อนุทินล่าสุด


ยุพิน
เขียนเมื่อ

งานประเมิน power point ครั้งที่ 3 ส่งทางเมลล์แล้วนะค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ยุพิน
เขียนเมื่อ

แบบประเมินการนำเสนอ Power point ครั้งที่ 2 ส่งทางเมลล์ให้แล้วนะค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ยุพิน
เขียนเมื่อ

แบบประเมินการนำเสนอ Power point ครั้งที่ 1 ส่งทางเมลล์ให้แล้วนะค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ยุพิน
เขียนเมื่อ

นางสาวยุพิน ปัญญาประชุม สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา รหัสนักศึกษา 55421231115

สรุป เรื่อง การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) ทั้ง 4 ตอน สรุปได้ดังนี้

Blended  learning  หมายถึง  การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์ (a  combination  of  face  to  face  and  online  learning)  เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าผนวกกับผู้สอน คือจะนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยี  ซึ่งมีคนอยู่ 2 กลุ่มที่ให้ความหมาย  Blended  learning  คือ กลุ่มเทคโนโลยีการศึกษาจะหมายถึงการจัดการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้ากับการเรียนแบบออนไลน์  ส่วนกลุ่มหลักสูตรการสอนหรือเทคนิคการสอนจะเป็นการผสมผสานการสอนหลายๆวิธี  เรียกว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทำให้การเรียนแบบออนไลน์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  เทคนิคการนำ Blended  learning ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยจัดการสอนได้ 2 รูปแบบ คือ แบบพบหน้ากันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและแบบออนไลน์  ซึ่งจะต้องมีการออกแบบการสอน มีการใช้เทคโนโลยีซึ่งมีอยู่มากมาย  ซึ่งจะกำหนดเป็นสัดส่วน มีอยู่ 2 ลักษณะ  คือ แบบแนวตั้งใช้สัดส่วน  50:50  สอนแบบเผชิญหน้า 50 %  แบบออนไลน์ 50 %  แบบครึ่งต่อครึ่งตลอดเทอม คู่ขนานไปด้วยกัน  อีกแบบหนึ่งคือแบบแนวนอนจัดการสอนในชั้นเรียน 50 %  ที่เหลือ อีก 50 %  ให้เรียนแบบออนไลน์  หรืออาจแบ่งสัดส่วนเป็น 20:80, 30:70  ตามความเหมาะสมแต่ต้องมีการเรียนแบบออนไลน์ 50 % ขึ้นไป  จึงจะแสดงว่าการเรียนแบบออนไลน์เป็นตัวหลัก  แต่ถ้าน้อยกว่า  50 %  ถือว่าเป็นสื่อช่วย  ในการนำ Blended  learning  ไปใช้ต้องมีการกำหนดสัดส่วน  ออกแบบการสอน  เลือกสื่อ  ทั้งในชั้นเรียนและแบบออนไลน์ให้เหมาะสม  ข้อจำกัดในการจัดการเรียนการสอนแบบ Blended  learning  ในการออนไลน์ถ้าระบบไม่สมบูรณ์จะมีปัญหาทำให้การสอนขัดข้อง  ครูไม่มีความพร้อม  นักเรียนไม่มีอุปกรณ์การเรียนแบบออนไลน์  โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ  ซึ่งมีแนวทางแก้ไขคือ  จะต้องมีการวิเคราะห์ความพร้อมด้านเครื่องมือ  อุปกรณ์  ครู  นักเรียน  และเทคโนโลยี  ออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนแบบออนไลน์  
ปัจจุบันแนวโน้มการจัดการเรียนการสอนแบบ Blended  learning  ก็จะมีมากขึ้น  ซึ่งเป็นสิ่งที่มาช่วยสอนได้เป็นอย่างดี  ควรพยายามนำเอาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผล  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ  เช่น  ให้มีอินเตอร์เน็ทความเร็วสูง  การใช้แท็บเล็ทในการเรียนการสอนซึ่งต้องออนไลน์สู่ระบบอินเตอร์เน็ทด้วย  ในระดับอุดมศึกษายังต้องใช้  Blended  learning  อยู่มาก  ในกลุ่มนักเรียนซึ่งใช้สังคมออนไลน์  ในการซักถามการบ้านหรือส่งการบ้านเป็นต้น  ดังนั้น Blended  learning  มีแนวโน้มจะใช้มากขึ้น  แต่ถ้าผู้สอนยังใช้วิธีสอนแบบเดิมๆ  แต่นักเรียนเข้าสู่การออนไลน์มากขึ้น  การเรียนการสอนก็จะไม่สัมพันธ์กัน  ควรให้มีการเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้นอย่าคิดว่าเป็นภาระ  ให้ถือว่า  Blended  learning  เป็นเครื่องมือสำคัญช่วยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผู้เรียนในอนาคตต่อไป


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ยุพิน
เขียนเมื่อ

นางสาวยุพิน ปัญญาประชุม สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา รหัสนักศึกษา 55421231115 สรุป เรื่องการทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน ด้วย E1/E2 Model
บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ การทดสอบประสิทธิภาพ หมายถึง การนำสื่อหรือชุดการสอนไปทดสอบด้วยกระบวนการสองขั้นตอน คือ การทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้น (Try out) การทดสอบประสิทธิภาพจริง (Trial run) เพื่อหาคุณภาพของสื่อว่า ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียน และทำแบบประเมินสุดท้ายได้ดี และการทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ นำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะผลิตออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก

การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

เกณฑ์  หมายถึง  ขีดกำหนดที่จะยอมรับว่า  สิ่งใดหรือพฤติกรรมใดมีคุณภาพและหรือปริมาณที่จะรับได้  การตั้งเกณฑ์ตั้งไว้ครั้งแรกครั้งเดียว  เนื่องจากเป็นเกณฑ์ต่ำสุด  หากผลสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 หรืออนุโลมให้มีความคลาดเคลื่อนต่ำหรือสูงกว่าค่าประสิทธิภาพที่ตั้งไว้  2.5 ก็ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกช่วงหนึ่ง  แต่หากได้ค่าต่ำกว่าค่าประสิทธิภาพที่ตั้งไว้  ต้องปรับปรุง  นำไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้หลายครั้งในภาคสนามจนได้ค่าถึงเกณฑ์ที่กำหนด
เกณฑ์ประสิทธิภาพ  หมายถึง  ระดับประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เป็นระดับที่ผลิตสื่อหรือชุดการสอน  จะพึงพอใจว่าสื่อหรือชุดการสอนนั้นมีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียน  และคุ้มค่าการลงทุนผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมผู้เรียน 2 ประเภท คือ

ประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง  คือ  ประเมินผลต่อเนื่อง  ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยของ

ผู้เรียนเรียกว่า กระบวนการ (Process) เกิดจากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม กำหนดค่าประสิทธิภาพ
E1 = Efficiency of Process (ประสิทธิภาพของกระบวนการ)

ประเมินพฤติกรรมสุดท้าย  คือ  ประเมินผลลัพธ์  (Product)  ของผู้เรียนโดยพิจารณาจาก

การสอนหลังเรียนและการสอบไล่ กำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E2 = Efficiency of Product (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์)

E1/E2  =  ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์  การกำหนดเกณฑ์  E1/E2  ให้มีค่าเท่าใดนั้น  ให้ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความพอใจ  โดยพิจารณาพิสัยการเรียนที่จำแนกเป็น วิทยพิสัย  (Cognitive  Domain)  จิตพิสัย  (Affective  Domain)  และทักษพิสัย  (Skill  Domain)

วิธีการคำนวณประสิทธิภาพ กระทำได้ 2 วิธี คือ
1. โดยวิธีการใช้สูตรในการคำนวณ 2. โดยการใช้วิธีการคำนวณธรรมดา

การตีความหมายผลการคำนวณค่า E1/E2

ความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์  ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนของผลลัพธ์ได้ไม่เกิน  .05  (ร้อยละ)  จากช่วงต่ำไปสูง  =  ± 2.5  นั่นคือผลลัพธ์ของค่า   E1 หรือ  E2  ที่ถือว่า  เป็นไปตามเกณฑ์  มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ได้  2.5%  และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน  2.5%  หากคะแนน  E1 หรือ E2  ห่างกันเกิน 5 %  แสดงว่ากิจกรรมที่ให้นักเรียนทำกับการสอนหลังเรียนไม่สมดุลกัน  หากสื่อหรือชุดการสอนได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างดีมีคุณภาพ  ค่า E1 และ E2  จะต้องใกล้เคียงกันและห่างกันไม่เกิน 5 %

ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ

 การทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:1)  เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คน

ทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 1-3 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปานกลาง หรือเด็กเก่ง ให้ดีขึ้น คะแนนที่ได้ในขั้นนี้ประมาณ 50-60 %

 การทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม (1:10)  เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คน  

ทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 6-12 คน (คละผู้เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน) คะแนน E1/E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60-70 %

 การทดสอบประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100)  เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คน

ทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียนทั้งชั้น (30 คนขึ้นไป แต่ไม่ต่ำกว่า 15 คน) ผลลัพธ์ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำจากเกณฑ์ไม่เกิน 2.5 % ให้ยอมรับว่าสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่า -2.5 ให้ปรับปรุงทดสอบภาคสนามซ้ำ หากสูงกว่าไม่เกิน +2.5 ก็ยอมรับ หากสูงกว่าเกิน +2.5 ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ข้อควรคำนึงในการทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน

 การเลือกผู้เรียนเข้าร่วมประสิทธิภาพ  ควรเลือกตามแนวทางการสุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง
เวลาและสถานที่ต้องเหมาะสมกับผู้เรียน
มีการชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการ
ต้องรักษาสภาพการณ์ให้เหมือนที่เป็นอยู่ในห้องเรียนทั่วไป
ครูจะต้องดำเนินการสอนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแต่ละระบบการสอน

ปัญหาที่พบจากการทดสอบประสิทธิภาพ

 นักวิชาการรุ่นหลังนำแนวคิดทดสอบประสิทธิภาพที่พัฒนาโดย  

ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ มาเป็นของตนเอง โดยเขียนเป็นบทความหรือตำราแล้วไม่มีการอ้างอิง

นักวิชาการนำ  E1/E2  ไปเป็นของฝรั่ง
 นักวิชาการไม่เข้าใจหลักการของการตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพ
ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของ E1 และ E2   ทั้งสองค่าควรใกล้เคียงกัน
นักวิชาการบางคนเขียนเผยแพร่ว่า E1 ควรมากกว่า  E2 ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ยุพิน
เขียนเมื่อ

ชื่อผู้นำเสนอ ชื่อเรื่องที่นำเสนอ ข้อดี ข้อปรับปรุง ข้อเสนอแนะ สรุปผลการประเมิน ระดับ น้อย(1) ปานกลาง(2) มาก(3)

  1. ขนาดตัวอักษรเหมาะสม
  2. สีตัวอักษร
  3. การออกแบบพื้นหลัง
  4. ภาพประกอบ
  5. เสียงประกอบ
  6. เทคนิคการเคลื่อนไหวระหว่างประโยค
  7. วิธีการนำเสนอ powerpoint
  8. เทคนิคพิเศษอื่นๆ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท