การเรียนรู้บนฐานความรู้สึก


เขียนโดย วิเชียร ไชยบัง : ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา

    
     เราไม่ได้เชื่อความรู้มากนัก ลึกๆ แล้วเราเชื่อความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อสิ่งต่าง ความรู้มีไว้เพียงเพื่อเป็นเหตุผลอธิบายความรู้สึก
      เราเรียนรู้มามากมายว่ากินเหล้าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่เหล้าก็ดำรงอยู่ในสังคมมานานนับ
      เราซื้อฉลากกินแบ่งรัฐบาล ทั้งที่รู้ว่าโอกาสที่จะถูกนั้นเพียง 1:1,000,000
      บางครั้งการทดลองกินยาจริงกับก้อนแป้งอาจให้ผลต่อการรักษาไม่ต่างกัน
ความรู้สึกของมนุษย์ก่อตัวและจัดเรียงเป็นโครงสร้างในตัวเราก่อนที่เราจะมีความรู้ ความรู้ป็นเพียงตัวที่มาเกาะกับแกนความรู้สึกที่เรามีอยู่เดิมแล้วเท่านั้น เราอาจจะสลัดมันออกเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าเกิดมันขัดกับความรู้สึก
เรามักจำเหตุการณ์ในอดีตนานมาแล้วได้บางเหตุการณ์เท่านั้น และเหตุการณ์ที่จำได้นั้นมักจะเชื่อมกับความรู้สึกบางอย่างด้วยเสมอ อาจเป็นดีใจ เศร้าเสียใจ ตื่นเต้น กลัว เกลียด ขยาด เจ็บปวด ฯลฯ
ความรู้สึกยังเป็นที่มาของคุณธรรม และจริยธรรม เช่น เราเห็นลูกนกตกจากรัง คุณธรรมและจริยะธรรมไม่ได้กระโดดออกมาทันที่ แต่ความรู้สงสารและความรู้สึกคิถึงแม่ จึงทำให้เราแสดงจริยธรรมออกไปโดยนำลูกนกกลับไปไว้รัก เรารู้สึกปราบปลื้มที่ได้ทำอย่างนั้น และสั่งสมเป็นคุณธรรมความเมตตาในตัวเรา
การเรียนรู้เพื่อการจดจำประสบการณ์หนึ่งๆ นั้นจึงจำเป็นที่จะให้เชื่อมต่อกับความรู้สึกของเด็กๆ ประสบการณ์ที่จดจำมาเพียงเหตุการณ์เดียวอาจไม่ถึงความเข้าใจหรือนำไปใช้ได้ แต่เมื่อผ่านหลายๆ ประสบการณ์  การเชื่อมโยงเป็นโครงสร้างความรู้และโครงสร้างความรู้สึกก็จะเกิดขึ้น องค์ความรู้ที่อยู่บนเส้นสายของความรู้สึกก็จะใช้ได้จริง เป็นชีวิตจริงที่ผสมผสานทุกอย่างลงตัวแล้ว ซึ่งคุณธรรมกับความรู้จึงไม่ได้ แยกชั้นกันอยู่
หมายเลขบันทึก: 488126เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท