เจาะลึกความคิดสร้างสรรค์ที่มากับผลงาน R2R ของ กทน.ชลัญธร


เมื่อคืนได้เข้าไปให้ดอกไม้ไว้แล้ว  อ่านผลงาน R2R แล้วคิดถึงเรื่องหนุ่มเต้นโชว์กับหุ่นประดิษฐ์ การส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้เยาวชน

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/490986

ที่ได้เขียนไว้ ผมก็ได้กรณีตัวอย่างการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่ กทน.ชลัญธร บอกว่า "ความคิดบ๋อง ๆ"  ขึ้นมาทันที

ผลงานแรกก่อนได้รับรางวัล

 

“ ผลการรับรู้นวัตกรรมกราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน  ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา” 

ความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นตรงไหน

คำอธิบายของ กทน.ชลัญธร

“………เริ่มแรกจากการนั่งซักประวัติผู้ป่วยทุกๆวันนี่แหล่ะ  ชลัญ สังเกตเห็นว่า ผู้ป่วยมัก คุยกัน ไม่เรื่องหวย  ก็เรื่องหมอดู  ซึ่งเหมือนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยไปซะแล้ว …..”

เริ่มขึ้นตรงที่   "....สังเกตเห็นว่า …."

มีอะไรเป็นพื้นฐาน ที่ทำให้สังเกตได้

ผมคิดว่า  1. ความเป็นตัวตน หรือคุณลักษณะของ กทน.ชลัญธร   ที่กอร์ปด้วย

1) ประสบการณ์ เกี่ยวกับความเชื่อในหมอดูของคนไทย  รวมทั้งนิสัยใจคอของคนไทยโดยทั่วไป

2) ความใกล้ชิดกับปัญหา ที่ได้จากการซักผู้ป่วยทุกวันๆ  

3) ความสำนึกในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความปรารถนาดีอย่างจริงใจต่อผู้ที่จะรับผลจากงานของตัวเอง หรือ ลูกค้า หรือ ต่อผู้ป่วยในกรณีของกทน.ชลัญธร  

4) อารมณ์ดี ที่ใสสดที่ปรากฏอยู่ในคำพูดที่ว่า   “การวิจัยนี่ มาจากความคิดบ๊องๆ  ของชลัญ”  555 คนอารมณ์ไม่ดี คงไม่มีใครพูดว่ามันเป็นความ คิดบ๋อง ๆ ของฉันของผม  สำหรับ กทน. ชลัญธร นั้น ในบันทึกที่ผมอ่าน ล้วนแสดงออกถึง คนอารมณ์ดีไว้ในคำพูด

          2. กัลยาณมิตรของ กทน. ชลัญธร  ซึ่งได้ กนท.คุณหมอเอกภาพ เจริญสุข  หรือ G2K. Unity Full of Joy   (แปลว่า คุณหมอซึ่งเป็นสมาชิกของ โกทูโน)  ที่ท่าน มาพูดว่า “พี่โจ้ เราน่าจะมีคำทำนาย แบบการเสี่ยงเซียมซีดีมั๊ย “ ซึ่งก็ถือว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ ที่คิดว่ามีที่มาไม่ห่างจาก คุณลักษณะ 4 ประการของ กทน.ชลัญธร

ผลงานวิจัยของ กทน.ชลัญธร  ผลงานต่อยอดจากนวัตกรรมที่กล่าวมาแล้ว ที่ชื่อว่า  “ ผลการรับรู้นวัตกรรมกราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน           ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลพิมาย    จังหวัดนครราชสีมา” 

ที่พบว่า

ระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) หลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงของ  ลดลงจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ  .01 และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c)หลังการทดลอง พบว่า คะแนนการรับรู้นวัตกรรมกราฟชีวิตลิขิต เบาหวาน มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c)หลังการทดลอง ในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 

ที่ กทน.ชลัญธร ทำเป็นผลงานวิจัยได้ด้วยก็คงเพราะ กทน.ชลัญเรียนวิทยาศาสตร์มาใด้อย่างดี มีกระบวนการวิจัยติดตัวมาด้วย จึงช่วยให้ประสบความสำเร็จ ดังที่กล่าวว่า  “……ชลัญนี่วิทยาศาสตร์เต็มๆ ทดสอบสมมติฐานได้…..)

ผลงาน R2R ของ กทน.ชลัญธร ที่กล่าวมา จึงสรุปได้ว่า  ได้ทั้ง ผลงาน R2R

และที่มา ของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ของ กทน.ชลัญธร ได้แก่

1. ผลงาน R2R ผลงานวิจัยที่ยืนยันว่าระดับน้ำตาลคนไข้ลดลงได้ เพราะใช้กราฟชีวิตลิตเบาหวาน

(555 สุดยอดหญิงเก่งไทย พยาบาลไทย แม่หนูไจ่ไจ๋ อีกท่านหนึ่ง) 

2. ที่มาของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปใช้ส่งเสริมบุตรหลาน หรือแม้แต่ตัวเอง ที่ได้จากการหันไปดูความเป็นตัวตน  และจิตวิทยาศาสตร์ของ กทน.ชลัญธร  จนมีกัลยาณมิตรที่แสนดีอย่าง กนท.คุณหมอเอกภาพ เจริญสุข   อีกทางหนึ่ง

หากลึกลงไปอีกว่าทำไม กทน.ชลัญธร เป็นอย่างที่เป็น ก็จะน่าเป็นไปได้ว่า    กทน. ไม่อยู่ในข่ายของ "พ่อแม่รังแกฉัน"   ที่ได้เขียนไว้ 2 บันทึก

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/483092

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484227 

 

หมายเลขบันทึก: 491674เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จ๊าก!!!!..........เห้นชื่อตัวเองต๊กใจ..... ขอบพระคุณปู่ชัดมากค่ะ ให้เกียรติ ชลัญมากไปแล้ว ....เขินค่ะ .....เดี๋ยวมาคุยต่อ on tablet พิมพ์ไม่ถนัด ค่ะ

555 เมื่อคืนเข้าไปดูปุ๊บ ก็ปิ๊งเหมือนกัน ว่าพรุ่งนี้

จะเขียนเรื่องอะไรดี แซงติวที่นัดไว้กับท่าน (ท่าน จริงๆ นะครับ)

พอเห็นคำว่า คิดบ๋อง ๆ  รู้แล้วว่าต้องครีเอทีพอีกแล้ว555

เรือง ความคิดสร้างสรรค์ เป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้ได้มา

ต้องคิดในเรื่องการส่งเสริม บางคนเขาพรสวรรค์ บางคนต้องพรแสวง

กทน. ชลัญธร นี่คิดว่าเป็นประเภทพรสวรรค์

เคยเขียนเรื่อง Suggestion System  ของญี่ปุ่นไว้เมื่อสัก 20 กว่าปีมาแล้ว 

ชอบมาก ๆ   แต่ดูเหมือนไม่ได้นำมาใช้สักเท่าไร ในวงการพยาบาล

ใช้กันหรือเปล่า  ผมไม่ทราบ เพราะกรรมวิธีง่ายๆ ไม่ต้องถึงกับระเบียบวิธีวิจัย

ก็ได้ความคิดสร้างสรรค์ออกมามากมาย นำไปใช้ได้ด้วย

ขอบคุณแม่ไจ่ไจ๋ ที่ช่วยให้ได้หัวข้อการเขียนนี้ครับ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท