือขั้นต่อมน้ำลายอักเสบ หรือมีน้ำตาไหลออกมา ซึ่งเป็นอาการของการแพ้ยา ดังนั้นแนะนำว่า หากเลี่ยงได้ไม่ควรจะเดินทางเข้าใกล้บริเวณที่มีสารกัมมันตรังสีเลยจะดีกว่า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้ยาดังกล่าว
     ข้อควรระวังเป็นพิเศษสำหรับการใช้ยาโพแทสเซียมไอโอไดด์  คือ ยาชนิดนี้ห้ามใช้ในคน 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ใช้แพ้ไอโอดีน 2.ผู้ป่วยต่อมไทรอยด์มีพิษโดยกลุ่มนี้หาเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับยา 3.การจะกินยานี้ได้ ต้องไม่มีการกินยาชนิดอื่นที่มีไอโอดีนอยู่แล้ว และกลุ่มที่ 4 คือ ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
     ข้อแนะนำ : เนื่องจากยาชนิดนี้เป็นชนิดเข้มข้น หากกินยาเกินขนาดหรือมีความถี่กว่าข้อแนะนำในฉลากยา นั้นไม่ได้ช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีกว่าเดิมในการป้องกันการเกิดมะเร็งของต่อม ไทรอยด์ จากรังสีไอโอดีน 131 เลย หากแต่จะยิ่งทวีความรุนแรงต่อการกระตุ้นอาการแพ้ และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.healthupdatetoday.com/product/detail-14181.html
ปล. ขอบคุณมากนะคะ._^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท