ว่าด้วยเรื่องของไข้ ตอนที่ ๒


       ในตอนที่ ๑ นั้นเรามารู้จักระดับของไข้ กันแล้ว  มาต่อกันด้วยว่า ถ้าเราเป็นไข้จะจัดการตัวเองอย่างไร  ชลัญจะพูดแบบในภาพรวมๆ นะ  ไม่เด่ะวิชาการมาก  แต่จะเอาการประยุกต์ใช้มาให้นำไปปฏิบัติ เพราะฉะนั้นบันทึกนี้จะไม่มีการเปิดตำรา  แต่เป็นการกลั่นกรองจากสมองบาล  เผื่อเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตต่อไป  ของใครหลายคนที่มักมีปัญหาในการจัดการกับไข้ อย่างมีประสิทธิภาพ 

            ไข้นั้นมีอยู่ 4  ระดับ  แต่ ผู้อ่านจะย้อนว่า  ก็ ที่บ้านไม่มีปรอท แล้วคุณพยาบาลจะมาสอน ระดับไข้ไปทำไม  ก็มีเหตุผลนะ  ถ้าเป็นไปได้ซื้อประจำบ้านเลย  ซื้อที่ร้านขายยา  ให้ร้านเขาสอนให้พร้อม  รับรอง ด้วยความรักความผูกพันธุ์กันในครอบครัวนั้น  ต่อให้ได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาลที่ได้เกียรตินิยม อันดับหนึ่งนั้น   ก็ดูแลคนในครอบครัวคุณได้ดีเท่าคุณแน่นอน

            เพราะแพทย์ พบ.ดูแลเพราะงาน หรือหน้าที่

            แต่คุณ ดูแล ด้วยใจ และความห่วงใย 

            ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ออกมามันย่อมต่างแน่นอน

             แต่ในเมื่อไม่มีปรอท ก็ไม่เป็นไร ประเมินได้  จากอาการนี่แหล่ะ 

           คือเอาหลังมือ    ต้องเน้นว่าหลังมือนะ  สัมผัสกับผิวหนังของคนไข้  อาจเป็นที่หน้าผาก ลำคอ  ก็ได้   ความรู้สึกที่หลังมือจะบ่งบอกระดับของไข้ได้ดีพอควร ที่ห้ามเป็นผ่ามือ เพราะผ่ามือเรามักด้านจากการใช้ชีวิตปกติ  แม้ใครจะเถียงว่าตัวเองหน้าด้านกว่าผ่ามือ ก็ไม่ควรอย่างยิ่ง 

         หากเป็นไข้ต่ำๆ มักรู้สึกอุ่นๆ เล็กน้อย  ผู้ป่วยอาจรู้สึกครั่นเนื้อตัวเล็กน้อย  แทบไม่มีอะไรผิดปกติ ( ยกเว้นคนสำออย)  ถ้าเป็นเด็กมักเล่นได้กินได้ปกติ  

          หากไข้ปานกลาง  ผู้ป่วยมักรู้สึกปวดศีรษะร่วมด้วย  รู้สึกไม่สุขสบายเหนื่อยเพลีย  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ระดับสัมผัสที่หลังมือจะรูสึกร้อนขึ้น

            ถ้าระดับไข้สูง ถึงสูงมากนั้น  ระดับสัมผัสที่หลังมือ  จะร้อนมาก  มักสังเกตความไม่สุขสบายได้ชัดเจน เช่น หน้าแดง  ปากแดง  ตาแดง   กระสับกระส่าย ถ้าเด็กจะซึมมาก  ผู้ใหญ่มักอยากนอนอย่างเดียว  นั่งแทบไม่อยู่จะวิงเวียนร่วมด้วยก็ได้ 

           นี่คือวิธีการประเมินง่ายๆ จากอาการ 

          ไม่ต้องบอกว่า ฉันไม่ได้เรียนพยาบาลมา ฉันไม่รู้  ไอ้ประมวนอาการแบบนี้ พบ.ก็ไม่ได้เรียนตรงๆ หรอก  นี่ก็สรุปรวบยอดให้ประเมิน กันได้คร่าวๆ

         เอ้า .... เป็นไข้ แล้วทำไงต่อ  ทำได้ 2 ทางคือ  1. ยาลดไข้   2. การเช็ดตัว 

           ในวันแรกที่เป็นไข้ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม  คุณทำแค่ 2 อย่างนี้ หากไม่มรอาการ อื่นร่วมด้วย  เช่น  ถ่ายเหลว  ถ่ายเป็นมูกเลือด  หายใจหอบ  อาเจียนมาก  ปวดท้อง 

          ไม่ต้องตื่นตูม  ไป รพ.แพทย์ ก็ให้ทำ แค่ 2  อย่างนี้เท่านั้น  แล้วแถมให้แค่ยาพารากลับมากินอีกต่างหาก  แล้วจะพาลโกธรแพทย์ไปอีก 

          มาดูอย่างแรก คือการเช็ดตัวลดไข้   เห็นคนไข้เช็ดตัวให้ลูกแล้วขัดเคืองใจยิ่งนัก  หมวยน้อย นี่ไข้ 40 ‘C นี่  ไม่เคยมี ชัก  เช็ดตัวให้กินยาพาราแค่นี้แหล่ะ  3 วันหาย  

           เห็นบางคน นั่งถือผ้าชุบน้ำ ชุบหน้าให้ๆคนไข้ นั่งชุบๆ แบบขัดเสียมิได้   การเช็ดตัวมันต้องเช็ดให้เป็นเรื่อง เป็นราว  คือถอดเสื้อผ้าออกหมอเลย  ถ้าเป็นเด็กนะ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ก็เหลือไว้ ให้เขาสักหน่อย เสื้อยืดหลวมๆ  แขนสั้น  กางเกงขาสั้น ก็ ใช้ได้   ใช้ผ้าอย่างน้อยสุดขอสัก 3 ผืนไป๊  ผืนแรกนี่ จริงๆถ้ามีหลายผืน ให้วางไว้ทุกซอกหนีบของร่างกาย  แต่ถ้ามีแค่ 2 ก็สลับไปเรื่อยๆ  แนะนำให้ ให้เปลี่ยนผ้าชุบน้ำทุก 2-3 นาที  ไม่ต้องใช้นาฬิกาจับเวลา นะ ประมาณเอา  คือจับดูที่ผ้าอุ่นๆ เป็นใช้ได้ เปลี่ยนเลย  การวางผ้าบนศีรษะ ไม่ได้ช่วยอะไรมากมาย   ผ้าที่ใช้เช็ด  ก็ให้เริ่มเช็ดจากใบหน้า  ลำตัว แขน ขา  แนะนำให้เช็ดเช้าหาหัวใจทางเดียว ไม่ต้องถูกลับไปมา  ให้ความเย็นมันย้อนกับกระแสการไหลของเลือด   จะทำให้อุณหภูมิลดลงเร็วขึ้น  ส่วนบริเวณอวัยวะเพศนั้นสำคัญต้องเช็ดด้วย  แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ วัยหนุ่มสาว  คนเช็ดไม่ต้องหวังดี เช็ดให้เขานะ  ให้เขาล้วงเช็ดเอง  และผ้าควรเป็นคนละผืนกับเช็ดหน้านะ  มัน หยะแหยงยังไงไม่รู้ แต่ถ้าไม่มีก็เอาไว้เช็ดหลังสุด  ใครเป็นไข้ลองทำดู  จะรู้สึกสบายอย่างบอกไม่ถูก  เท้านี่สำคัญ  ให้เอาเท้าจุ่มน้ำล้างในกะละมังสัก 2 นาที  จะรู้สึกสุขสบายมาก  แทบไม่ต้องกินยาลดไข้   เลย  แต่ห้ามน้ำไปจุ่มทั้งตัวโดยเฉพาะในเด็กนี่อันตราย  การน้ำเอาเด็กไปจุ่มน้ำในกะละมัน  อาจส่งผลให้ สมองขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน  จาก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายอย่างรวดเร็วนั่นเอง พยาบาลที่ไหน  ปฏิบัติออยู่ก็เลิกซะ  วิธีนำเด็กจุ่มกะละมังนี่ถือว่า  เป็นการทำบาปอย่างใหญ่หลวง  อยากให้ไข้ลดเร็วเพราะขี้เกียจเช็ดแต่ผลที่ตามมานั้นไม่คุ้ม แน่  น้ำที่ใช้เช็ดนี่ เป็นน้ำธรรมดา  เปิดจากก๊อก น้ำนี่แหล่ะ  ห้ามใช้น้ำเย็น  ถ้าอากาศหนาวให้ใช้น้ำอุ่นได้ และอีกอย่างบางคนอาจเคยได้ยิน  การผสมแอลกอฮอล์ ลงไปในน้ำเพื่อเช็ดตัว ถ้าเราไม่ใช่แพทย์พยาบาลอย่าทำเองเป็นอันขาด ผลไม่ต่างจากการจับเด็กแช่ในกะละมัง  เพราะหลักการเช็ดตัวลดไข้คือการนำพาความร้อน  และพอผสมแอลกอฮอล์ มันดันเพิ่มจากการระเหยอีก  อุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว อันตราย  การเช็ดตัวใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที  ถึงจะมีประสิทธิภาพ   

           ในตอนที่ ๒ นี้ก็จะขอพูดถึงเรื่องการเช็ดตัวลดไข้ก่อน เดี๋ยวตอนหน้ามาดูการให้ยากัน    

 

ชลัญธร  ตรียมณีรัตน์

 

 

หมายเลขบันทึก: 491345เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท