บทบาทครูกับความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนานักเรียนในศตวรรษที่ 21


ครูในศตวรรษที่ 21

บทความเกี่ยวกับ  บทบาทครูกับความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนานักเรียนในศตวรรษที่ 21

                                ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช   ผู้ทรงคุณวุฒิ   ผู้เขียนหนังสือ “ครูเพื่อศิษย์”  กล่าวไว้ว่า หัวใจในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่การสอน แต่หัวใจอยู่ที่การเรียน ครูจึงยิ่งสำคัญ   เพราะต้องมีหน้าที่เป็นครูฝึกการทำงานของลูกศิษย์มากกว่าการสอนทั่วไป   “ครูจึงไม่เน้นสอน แต่ต้องตั้งคำถามไปเรื่อยๆ แม้กระทั่งเด็กดื้อ เกเร กระทำความผิด แต่ทำอย่างไรให้เด็กเหล่านั้นเกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยที่ไม่มีใครบอก เป็นเรียนรู้จากข้างใน ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงอยู่ที่การทำเอง ปฏิบัติเอง คิดเอง (Learning by Doing) โดยเริ่มจากการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project Base Learning) ทำให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ได้ดีนั้น ครูและนักเรียนสามารถทำร่วมกันได้”    “ครูจึงเป็นผู้ทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ ทำร่วมกันเป็นทีม และมีการปรับประเมิน ร่วมกันกับครู และนักเรียนเอง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนทักษะการทำงานเป็นทีม (Collaboration skill) ฟังคนอื่น แล้วก็เรียนรู้ความแตกต่าง ที่ต้องเกิดขึ้นมากกว่าการเรียนแบบแข่งขัน และถ้าจะให้ลึกต้องให้ครูชวนเด็กสะท้อนความคิดผ่านบทเรียน แล้วครูก็ชักชวนให้เกิดการคิดประเมินร่วมกัน เป็นลักษณะ “โปรเจ็คท์ซ้อนโปรเจ็คท์”

                                สังคมไทยในอดีตที่ผ่านมา บุคคลที่มีความรู้ มีประสบการณ์ที่ได้จากการสั่งสมตลอดชีวิต จะทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยไม่เน้นการตอบแทนหรือผลประโยชน์ ดังนั้น ผู้ที่ถ่ายทอดให้บุคคลนั้นเรียนว่า "ครู" คือบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ ที่ถ่ายทอดในสังคม มีหลากหลายสาขา เช่น ผู้ที่ถ่ายทอดดนตรี ก็จะถูกเรียกว่า "ครูดนตรี" ผู้ที่ถ่ายทอดศิลปะป้องกันตัว ก็จะถูกเรียกว่า "ครูมวย" เป็นต้น ต่อมามีการพัฒนาระบบการศึกษามากขึ้น ทำให้เกิดอาชีพครู มีค่าตอบแทน มีสถานที่ถ่ายทอดความรู้ จึงมีคนนิยมมาประกอบอาชีพนี้มากขึ้น มีสถานที่ฝึกหัดครูเพื่อทำหน้าที่คัดคนที่เก่ง คนดี มาทำการฝึกหัดเพื่อออกไปทำอาชีพครู รูปแบบการคัดเลือกก็คือการคัดคนที่เรียนดีที่สุด ดีที่สุด ต่อมาผู้คนที่ต้องการศึกษาขึ้น จึงมีการออกกฎหมายให้มีการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้นจึงมีความต้องการครูมากขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงมีการเร่งผลิตครูจำนวนมาก มีนักเรียนที่เลือกเรียนครูและเรียนจบมาแล้วเกินความจำเป็นเป็นจำนวนมากทั้งที่สองแข่งขันบรรจุเข้าทำงานเป็นครูได้ก็มีและสอบไม่ได้ก็มีมาก

                               

 

 

 

 

                                ดังนั้นครูในศตวรรษที่21   ตามความคิด  จะต้องเป็นครูที่มีความสามารถในหลายๆด้านและมีความสามารถที่รอบรู้และทันกับโลกที่มีการพัฒนาและครูในศตวรรษที่21  ต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่มีความชัดเจนมาขึ้นในด้านของการใช้เทคโนโลยี  เข้ามาจัดการในการจัดการเรียนการสอนที่ใหม่ๆ  กับผู้เรียนให้เหมาะสม   สู่การพัฒนานักเรียนในศตวรรษที่ 21     คือ

                1. ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเอง

                2. การเรียนรู้จะใช้ระบบเครือข่าย

                3. หลักสูตรจะถูกจัดแยกเป็นประเภท(catalogue curriculum) ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนหลักสูตรที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนเต็มเวลาในสถานศึกษาทั้งหลักสูตร(full time) หรือจะเรียนที่บ้านทั้งหมด หรือจะเลือกเรียนที่บ้านและเรียนที่ โรงเรียนบางเวลาก็ได้ (flexi– time schooling plan)

                4. มีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (personal learning plan)

                5. การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

                6. ครูมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ (learning agent)

                7. ระบบการประเมินจะหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้วัดเฉพาะความรู้ในแบบทดสอบเท่านั้น เช่น การสอบวิชาดนตรี จะไม่สอบเฉพาะภาคทฤษฎี ผู้เรียนต้องสอบภาคปฏิบัติด้วย เพราะผู้ที่ทำข้อสอบได้หมด อาจจะเล่นดนตรีไม่ได้เลย

                ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น รวมทั้งจากผลการวิจัยจำนวนมาก ในระยะไม่กี่สิบปีมานี้ ทำให้ทุกประเทศตื่นตัว และตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิรูประบบการเรียนรู้ ในสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อให้พลเมืองในประเทศของตนสามารถแข่งขันในเวทีโลก และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลก อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือจากครูและผู้บริหารสถานศึกษาโดยผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับ

 

 

 

 

กระบวนการจัดการเรียนการสอนส่วนตัวครูเองนั้นก็ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทและต้องเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ด้วย หากครูหรือผู้สอนยังคงใช้วิธีการเดิม ๆ  หรือมีความเชื่อแบบเดิม ๆ ในการสอน ก็จะทำให้นักศึกษาหรือผู้เรียนไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อออกจากสถานศึกษาไปแล้วทั้งนี้เนื่องจากโลกอนาคตนั้นจะมีงานที่ท้าทายผู้เรียนเป็นจำนวนมากและยังมีปัญหาอีกมากมายที่ผู้เรียนต้องออกไปค้นหาบูรณาการสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง และต้องรู้จักร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่น ซึ่งการที่จะผลิตคนให้มีคุณลักษณะข้างต้นได้อย่างครบถ้วน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผู้เขียนจึงหวังว่า หลักการต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น คงจะช่วยให้ผู้อ่านที่เป็นครูในสถานศึกษาหรือเป็นผู้สอนในสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะสามารถนำหลักการเหล่านี้ไปปรับใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์การเรียนการสอนของตนเองได้ไม่มากก็น้อย

 

 

 

 

นางพรพนา   ช่วยรักษา  

1067130     การจัดการความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

รหัสนักศึกษา  5555709003

หมายเลขบันทึก: 492133เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท