ตัวฉัน ใครกำหนด


          เมื่อวานนี้เห็นเด็กๆข้างบ้านเล่นเหยีบลูกโป่งกัน อย่างสนุกสนาน  สังเกตเห็นบางคน เป่าลูกโป่งลูกเล็กๆ  บางคนเป่าลูกโป่งลูกใหญ่ๆ  บางคน เอาสายคล้องที่ขาต่ำๆ บางคนคล้องสูง  การเล่นของเด็กเพียงหวังเหยียบลูกโป่งของคนอื่นให้แตก  ด้วยวิธีอะไรก็ตาม 

ภาพประกอบจาก

http://www.media.nitessurat1.org/news/news_pic/p89166171145.jpg

       แต่มานั่งนึกเกมส์นี้ไม่ใช่เพียงสนุกอย่างเดียว แต่ยังได้ข้อคิดอีกนะ ถ้าเราเปรียบลูกโป่งเป็นตัวเรานั้น  เราเป็นผู้กำหนดเองว่า  เราจะให้ลูกโป่งที่เป็นชีวิตเรานั้น เป็นลูกใหญ่ หรือเล็ก  ตำแหน่งที่อยู่ของลุกโป่ง  จะเอาไว้หน้าหลัง ข้าง นอกใน  น้ัน เราเป็นคนกำหนดทั้งหมด 

      ในเกมส์นั้น ผู้เล่นพยายามวิ่งไปเหยียบ หรือใช้วิธีการอื่นที่จะทำให้โป่งของเพื่อนแตก เปรียบได้กับแรงกะทบจากภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม นั่นเอง

      สำหรับลูกโป่งนั้นหากตึงไปเจอแรงกระทบจากภายนอก คือการกระแทกหรือกระทืบ ลูกโป่งก็แตกเร็ว เปรียบชีวิต ที่ว่าระบบกฏเกณฑ์มาก  พอมากเจอกับ เรื่องที่มากระทบจากภายนอก แค่เพียงเล็กน้อย ก็พลันรับไม่ได้ไปในเกมส์ อาจยังไมถูกใครเหยียบเพียงวิ่งกระแทกเม็ดหินเล็กๆ ก็แตกได้    หากเป่าซะเล็กเกิน ไป โดนกระแทะยังไงก็ไม่แตก เปรียบได้กับคนที่ไม่รับรู้อะไรเลย  ใครจะเป็นจะตายทุกข์ร้อนยังไงข้าไม่สนข้ามีความสุขของข้าใครจะทำไม  สิ่งแวดล้อมก็อาจ เป็นทุกข์เพราะท่าน  อย่างในการเล่นทำยังไงก็ไม่แตกสักที เหนื่อยแล้ว  คนอื่นพาลเซ็งกันหมด  แต่คุณยังหัวเราะชอบใจที่ไม่มีใครทำให้คุณแตกได้   แต่ในคนที่เป่าลูกโป่งแต่พอดี นั้น  กว่าจะแตกก็ต้องใช้เวลาแต่ก็ไม่นานเกินหมดสนุก 

   วิเคาระห์ตัวอย่างได้ดังตาราง

        

      ไม่มีใครรู้ความพอดีของการตึงหย่อนของลูกโป่งในตัวเรา แม้แต่ตัวเราเอง  แต่เราควรต้องรู้ว่า เวลาไหนเราควรตึงเวลาไหนเราควรหย่อน ให้รู้ภาวะแวดล้อม  และสิ่งที่มากระตุ้น แล้วปรับตัวความตึงหย่อน อย่างเหมาะสมลูกโป่งในตัวเราก็จะไม่แตกง่าย

    ดังมีคนเขียนไว้จำไม่ได้แล้ว เพราะชลัญคัดลอกไว้นานแล้ว  เขียนไว้ว่า  

         ทุกคนล้วนมีอารมณ์ด้านบวก  ด้านลบ  เช่น โกธร  กลัว  เสียใจ  ผิดหวัง  ถ้าอารมณ์ด้านลบมากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อตัวเอง  และบุคคลรอบข้าง  การที่แต่ละบุคคลจะเกิดอารมณ์  ได้มากหรือน้อย  เกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายใน และภายนอก  หากทุกคนเข้าใจถึงปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ด้านลบ รู้จักควบคุมและระบายอารมณ์  เตรียมรับมือกับสิ่งกระตุ้นภายนอก  ก็จะทำให้สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้   และจะสามารถอยู่ได้ในโลกนี้อย่างมีความสุข

 

ชลัญธร

 

 

หมายเลขบันทึก: 491486เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณพี่กำลังฝึก.. เดินสายกลางด้านความรู้สึกค่ะ

 

จัดให้เด็ก ๆ แข่งขันเหยียบลูกทีไร

เด็ก ๆ สนุกจนไม่อยากเลิกทุกทีเลยค่ะ

ถอดบทเรียนจากกิจกรรมได้ชัดเจน และน่าทึ่งมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท