Mail on Friday, R2R ...เด็กหญิงแม่: พลวัตครอบครัวหลายวัย


ผมโชคดีมากครับ...ที่เขียนเค้าโครงงานวิจัย...มีผู้ใหญ่ใจดีท่านสนใจให้ทุนวิจัย....และส่งเค้าโครงการไปให้อาจารย์วิจารณ์...เพื่อปรับก่อนเก็บข้อมูล...ผมคิดว่า มีประโยชน์ต่อทุกท่านที่สนใจ...เรียนรู้ไปกับผมครับ...ผมได้รับเมลล์จากพี่ผู้ประสาน...Mail on Friday, R2R ...เด็กหญิงแม่: พลวัตครอบครัวหลายวัย...ข้อความดังนี้ครับ....พี่ส่งเอกสารรีวิวให้นะ พร้อมส่งฉบับที่ส่งออกด้วย น่าจะปรับเยอะอยู่โดยเฉพาะทบทวนวรรณกรรม แต่แก้ไปด้วย เก็บข้อมูลไปด้วย น่าจะเป็นการบริหารเวลาที่เหมาะสม ขอภายในเดือนพฤษาคมแล้วกัน (ให้เวลาอ่านหนังสือเพิ่ม)

แนวทางปรับแก้โครงร่างการวิจัย “เด็กหญิงแม่: พลวัตครอบครัวหลายวัย”

จากผู้วิจารณ์ 2 ท่าน

 

1.สิ่งที่สำคัญและจำเป็นต้องแก้ไข

1.1.วัตถุประสงค์ โดยเฉพาะข้อ 1 และ 2 กว้างเกินไป โดยเจาะรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการทราบว่า ให้มีลักษณะเฉพาะ คำว่าประสบการณ์หรือพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมในลักษณะใดที่ครอบคลุมงานศึกษานี้

1.2.การทบทวนวรรณกรรม ทบทวนวรรณกรรมค่อนข้างน้อย ในประเด็นพลวัตของครอบครัวหลายวัย มีการศึกษาเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงของครอบครัว การวิพากษ์ทฤษฎีสตรีนิยม ยังขาดอยู่

          -หน้า 5 Paragraph ที่ 2-4 เป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่วางเอาไว้เฉยๆ ไม่เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นที่ศึกษา ควรเชื่อมโยงว่าแนวคิดอนามัยเจริญพันธุ์ มีนัยสำคัญต่อความเป็นเด็กหญิงแม่อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิทางเพศ

          สรุปประเด็นที่ควรจะเป็นในการทบทวนวรรณกรรม  (ลองเข้าไปห้องสมุด มข.ดูนะ)

          * สถานการณ์และปัญหาของเด็กหญิงแม่

          * ครอบครัว และการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวไทย

          * อนามัยเจริญพันธุ์

          * เพศสภาวะ

          * แนวคิดปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ และบทบาท

          (อาจดูจาก ศุลีมาน วงศ์สุภาพ /นางงามตู้กระจก: กระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย

          โสภิดา วีรกุลเทวัญ /การนำเสนอตัวตนของหญิงบาร์เบียร์)

 

 

1.3.กรอบแนวคิด มีข้อเสนอว่าควรจะแก้เป็น 

ประสบการณ์และบทบาทของเด็กหญิงแม่

อนามัยเจริญพันธุ์เด็กหญิงแม่

บริบทครอบครัว

เพศภาวะ

 

1.4.การเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูล การแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลยังไม่เหมาะสม เพราะการเก็บข้อมูลเป็นช่วงเวลา ควรแบ่งเป็นระยะการสร้างความสัมพันธ์ การค้นหากลุ่มเป้าหมาย การเก็บข้อมูลบริบท การเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย และการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความน่าเชื่อถือข้อมูลแบบสามเส้า โดยการเก็บข้อมูลหลายวิธี หรือเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลายกลุ่ม ซึ่งควรจะเก็บข้อมูลไปพร้อม ๆ กัน โดยแยกเป็นการศึกษาวิจัยแทน

          -ไม่มีเกณฑ์ในการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลว่าจะเลือกครอบครัวแบบใด และลักษณะเด็กหญิงแม่ที่จะเลือกเป็นอย่างไร และควรระบุว่าผู้ให้ข้อมูลหลักคือใคร (งานนี้ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ เด็กหญิงแม่ และสมาชิกครอบครัวของเด็กหญิงแม่ 15 ครอบครัว)

          -ควรอธิบายให้ละเอียดว่า สนทนากลุ่ม จะเลือกคนมาอย่างไร ทำอย่างไร สัมพันธ์อย่างไรกับครอบครัวของเด็กหญิงแม่หรือไม่

          -การเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครอบครัว จะค้นหาจากข้อมูลในโรงพยาบาล จะใช้เกณฑ์การเลือกอย่างไร มีการสังเกตร่วมด้วยหรือไม่ จะสัมภาษณ์กี่ครั้ง

  

1.5.การวิเคราะห์ข้อมูล 

          ผู้วิจัยยังไม่ได้อธิบายในรายละเอียดว่าจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร คงเขียนสั้นๆ ว่า วิเคราะห์ตามเนื้อหา ดูกว้างไปและไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ควรขยายความว่าจะวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้มุมมองทางแนวคิด ทฤษฎี และข้อสรุปจากทัศนะ และประสบการณ์ของคนในอย่างไร

2.จำเป็นแต่ไม่แก้ไขก็ได้

2.1. ในส่วนหลักการและเหตุผล ที่เขียนเกี่ยวกับเด็กหญิงแม่กับพลวัตครอบครัวหลายวัย ผู้วิพากษ์เห็นว่า ถึงไม่มีปัญหาเด็กหญิงแม่ ครอบครัวไทยก็มีหลายวัยอยู่แล้ว ดังนั้น ครอบครัวหลายวัยในเด็กหญิงแม่ จะมีนัยที่แตกต่างจากครอบครัวหลายวัยทั่วๆ ไปอย่างไร

2.2. การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ที่ระบุว่า เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็น เด็กหญิงแม่: พลวัตครอบครัวหลายวัยทั้งในระดับชุมชนเอง รวมถึงเพื่อใช้ประกอบการทบทวนและปรับปรุงนโยบายในระดับประเทศในการจัดการปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็น มีคำถามว่า ผู้วิจัยจะนำความรู้นี้ไปปรับปรุงนโยบายระดับประเทศจริงหรือ น่าจะเขียนบนพื้นฐานความจริงว่าข้อมูลนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลครอบครัวเด็กหญิงแม่  

 

 

เด็กน้อยผู้น่ารัก....ถ้ำติ่ง....หลวงพระบาง...ลาว

หมายเลขบันทึก: 486982เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่นชมค่ะกับงานชิ้นนี้ น่าสนใจมาก เรื่องเพศภาวะมีงานวิจัยของอาจารย์คณะพยาบาล (ทีมจิตเวช) น่าสนใจมากค่ะน้องทิมดาบ ที่ห้องสมุดคณะพยาบาลเราน่าจะมีค่ะ

Thank you for sharing the 'review' on the research proposal.

Good luck with the research ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท