บทความ เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องสิ่งเสพติดให้โทษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือรูปแบบ STAD กับวิธีสอนแบบปกติ


นางสาวยุพิน  ปัญญาประชุม  รหัสนักศึกษา 55421231115

 

บทความจากวิทยานิพนธ์

ชื่อเรื่อง   การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา  เรื่องสิ่งเสพติดให้โทษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือรูปแบบ STAD กับวิธีสอนแบบปกติ

ชื่อผู้วิจัย นภาพร  สมบูรณสุข

            การที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อเหตุการณ์  โดยการจัดการเรียนการสอนนั้นจะต้องมุ่งเน้นที่ทรัพยากรบุคคลเป็นสำคัญ  จากการสอนวิชาสุขศึกษาที่ผ่านมาประสบปัญหาต่างๆ ดังที่สุชาติ โสมประยูร(2542:17)ได้สรุปสาเหตุดังนี้คือครูใช้วิธีสอนแบบบรรยายโดยให้นักเรียนฟังและจดบันทึก ใช้วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้นักเรียนไม่สนใจเรียน เบื่อหน่ายไม่เห็นความสำคัญของการเรียน

            ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องสิ่งเสพติดให้โทษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือรูปแบบ STAD  กับวิธีสอนแบบปกติ  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2 จำนวน  140  คน  กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนชุมชนวัดคลองไทร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2  ได้จาก การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive or Judgment Sampling)  จำนวน 56 คน และจับสลากเลือกกลุ่ม  แบ่งเป็นกลุ่มที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือรูปแบบ STAD  กับกลุ่มที่เรียนโดยวิธีสอนแบบปกติ  กลุ่มละ 28 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  SPSS  for  Windows  Version  12.0  เพื่อหาค่าเฉลี่ย  ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และค่าสถิติ  t-test 

            จากผลการศึกษาพบว่า 

            1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา  เรื่องสิ่งเสพติดให้โทษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบร่วมมือรูปแบบ  STAD  ส่วนใหญ่ร้อยละ  92.86  ได้ คะแนนความก้าวหน้าสูงขึ้นจากคะแนนพื้นฐาน  มีเพียงร้อยละ  7.14  ที่ได้คะแนนความก้าวหน้าต่ำจากคะแนนพื้นฐาน 

            2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา  เรื่องสิ่งเสพติดให้โทษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือรูปแบบ  STAD  สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05          

คำสำคัญ (Tags): #บทความ
หมายเลขบันทึก: 486170เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2012 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท