Collimator นั้นสำคัญนะ จะบอกให้


การปรับเปลี่ยนขนาดของ Collimator ช่วยลดปริมาณรังสีแก่ผู้รับบริการและผู้เกี่ยว แต่มีแพทย์หลายคนยังไม่ทราบ ดังนั้นการสื่อสาร การแนะนำให้ทราบ เป็นแนวทางหนึ่งของนักรังสีเทคนิค

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพจากการที่ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่กำลังทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการ Fluoroscopy อยู่พอดี

 

 

ภาพที่เห็น เป็นการตรวจวินิฉัยด้วยการส่องกล้องร่วมกับการใช้เครื่อง Fluoroscopy เพื่อต้องการหาความผิดปกติในปอด


เมื่อท่านเห็นภาพนี้ ท่านคิดอย่างไร?



ผมได้สอบถามกับผู้เกี่ยวข้องว่า...

ทำไมเปิด Collimator กว้างจังเลย


เจ้าหน้าที่ประจำห้อง แจ้งว่า... แพทย์ต้องการดูภาพแบบนี้


ผมได้ให้คำแนะนำว่า ... ลองลด Collimator ให้แคบลงได้ไหม (ดังภาพ)



วิธีนี้ ได้ทำการปรับ Collimator ให้แคบลง ขณะที่แพทย์กำลังตรวจผู้ป่วยและ Fluroscopy อยู่

ซึ่งแพทย์ก็ไม่ได้บ่น หรือ ตำหนิ อะไรออกมา



การตรวจนี้ ใช้เทคนิคไม่ยุ่งยากอะไร

เพียงแต่... ลดขนาดของ FOV : Field of view ด้วยการปรับ Collimator ในด้านต่างๆ จะทำให้พื้นที่ของภาพลดลง แสดงเฉพาะในบริเวณที่เราสนใจเท่านั้น


เทคนิคนี้... สามารถช่วยลดปริมาณรังสีในการตรวจ ลดความเสี่ยงภัยจากรังสีแก่ผู้ป่วยและแพทย์ผู้เกี่ยวข้องได้

 


ข้อเสนอแนะ

- นักรังสีเทคนิค ควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักการลดปริมาณรังสีเหล่านี้กับแพทย์ผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้และเข้าใจ

เนื่องจากแพทย์บางสาขา เมื่อมาใช้งานเครื่องมือทางรังสีนั้น อาจจะไม่รับทราบเทคนิค หรือไม่ทราบวิธีลดปริมาณรังสี ดังกล่าว


- ภาพที่เห็น จริงๆแล้ว หากทำได้ ผมอยากลดขนาดของ Collimator ลงอีก เพราะผมคิดว่า ภาพที่ปรากฏพื้นที่ของการแสดงภาพยังกว้างอยู่ 



- การสื่อสาร มีความสำคัญ หากรังสีเทคนิคได้สื่อสาร ได้พูดคุยกับแพทย์ผู้ร่วมตรวจ ว่า... ต้องการดูภาพในลักษณะใด ในการตรวจวินิจฉัยนั้น เราจะได้เลือกเปิด Collimator ได้หลายขนาด เลือกให้สอดคล้องกับความต้องการของแพทย์ได้ และช่วยลดความเสี่ยงภัยของผู้ป่วยและแพทย์ลงได้



โอกาสในการพัฒนา

เปรียบเทียบปริมาณรังสี เมื่อใช้ FOV ต่างกัน จากนั้น เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับเปลี่ยน Collimator ในการตรวจวินิจฉัย แสดงเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ 



ที่นำเสนอมานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการนำความรู้เรื่อง การป้องกันอันตรายจากรังสีมาใช้ในงานประจำ


หวังว่าคงเป็นประโยชน์และ อาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการทำงานด้านรังสีเทคนิคสู่การวิจัยได้ในอนาคตต่อไป ครับ




หมายเลขบันทึก: 488410เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 

ได้รับความรู้....ที่เป็นนวัตกรรม  (Innovation) ....ได้ความรู้ใหม่ค่ะ

- ขอบคุณนะค่ะ....สำหรับความรู้นี้....ดีม๊ากมากคะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ เป็นประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณนะคะ ที่คิดถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและเพื่อนร่วมงาน ขอให้มีความสุข ความเจริญนะคะ

แล้วเราก็รู้ว่าอะไรที่เราไม่ทำ เพราะคิดว่าเขาต้องการอย่างนั้น แท้จริงแล้วเป็นเราขาดจริยธรมมในการทำงานที่จะรับผิดชอบต่อการได้รับรังสีของผู้ป่วยและแพทย์

เรียน ทุกท่าน ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาแนะนำ นักรังสีเทคนิค แต่ละคนมีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน การให้คำแนะนำแก่แพทย์ที่อาวุโสกว่า ในบางครั้ง ในบางคน อาจจะไม่กล้า พี่ๆ ผู้มีประสบการณ์ ควรให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ดูแลแก่น้องๆ ความรู้ที่แท้จริง คือ การนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ ใช้ในทางที่ถูก ที่ควร ที่นำเสนอมานี้ ไม่ได้ต้องการจะกล่าวโทษใคร แต่เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้อง ตระหนักในบทบาทหน้าที่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท