ชมรมเอ็มอาร์แห่งประเทศไทย


การรวมตัว รวมพลคนชอบเหมือนกัน คนทำงานด้วยเครื่องมือ คือ เครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยเอ็มอาร์ไอ มารวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพกิจกรรมที่ผมได้มีส่วนร่วมในประชุมวิชาการที่จัด โดยชมรมเอ็มอาร์แห่งประเทศไทย (MR Club of Thailand : MCT) ร่วมกับหลายหน่วยงาน ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

 

 

การประชุมนี้เป็นการรวมตัว เป็นการร่วมมือจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ หลายอาชีพ หลายหน่วยงาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในหัวข้อประชุมและสัมมนาเชิงวิชาการ ISMRM Global Outreach Workshop in Thailand 2012

 

โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ความรู้วิทยาการความก้าวหน้าทางเอ็มอาร์สมัยใหม่ งานวิจัย และเทคโนโลยีเอ็มอาร์ 

 

 

 

 

รศ.พญ.จิราพร เหล่าธรรมทัศน์ (คนขวามือในภาพ) ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นดำรงตำแหน่ง ประธานชมรมฯ เพื่อเป็นผู้นำ ที่ช่วยเหลือเป็นแรงขับเคลื่อนงานต่างๆในชมรม รวมถึงชมรมนี้ ต้องการบุคลากรที่เสียสละ เพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

อาจารย์ได้กล่าวว่า... เครื่องเอ็มอาร์ไอ ในบ้านเรา มีมากขึ้นถึงวัน เทคโนโลยีของเอ็มอาร์ก็มีความทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ รังสีแพทย์ รังสีเทคนิค นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ และ วิศวกรรมชีวการแพทย์ ต่างคนต่างทำงานเฉพาะในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง หรือสนใจ หากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะเกิดการพัฒนาที่ล่าช้า

 

การมารวมตัวของคนที่ชอบเหมือนๆกัน คนที่ใช้เครื่องมือคล้ายๆกัน ควรที่จะเปิดโอกาส เปิดเวลา และเปิดพื้นที่ สำหรับการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมมือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันต่อไป 

 

 

 

ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ โทมัส อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอ เครื่องเอ็มอาร์ไอต้นแบบที่สร้างโดยฝีมือของคนไทย

 

 

 

อาจารย์ และทีมงาน แสดงให้เห็นพลังของคนไทย ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีเอ็มอาร์ 

 

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำที่กล่าวว่า ...

คนไทย เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก

 

MRI 7.0 Tesla สามารถแสดงภาพที่มีรายละเอียดสูง เห็นพยาธิสภาพของอวัยวะได้ชัดเจนขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 1.5 Tesla

 

 

 

ภาพเอ็มอาร์ ที่แสดงให้เห็นถึงการติดตามการเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพสมอง เพื่อใช้ประกอบการรักษาโรค

 

เทคนิคการตรวจการทำงานของสมอง (Funtional MRI : fMRI) ที่ใช้เทคนิคการกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุในระยะเวลาสั้นๆ (EPI : Echo plannar imaging technique) สลับกันเป็นช่วงๆ เพื่อรับสัญญาณที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนในสมอง

 

 

ตลอดการประชุมที่ผ่านมา ผมได้รับรู้ ได้เรียนรู้เทคโนโลยีเอ็มอาร์ เพิ่มขึ้น หลายสิ่ง หลายอย่าง พยายามมองหาโอกาสพัฒนาให้กับตนเองและหน่วยงาน

 

และ

ผม ที่ได้นำเสนองานวิจัยการสร้างภาพเอ็มอาร์ในสัตว์ทดลอง ที่ผมสนใจต่อสมาชิกในการประชุมครั้งนี้ด้วย

 

 

กล่องของที่ระลึกสำหรับวิทยากรที่ได้รับในการประชุม

 

 

 

ขอบคุณทีมงานทุกท่าน ที่สามารถทำให้การประชุมครั้งนี้สำเร็จได้เป็นอย่างดียิ่ง

 

หวังว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเทคโนโลยีเอ็มอาร์ จะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

 

โปรดติดตาม... และหากมีโอกาส เชิญเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 488937เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นหนึ่งเดียว  ส่งกำลังใจมาเชียร์

 

ขอบคุณค่ะ มาupdate ความรู้ด้านรังสีวิทยาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท