สัมมนาระดมความคิดเห็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”


การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ AEC ไม่ใช่เรื่องขององค์กรใด องค์กรหนึ่ง บุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่เป็นส่วนหนึ่งของทุกคนที่จะร่วมมือกันครับ

สวัสดีครับ ชาว Blog ทุกท่าน,

            เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2555 มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับมอบหมายจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้จัดโครงการ สัมมนาระดมความคิดเห็น เรื่อง “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถ.วิภาวดี-รังสิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานด้านการบริหารจัดการสู่แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ และขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   โดยได้รับเกียรติจาก ท่านองคมนตรีอำพล เสนาณรงค์ มาเป็นประธานพิธีเปิดการจัดสัมมนา  และวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิจากภาคการท่องเที่ยว และภาคกีฬาอีกหลายท่าน อาทิ คุณอุไรรัตน์  เนาถาวร   คุณภราเดช พยัฆวเชียร  คุณประเสริฐ ศิริตันติเวชกร   คุณมนตรี ชัยพันธุ์  และคุณชัย   นิมากร มาร่วมอภิปรายร่วมกัน โดยช่วยบ่ายของการจัดสัมมนา ได้มีการแบ่งกลุ่ม Workshop เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มการท่องเที่ยว และกลุ่มการกีฬา  ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ ผมจะนำมาแบ่งปันใน Blog นี้  โดยหากท่านใดมีคำแนะนำ หรือความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างไรขอเชิญแลกเปลี่ยนใน Blog นี้ ร่วมกันครับ

ขอบคุณครับ

จีระ  หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 490673เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องท่องเที่ยวและกีฬา

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2555

โดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

นำเสนอผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มการท่องเที่ยว

จุดอ่อน

  1. เรื่องของภาษาการสื่อสาร เพื่อการรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยว  ต้องคิดว่าต้องมีการสื่อสารอย่างไรให้นักท่องเที่ยวประทับใจ
  2. มีความอ่อนไหวในการรับวัฒนธรรมต่างชาติได้ง่ายเกินไป  จนหลงลืมการสืบทอดวัฒนธรรมของเราเอง
  3. ค่าจ้างแรงงานไม่เหมาะสม  อาจจะมากหรือน้อยเกินไป ควรจะต้องทำวิจัยว่าอาชีพไหนควรได้เงินเท่าไหร่
  4. ผู้ประกอบการรายเล็กมีมาก แต่ขาดการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพให้แข่งขันกับประเทศอื่นได้
  5. ขาดการบริหารจัดการข้อมูล และฐานข้อมูลที่ดี
  6. ขาดความเข้มงวดเรื่องกฎหมายท่องเที่ยวที่ดี
  7. ขาดการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
  8. ขาดการดูแลเรื่องการรักษาทรัพยากรท่องเที่ยว

จุดแข็ง

  1. มีบุคลากรที่มีคุณภาพ
  2. มีสถาบันการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
  3. มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามติดระดับโลก
  4. มีการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว
  5. มีระบบคมนาคมที่ดี
  6. มีสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว
  7. มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มาก

โอกาส

  1. เป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปีนี้ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 17
  2. สามารถเข้าประเทศไหนในอาเซียนก็ได้
  3. มีชาวต่างชาติมาลงทุนมากขึ้น

อุปสรรค

  1. ปัญหาเศรษฐกิจของยุโรป
  2. ภัยธรรมชาติ

แนวทางการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อม 

  1. มาตรฐานในการจัดการให้สินค้าท่องเที่ยวมีคุณภาพ ในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว และการบริการ
  2. การพัฒนาขีดความสามารถในด้านการท่องเที่ยว เรื่องสภาพสิ่งแวดล้อม
  3. ภาคราชการ และสมาคมธุรกิจต่างๆต้องมีการพัฒนาทั้งในเรื่องของกฎระเบียบ และวิธีการทำงาน
  4. ต้องมีงานวิจัยเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
  5. ฐานข้อมูล และระบบ IT ต้องเร่งพัฒนาให้เกิดขึ้น
  6. มีการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ

Commentator

คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

  • การพัฒนาอะไรก็ตามควรเริ่มต้นที่ผู้นำ ต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจน ขึ้นอยู่กับ Stakeholdersด้วย ทำอย่างไรให้เอา Passion มาทำให้ผู้นำรู้สึกถึงความมีส่วนร่วม และคิดถึงวิสัยทัศน์
    • องค์กรจะแข็งแกร่งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจ้าของ
    • ทำอย่างไรถึงเติมทักษะ หรือ Skill ต่าง ๆ ได้อย่างดี
    • ทำอย่างไรถึงจัดการให้ได้ดี

อาจารย์ทำนอง  ดาศรี

  • Key word มี 3 คำ คือ Capacity ,บุคลากร  และ Product  
  • หน่วยงานที่ดูแล  ต้องคำนึงถึง

1. การกระจายแหล่งท่องเที่ยวให้เขาอยู่

2. เรื่องราคา ต้องมีมาตรฐานเรื่องโรงแรม ราคาสินค้า  พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เหมาะสม 3. ที่สำคัญคือการบริหารจัดการ และโอกาสต่าง ๆ ควรมีการใช้ระบบ Market Oriented มากขึ้น

 

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  • เราต้องระมัดระวังถึงจุดอ่อน คือการเปิดโดยใช้ปริมาณเป็นส่วนหลัก
  • ระวังในเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ในแผน ที่ทำเรื่องนี้ควรมีการ Subsidize Training ที่มีคุณภาพ ให้เพิ่มมาตรฐานกับคุณภาพ
  • ตัวละครตัวแรกคือ Entrepreneur , กลุ่ม อบต. เทศบาล ,ประชาชน ให้ Target กลุ่มที่เป็น Leader
  • จุดอ่อน คือ ไม่มี Adaptability , ไม่เปลี่ยน Mindset
  • ความเป็นเลิศไม่ได้มาที่กลุ่มข้างนอกอย่างเดียว
  • ดังนั้นข้อแรกที่กระทรวงฯ ต้องระวังคือ อย่าลดสิ่งที่มีคุณภาพ ทำอะไรก็แล้วแต่ทำให้มีมาตรฐาน   
  • การขาด How to Execute  ดังนั้นเรื่องการพัฒนาคน ควรระมัดระวังเรื่องทำให้สำเร็จ

 

 

 

นำเสนอผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มการกีฬา

คุณธงชัย วัฒนศักดากุล

สถานการณ์ปัจจุบัน

  • ถ้าเปรียบประเทศอาเซียนประเทศไทยเราคือ 1 อย่างเช่น ไทยได้ 2 เหรียญทองในกีฬาโอลิมปิค  ส่วนกีฬาอาเซียน ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะอยู่ในอันดับต้น ๆ
  • การเข้าสู่ AEC มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อที่รวมกลุ่มประเทศอาเซียนเป็น 1 เดียว เพื่อแข่งขันหรือรวมการทำธุรกรรมทุกอย่างทั่วโลก  2. เมื่อเข้า AEC ประเทศไทยถือได้ว่ามีความแข็งแกร่งในด้านกีฬา จึงถือว่าเป็นจุดเด่นให้ประเทศไทยเราได้เปรียบ

จุดแข็ง

  1. การกีฬาเก่งและเป็นหนึ่งได้
  2. คุณสมบัติของคนไทยเป็นนักสู้
  3. มีความเชี่ยวชาญคือการเป็น Sport Organization  มีความเชี่ยวชาญทางการจัดการแข่งขัน  อย่างเช่น ในกรณีที่พม่าไม่มีความเชี่ยวชาญทางการจัดแข่งขันอาจให้ประเทศไทยเสนอการจัดไปได้
  4. ประเทศไทยมีบุคลากรทางการกีฬามากมาย มีผู้รู้เยอะ  มีสหพันธ์ต่าง ๆ มากมาย สามารถ Convince ให้ประเทศสมาชิกเข้ามาและเห็นว่าประเทศไทยเป็นผู้นำได้
  5. Facility ในเรื่อง สนามแข่งขัน บุคลากรทางการแข่งขัน การผลิตอุปกรณ์กีฬาหลายอย่างผลิตในประเทศไทย แสดงว่าไทยมีความพร้อมสามารถเป็นผู้นำทางกีฬาในอาเซียนได้
  6. ประเทศไทยมีกีฬา 6 ขั้นตอน  อย่างเช่น มีกีฬามวลชน ดูแลโดยกรมพลศึกษา มีการสนับสนุนให้นักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ  การกีฬาอาชีพ มี กกท. ดูแล  แต่ถ้าเลยจากกีฬาอาชีพไม่มี Career Path ที่ชัดเจน ดังนั้นการให้คนเสียสละมาเล่นกีฬาอาชีพ  ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐว่าทำอย่างไรให้เด็กของเราเล่นกีฬาแล้วสามารถเลี้ยงชีพได้
  7. วิทยาศาสตร์การกีฬา ข้อดีคือทำให้พัฒนาการเล่นกีฬาไม่บาดเจ็บในอนาคต  ดังนั้นคนที่เรียนวิทยาศาสตร์การกีฬาต้องมีความเชี่ยวชาญ อย่างเช่นในเรื่องโภชนาการทั้งหลายก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ

 

จุดอ่อน

  1. แต่ละประเภทไม่มีมาตรฐานทางกีฬาที่ชัดเจน
  2. สนามกีฬาไม่มีความพร้อม อุปกรณ์ไม่มี ครูฝึกไม่ชำนาญ
  3. ไม่มี TQA
  4. Sport  Management เพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น แต่หลายประเทศ เช่นเกาหลีเห็นความสำคัญทางด้านนี้และลงทุนทางด้านนี้มาก และทำมานานแล้ว
  5. Sport Science  ในไทยเริ่มแล้วแต่ยังไม่มากเท่าที่ควร
  6. Sport  Medicine  บางครั้งนักกีฬาได้สารอาหารที่ไม่ต้องการ  เรื่องโภชนาการก็จัดอยู่ในส่วน Sport Medicine นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทำเรื่องนี้ดีแล้วจะช่วยลดโรคต่าง ๆ ได้ดี
  7. ไทยใช้เงิน Motivate ให้นักกีฬาทุ่มเท ทำให้คนเห็นแก่เงิน เล่นกีฬาเพื่อเงิน เราต้องสร้างให้นักกีฬามีความภูมิใจในการติดทีมชาติ  กีฬาใช้เงินประสบความสำเร็จได้จุดเดียว แต่ไม่ยั่งยืน กลับกลายเป็นอุปสรรคของผู้ฝึกสอน  ดังนั้นจึงทำให้กีฬาประเภททีมมีความลำบาก  เพราะกีฬาประเภททีมเป็นการสร้างให้คนมีคุณภาพ และทำงานเป็นทีมเวอร์ก
  8. การมุ่งเน้นเรื่องชนะ เรื่องเงินรางวัล แต่คุณภาพของคนไม่เน้น กีฬาเน้นการสร้างให้คนมีศักยภาพ คุณภาพ แต่ผู้บริหารสอนแค่ให้คนชนะอย่างเดียว อยากให้ดูตัวอย่างกีฬาบาสเกตบอล สอนให้ตัดสินใจเฉพาะหน้า มีภาวะผู้นำ ฯลฯ
  9. ถ้ามีโอกาสอย่าให้เงินเป็นตัวชี้ความสำเร็จ

โอกาส

  1. กีฬาสร้างให้เกิดอาชีพธุรกรรมต่าง ๆ มากมายถ้าเราได้ร่วมกัน Brainstorm ความคิดเหล่านี้
  2. เสนอการเตรียมพร้อมสู่           AEC
  3. กีฬาสามารถเผยแพร่วัฒนธรรมที่สวยงาม อ่อนโยนที่ประทับใจ เช่นเผยแพร่พิธีไหว้ ให้ถูกต้องสวยงาม เป็นทูตสัมพันธไมตรี มีโอกาสให้คนรุ่นใหม่เป็นเพื่อนกันมากขึ้น
  4. กีฬาช่วยให้ประเทศชาติประหยัดเงินเรื่องยา  เราต้องพยายามให้คนเรามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
  5. การสร้างให้เป็น Sport Industry สามารถครอบคลุมได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการบริหาร การจัดการ Sport Tourism ทำอย่างไรให้หน้าฝนสามารถนำมาสร้างเป็น Sport ได้ เช่นอาจมีการทำเป็น Rainy Sport ได้ พวกเราต้องคิดนอกกรอบ คิดสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น
  6. กีฬาสำหรับคนพิการเราจะสร้างโอกาสอะไรให้กับกลุ่มนี้ได้บ้าง
  7. การคิดเรื่อง Senior Sport หรือ Master Sport (กีฬาสำหรับผู้อาวุโส)

ความเสี่ยง

  • ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ บางคนบอกว่าภาษาเป็นอุปสรรค ดังนั้นทำอย่างไรที่จะเอาภาษาไทยเป็นโอกาส เป็น Barrier ให้กับประเทศอื่นเขา
  • ไม่มี Founder Program ทุกคนสามารถเข้ามาทำงานได้  อย่างเช่นการทำให้มี License ทางการกีฬา
  • ทุนต่างประเทศจะใช้เงินซื้อหมด มีหลายองค์กร หลายธนาคารที่ต่างประเทศเข้ามา เราจะมีอะไรปิดกั้นได้บ้าง ไม่เช่นนั้นเราจะเป็นแค่ลูกจ้างเท่านั้น  ต้องมีมาตรการเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการของไทย รัฐมีภาษีอะไรบ้าง

 

มาตรฐานของกีฬาที่ควรจะเป็น

  • การนำกีฬาไปสู่           AEC   Sport Industry แบ่งเป็นหลายส่วน คือชนิดกีฬา การเล่นกีฬา และนักกีฬา  ซึ่งมาตรฐานในอาเซียนประเทศไทยถือว่าดีมาก
  • ขาดสนาม ขาดสถานที่ ขาดโค้ช เงินทุนสนับสนุน ถ้าจะยกมาตรฐาน ก็จะเป็นการวิจัยต่อไป
  • กีฬาผู้สูงอายุและคนพิการขาดการสนับสนุนอย่างมาก
  • Sport Tourism โยงถึงสถานที่ท่องเที่ยวการพักผ่อน เส้นทางเดินทาง ซึ่งไทยมีพื้นฐานดี
  • การบริหารจัดการ ต้องการความเชื่อมโยง  มีความกระตือรือร้น และริเริ่ม ปัจจุบันมี 6 มหาวิทยาลัย ด้าน Sport Management แล้ว เป็นต้น
  • อุปกรณ์กีฬามีมาตรฐาน มีชื่อเสียงระดับโลก มีการผลิต มีสนามใหญ่ที่มีความพร้อม แต่สำหรับสนามเล็กยังขาดมาตรฐาน
  • บุคลากรทางการกีฬา มีนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่เป็นกำลังสำคัญ  มีนักบริหารจัดการ
  • Sport Clinic มีพยาบาลที่ดี ถ้าภาครัฐสนับสนุนอย่างดี ก็สามารถใส่บุคลากรเข้าไปช่วยได้

สรุปคือ

  • มาตรฐานบุคคล ดีถึงดีมาก แต่ต้องพัฒนาเพิ่มขึ้น
  • เราควรไประดับ World Class ไม่ใช่มองแค่ AEC อย่างสิงคโปร์ทำ เราต้องมองไปล้ำหน้ากว่านั้น 
  • การหาจุดเด่นของตัวเองบุคคล และการบริหารจัดการทางการกีฬา
  • พัฒนาภาษาอังกฤษให้ไทยเป็นภาษาอาเซียน

แนวทางการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อม

1 . เสริมจุดแข็ง

      1.1 รัฐควรสนับสนุนเรื่องการหารายได้จากภาษี  ให้เงินนักกีฬา หาเงินมาช่วยแก้จุดอ่อนทั้งหมด

1.2  มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม  เน้น Sport Tourism  ดึงหารายได้เข้าประเทศ

1.3 Logistic เส้นทางเชื่อมต่อ ไม่จำเป็นต้องนั่งเครื่อง แต่ทำอย่างไรให้ไทย เป็น Hub

1.4 เน้นการเชื่อมโยงในทุกภาคส่วน

1.5 ให้เพิ่มกีฬาชุมชน

1.6 จัดงบประมาณ

  1. การเปลี่ยนจุดอ่อนเป็นจุดแข็ง

2.1 แม้ว่าเราด้อยภาษาอังกฤษ เราต้องหาวิธีให้คนเรามีความมั่นใจและรู้ภาษาง่าย ๆ ทางการกีฬา

2.2 การเพิ่มหลักสูตรการเล่นกีฬา อยากให้มีหลักสูตร Sport Management มากขึ้น

3. วิสัยทัศน์

3.1 การระดมวิสัยทัศน์  เอากลุ่มต่าง ๆ เข้ามา เน้นการเอา IT เข้ามาใช้ ทำ Website กระจายข้อมูล

3.2 การจัด Organizer รัฐต้องเป็นตัวช่วยสร้างโครงการนี้ให้ได้

3.3 Sport Medicine

4. สิ่งที่ต้องริเริ่ม

4.1 การสร้างกีฬาอาชีพให้ทำรายได้ให้ได้จริง ๆ

4.2การทำ Road Map ต้องมีคนริเริ่ม

4.3 ทำคู่มือในทุกภาคส่วน

4.4 ต้องการให้ภาครัฐช่วยเชื่อมโยงทุกภาคส่วน

4.5 การดึงกีฬาและการท่องเที่ยวมาทำงานร่วมกันจริง ๆ

สรุป เราควรตั้งเป็นวาระแห่งชาติในการพัฒนาคนด้านต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อขโมยซีนสิงคโปร์

  • ถ้าทำเป็นงานวิจัยจะดีมากเพราะช่วยร่นระยะให้หัวขบวนกับท้ายขบวนไปด้วยกัน  การพัฒนาองค์ความรู้ให้คนรุ่นใหม่แทนรุ่นพี่
  • แย่งพื้นที่พัฒนาคน เพื่อเป็นผู้นำและ Hub ของอาเซียนด้านกีฬาและการส่งเสริมกีฬาให้ได้

Commentator

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  1. สรุปมี 3 เรื่องที่เน้นคือ คน ,Facility ,บริหารดูแล
  2. พื้นฐานทางการกีฬา ประเทศไทยยังไม่แข็ง
  3. ควรมีการทำคู่มือการบริหารจัดการทางกีฬา
  4. ทำอย่างไรที่จะพัฒนากีฬาให้มีความน่าภูมิใจ ทำอย่างไรให้เป็นนักกีฬาอาชีพ

คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

  1. Road map ที่ขาด ให้มีการทำ Alignment ภาครัฐ และเอกชน  และเสนอเป็น Roadmap ในระดับประเทศ
  2. Keyword คือ นักกีฬาอาชีพ ปัจจุบันเอาเงินเป็นตัว Drive ถ้ามีการสร้าง Roadmap กีฬาจะเป็นตัวสร้างรายได้ให้กับคนในวงการกีฬาเอง

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  • มีแนวมากกว่า 3 แนว เรื่อง 1. Sport Industry 2. Youth +ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  3.วัฒนธรรม
  • อยากให้เน้นเรื่องการศึกษา Creativity
  • ต้องทำให้กีฬาอยู่ใน Main Street ของสังคม  และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท