รวมมิตรทีมเยือน KM กรมอนามัย (17) ... เคล็ดที่ (ไม่) ลับ ของการทำแผน KM กรมอนามัย


เพราะฉะนั้นถ้ายึด Concept ถ้าชัดที่ Concept เมื่อไร ทุกอย่างใส่กล่องได้หมด

 

คุณศรีวิภา เลขาฯ KM กรมอนามัย ได้แอบเผยเคล็ดที่ (ไม่) ลับเลย ในการทำแผน KM กรมอนามัยให้สอดรับกับแผน ก.พ.ร. ที่นี่เลยนะคะ

Tactics ก็คือ สติ พอเวลาที่แบบฟอร์มเข้ามาเยอะๆ สติเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งแรกก็คือ ปิดแบบฟอร์มไปเลยเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า เกือบ 1 เดือน และพอเปิดก็ค่อยๆ ดูทีละ step แล้วก็หยิบกระบวนการทุกอย่างที่กรมอนามัยได้มีการทำไว้แล้ว หยิบมาตั้งแต่ Vision Mission พวกนี้เวลาทำอะไร ต้องสอดเข้าไปรับใน Vision Mission ของกรมฯ KM กรมอนามัยมีการเดินทัพแบบที่ อ.หมอสมศักดิ์ว่า ทำงานโดยมีเป้าหมายเป็นสำคัญ เราก็เลยมี Theme - Vision Mission ก็เลยถูกใส่เข้าไป

ขณะเดียวกัน ถ้าย้อนกลับไปดูในแบบฟอร์ม ที่ ก.พ.ร. ส่งมาให้ แบบฟอร์ม 11 / 12 ก.พ.ร. จะยึด Xerox โมเดล กับอีกส่วนหนึ่ง ที่เป็น KM Process ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ กรมอนามัยทำอยู่แล้ว ภายใต้บริบท KM เนียนเข้าอยู่ในเนื้องาน เพราะฉะนั้นพอเราเห็นแต่ละส่วน พอมองแล้วก็ค่อยๆ หยิบกระบวนการที่ทำใส่ลงกล่อง กล่องตามแบบฟอร์ม ก.พ.ร. แต่ถามว่า กรมอนามัยใช้แบบฟอร์มนี้ ในการเดินหน้าแบบภาคปฏิบัติไหม จริงๆ แล้ว เราใช้หลายๆ อันที่เราบูรณาการเข้าด้วยกัน คือ ทั้งโมเดลปลาทู เป็นอันดับแรก ใช้ตัวนี้มาเป็นตัวเสริม และสุดท้ายใช้เรื่องบริบทขององค์กร ถ้าย้อนกลับคือ ทำจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริงๆ และย้อนกลับไปมองทฤษฎี และทฤษฎีเหล่านี้มีอยู่แล้วในหนังสือตำราการจัดการความรู้ทั้งหลาย ของสถาบันเพิ่มฯ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว มันไม่ได้หนีไปกว่ากัน เพราะฉะนั้นถ้ายึด Concept ถ้าชัดที่ Concept เมื่อไร ทุกอย่างใส่กล่องได้หมด

ถามว่า process ของกรมอนามัยทำอย่างไร ก็อย่างที่ว่าไปแล้ว ... กระบวนการเหล่านี้ เราก็ค่อยๆ หยิบไปทีละส่วน ตามกิจกรรม กรมอนามัยไม่ได้ทำเฉพาะหน่วยงานต้นแบบ เราทำทุกหน่วยขององค์กร แล้วมีบางหน่วยที่เป็นหน่วยงานต้นแบบ เพื่อที่จะเรียนรู้คู่กันไป

และมีคำถามในเรื่องของ Spiral ว่า มันมีเกิดขึ้นในกรมอนามัยแล้วหรือยัง ถ้าท่านเข้าไปในแต่ละกลุ่มที่มีการ ลปรร. จะเห็นว่าตัวที่ไหลไปนี้ เป็นอะไรที่เราทำชัดเจนมาก ขณะเดียวกันจากสิ่ง tacit ที่เป็นส่วนที่เล่าแล้วนี้ ถูกแสดงออกมาเป็น explicit ให้เห็นตามในเวปไซต์ ขณะเดียวกัน ขณะนี้ไม่ว่าจะเป็น explicit ที่ได้ออกมานี้ ก็จะมีอย่างมากมาย ที่ศูนย์ฯ สื่อ ซึ่งเป็นของจริง อันนั้นก็จะเป็นเรื่อง explicit มาสู่ explicit ขณะเดียวกันเราก็พยายามโยงในเรื่องของ explicit ที่ได้จาก tacit เรื่องเล่านั้น ย้อนกลับมาหาทฤษฎี ก็จะเห็นได้ว่า เวลาที่เราเล่าเรื่องกันเยอะๆ tacit เหล่านั้น มันไม่อยู่ที่พฤติกรรมมนุษย์เท่านั้น ถ้ามองไปลึกๆ ดีๆ มันจะอยู่ในพฤติกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น learning theory, social model มันก็จะย้อนเข้ามาสู่ทฤษฎีเหล่านี้ และเราก็จะเอากลับมาคุยกันในกลุ่ม

... คำถามที่ว่า เกลียวของกรมอนามัยหมุนไปถึงไหนแล้ว ... มันหมุนไปพร้อมๆ กันแบบคู่ขนาน เพียงแต่ว่า ลดหลั่นไม่เท่ากัน แต่ KM Team กลาง ก็ได้พยายามหยิบทุกอย่างใส่กล่อง และเผยแพร่ให้ทุกคนได้เห็นชัดขึ้น นี่ก็คือ เรื่องแผน KM ก็ไม่มีอะไรยากสำหรับกรมอนามัย แต่ถามว่าง่ายไหม ก็ไม่ง่าย เพราะ อ.หมอนันทา ท่านเป็นที่ปรึกษา จะทราบดี 5 วันเต็มๆ ที่ดิฉันอยู่กับ Internet ที่พยายามทำความเข้าใจกับความหมาย นิยามที่เอกสารส่งมาให้ เป็นอะไรที่ไม่ง่ายๆ นัก แต่มาถึงวันนี้ ถ้าเราหยิบสิ่งที่ดีดี แบบฟอร์มก็จะช่วยให้เรามีวิธีคิดอย่างเป็นระบบ ก็จะเป็นตัวที่จะช่วยขยายความได้ว่า Design stage ต่างๆ หรือว่า KM Focus Area ในเรื่องของประเด็นต่างๆ ดิฉันได้นำขึ้น Kcenter หมดแล้ว เพราะฉะนั้น อะไรที่อยากได้คำตอบ กรมฯ มีการกำหนด Design stage อย่างไร ออกแบบอย่างไร ทุกอย่างจะใส่ไว้ Kcenter แล้ว ซึ่งสามารถไปเปิดจากแผนของกรมอนามัยได้

จุดเน้นของกรมอนามัย นอกจาก concept แล้ว เราจะมีเกณฑ์ประเมินการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นเกณฑ์ของกรมอนามัยเอง เราไม่ใช้ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เกณฑ์เหล่านี้เกิดจากความร่วมมือที่เราทำร่วมกันของคนกรมอนามัย และแต่ละหน่วยก็จะใช้เป็นหลักของการทำ self assessment โดยทุกคนจะกำหนด current ณ ปัจจุบันอยู่ตรงไหน target ที่จะไปคืออะไร หลังจากที่ประเมินตนเองเสร็จ ทุกคนก็จะเขียนแผน KM Team กลางไม่ได้บังคับว่า จะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมันจึงได้เกิดนวัตกรรม หรือ KM ที่มีหลายมิติ และก็มีความลึกใหญ่ไม่เท่ากัน มันก็เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้เราชื่นใจว่า ขอเพียงให้เขาทำ ก็จะมีทุกสิ่งทุกอย่างมาปรากฏให้เห็น และก็เป็นไปตามจริตของแต่ละองค์กร นั่นเป็นสิ่งที่เราพอใจ

เมื่อไรที่เขาสามารถที่จะเรียนรู้ จัดการกับแผนได้ด้วยตัวเอง พัฒนาคนของเราเองได้ และรู้ว่าเขาจะไปแค่ไหน สิ่งนั้นคือ ถึงการเริ่มต้นที่ว่า ท่านประธาน และ อ.หมอนันทา ให้อิสระกับคนทำงาน จึงเกิดผลงานที่มีให้เห็นในหลายๆ รูปแบบที่ท่านได้ชื่นชมกันในวันนี้ นี่ก็คือ ที่มาของแผน KM ของกรมฯ 

 

หมายเลขบันทึก: 49227เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท