หมออนามัย พิธีกรรมทางศาสนา(3)


9.พระพุทธรูปปางวันเกิดเรา หรือคนที่เราจะอุทิศให้ ขนาดตั้งแต่ 7 นิ้วขึ้นไป (อานิสงส์ที่เราจะได้รับคือสุขภาพกายเราจะดีขึ้นทรงตัว รูปงามขึ้น มีความเด่นท่ามกลางฝูงชน มีเสน่ห์ขึ้น ผีที่โมทนาจะได้แสงสว่างกายทิพย์ที่สวยงามขึ้น ซึ่งในเทวโลกเขาดูกันที่รัศมีกาย ใครรัศมีสวยมีบุญมาก)

10.ร่ม (อานิสงส์ที่เราจะได้รับคืออยู่ไหนก็ไม่เดือดร้อน สุขสบาย มีที่พึ่งร่มเย็น ผีโมทนาแล้วได้ ร่มหรือที่พักพิง)

11.อื่น ๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ ไม้ถูพื้น แปรงล้างห้องน้ำ ไม้กวาด (อานิสงส์ที่เราจะได้รับ ผิวพรรณผู้ที่ไม่สวย จะดีขึ้น นวลเนียนสวยขึ้น โรคที่เป็นจะทุเลาลง ไม้กวาดจะทำให้เราผิวงามพิเศษ เหมือนพระนางโรหิณี)

12.เงินสัก 100 บาท ใส่ซองเขียนด้วยว่า ใช้ในกิจสงฆ์ส่วนรวมได้หมดทุกอย่าง (หากท่านนำไปใช้ ซื้อข้าวของมาทำภัตตาหารให้พระเณรเราก็ได้บุญสังฆทาน หากท่านนำไปสร้างโบสถ์เราได้บุญวิหารทาน เงินส่วนนี้จึงสำคัญมาก จะหนุนให้เราได้ลาภลอย) หากทำได้ครบตามนี้ทั้ง 12 ข้อ เราจะได้อานิสงส์มาก หากทำให้ผู้อื่น หรือผู้ล่วงลับ จะช่วยเขาได้มาก จากภพภูมิที่ลำบากจะสามารถเลื่อนภพภูมิขึ้นได้ แล้วเพียบพร้อมไปด้วยทิพย์สมบัติ หากทำให้ตนเองหรือครอบครัว จะหนุนดวงโชคลาภขึ้นมาก ทั้งทางโลกและทางธรรมจะคล่องตัวอย่างมาก

หมายเหตุ
          การถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญที่คนไทยเชื่อกันว่า เป็นการทำทานที่ได้บุญมาก เพราะ สังฆทาน เป็นการถวายทานที่ไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ผู้ที่ประสงค์จะทำทานจะเตรียมสิ่งของที่จะถวายทาน เมื่อพร้อมแล้วนำไปยังวัด บอกท่านเจ้าอาวาสว่า ต้องการถวายสังฆทาน ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์รูปใดมารับสังฆทานก็ได้ หรือจะเตรียมของแล้วนำของไปยังวัด ไปพบพระสงฆ์รูปใดก็แจ้งความจำนงขอถวายสังฆทาน ท่านก็จะทำพิธีรับสังฆทาน หากกำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง การทานนั้นก็ไม่เป็น สังฆทาน ของที่จะถวายสังฆทาน มักเป็นอาหาร และสิ่งของที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร เช่น สบง จีวร ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ เครื่องกระป๋อง นม อาหารแห้ง เป็นต้น รวมถึง ชา กาแฟ โอวัลติน และเงิน ตามความจำเป็น ตามความพอใจของผู้ที่จะทำสังฆทาน  ถ้าต้องการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ใด ผู้ถวายทานก็มักจะบอก หรือเขียนชื่อ นามสกุล ให้แก่พระภิกษุ เพื่อท่านจะได้ทำพิธี อุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ที่บอกชื่อนั้น ๆ การทำพิธีถวายสังฆทาน ไม่มีอะไรยุ่งยาก เมื่อนำสิ่งของไปและพระสงฆ์รู้ความประสงค์ ท่านก็จะให้จุด ธูป เทียน แล้วก็ว่า นโม 3 จบ แล้วกล่าวถวาย สังฆทาน ดังนี้

“ อิมานิ มยัง ภันเต ภัตตานิ สปริวารานิ ภิกขุสังคัสส โอโณชยาม โร ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สปริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากํ ฑีฆรตตํ หิตาย สุขาย ”
“ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ”
พระสงฆ์จบจะ “สาธุ” แล้วก็ถวายของที่เป็นสังฆทานทั้งหมดให้ท่าน แล้วท่านก็จะให้ศีล ให้พร ยถา สัพพี ผู้ถวายสังฆทานก็กรวดน้ำ แผ่ส่วนบุญกุศล เป็นอันเสร็จพิธีทำบุญถวายสังฆทาน
เอกสารอ้างอิง
...................................................................................................................................................................................................................................................
- พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง : บทบาทของคติชนกับสังคมไทย, สุกัญญา สุจฉายา,
กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
พิมพ์ครั้งที่ 1
- พิธีกรรม ใครว่าไม่สำคัญ, พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม, 2537
พิมพ์ครั้งที่ 2
- พิธีกรรม และ ประเพณี, แปลก สนธิรักษ์ เรียบเรียง กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2533
- สังฆทานกับการอุทิศส่วนกุศล, ปัญญา ใช้บางยาง นครปฐม : รติธรรม, 2550 พิมพ์ครั้งที่ 1
- นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฎร์ เล่ม 2 : ประเพณี เทศกาล และวันสำคัญทางพุทธศาสนา, ค้นคว้าเรียบเรียง: เบญจมาส แพทอง และคนอื่นๆ กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2550
พิมพ์ครั้งที่ 1

หมายเลขบันทึก: 489031เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความเชื่อ กับวิถีชีวิต และวิถีชีวิตกับศาสนา

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท