การพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน


โครงการศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาหลายปี ท่าทางจะไม่ไปไหนหรือไม่ก็ไม่ทราบได้กลายมาเป็นโครงการฝึกอบรมเกษตรกรพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานสำหรับเกษตรกรรายย่อย ในปีนี้
 
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย มอบให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานสำหรับเกษตรกรรายย่อย ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ โดยนางสาวอรอนงค์ พิมคำไหล  หัวหน้ากลุ่มงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย กล่าวเปิดการอบรมและชี้แจงโครงการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานสำหรับเกษตรกรรายย่อย เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ที่ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ขุนแผนฟาร์ม ของนายบุญชวน มะลัยโย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

คุณนิทิศ จิตนิยม นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการจากศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง  จังหวัดระยอง แนะนำเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับเมืองไทยครัวของโลก การขับเคลื่อนเศรฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์

และตอบปัญหาข้องสงสัยในการส่งเสริมให้เยาวชนหันมาสนใจกิจกรรมการเกษตร ได้รับความสนใจตั้งใจฟังอย่างประทับใจโดยเฉพาะสภาเกษตรแห่งชาติที่คุณนิทิศ  มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอแนะนำเอกสารการฝึกอบรมก่อนที่จะมอบให้นายบุญชวน มะลัยโย บรรยายทบทวนความรู้การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน  ตลอดจนการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สนใจ
ตั้งใจฟัง
ฟังให้หมดจดให้ได้
ไม่เป็นน้ำชาล้นถ้วย
เรียนรู้ด้วยตนเอง จับไก่
ใส่กระสอบนำไปเลี้ยงคนละสามตัว
สิ้นปีเราจะมีคนละ ๑๐ ตัว นี่คือเป้าหมายของกลุ่ม
ขอแนะนำให้เราทำกรงไก่แบบน็อคดาวน์ เคลื่อนที่ไปเลี้ยงตามแปลงหญ้าได้
มีการแลกเปลี่ยนไก่ให้มีทั้งตัวผู้ตัวเมียเพื่อความเสมอภาค
 

บันทึกไว้เป็นอนุสรณ์ว่าเรามาอบรมและรับไก่ประดูหางดำไปเป็นตัวอย่าง รอรับลุงบุญชวน ไปเยี่ยมนิเทศน์หลังสงกรานต์

 และแล้วก็มีเรื่องการนิเทศน์งานของลุงชวนมาเล่าต่อครับ
 ตามโครงการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง(หรือศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเดิม)ในปี๒๕๕๕  กำหนดให้เกษตรกรเจ้าของศูนย์ฯเป็นทั้งวิทยากรอบรมทบทวนความรู้ แล้วยังไม่พอให้เจ้าของศูนย์ฯปราชญ์ชาวบ้านของเราออกเยี่ยมสอบถามปัญหาการเลี้ยงสัตว์ แล้วให้คำแนะนำไปด้วย  ตลอดจนปัญหาการเกษตรอื่นๆชึ่งเจ้าของศูนย์สามารถตอบได้แนะนำได้ก็ดำเนินการ แนะนำแก้ไขปัญหาไปเลยเช่นกัน นายบุญชวน มะลัยโย เจ้าของศูนย์เรียนรู้ฯของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ที่มีดีกรีความสามารถมากมาย ทำได้ดีเกินคาด ถึงแม้จะไม่ค่อยมีเวลา จัดการออกเยี่ยมพอดีกับตารางการออกเยี่ยมที่วางไว้แต่ท่านก็สามารถใช้เวลาที่ท่านว่างนัดหมายผู้เข้าอบรมมารวมกันตามรายหมู่บ้านแล้วเก็บข้อมูลแนะนำเป็นภาพรวมก่อนออกเดินเยี่ยมตามบ้าน ประหยัดเวลาและได้รับคำแนะนำที่หลายหลายดีครับ ชึ่งส่วนใหญ่ผู้เข้าอบรมก็จะเดินตามไปเยี่ยมให้กันทั้งหมู่บ้าน สนุกและทำให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าอบรมสนใจเพิ่มขึ้นด้วย และต่อไปนี้เป็นภาพที่ลุงบุญชวนพาป้าชาไปเยี่ยมผู้เข้าอบรมฯและให้ป้าชาแม่บ้านช่วยถ่ายรูปให้ครับ ( ถือว่าได้ไปเยี่ยมคนรู้จักที่เคยมาอบรมในสวนและนัยว่าไปคุมลุงชวนด้วยในตัว.ผมว่าน่าจะดีกว่าหาบน้ำใส่โอ่งหรือจูงควายไปกินน้ำ.๕๕๕.. )
 
นัดกันสัมภาษณ์หาข้อมูลปัญหา เป็นกลุ่มๆ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
หมายเลขบันทึก: 487858เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2013 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท