ครูเพื่อศิษย์เพื่อปฎิรูปการศึกษา_3


สรุปแล้ว อะไรก็ได้ขอให้มีปัญหา มีคำถาม เด็กครูลงมือทำจริง เด็กได้หาความรู้เอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการประเมิน ส่วนขนาดของPBL แล้วแต่ความสะดวก อาจเริ่มจากตนเอง วิชาที่รับผิดชอบ ชวนเพื่อนครูทำ ทำทั้งช่วงชั้น และหรือเอาสเปอร์ภายนอกมาจัดเป็นกระบวนเรียนรู้ร่วมกัน

วันที่3 ของการเกิดเวทีเสริมศักยภาพของการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูเพื่อศิษย์เพื่อปฎิรูปการศึกษา

     น้องเจ นำสมองปลอดโปร่ง เบาๆ (ใช่นะเวลาเราสอนเด็ก เรียกคลื่นสมองเบาๆด้วยเกมสนุกๆไม่เกิน5 นาที เรียกคลื่นสมองดีมาก)

     จากนั้น พวกเราแบ่งเป็นสามกลุ่มตามเคย ครั้งนี้เราได้อยู่กับน้องกานดา อ.ดวงจันทร์ และท่าน ผอ. กลุ่มแรกที่เผชิญคือกลุ่มครูเอก

               นิยามของPLC (จากการตั้งวงคุยกัน (ลลปร.KM, เล่าเรื่องมตั้งประเด็น) เรียนรู้จากเพื่อนม ชุมชนนักปฎิบัติ)

               ขับเคลื่อนPLC (รร.ต้นแบบ,โครงการวิจัย)

               ต้นทุนPLC (กลุ่มเรียนรู้,llen,ศึกษาดูงานที่ลำปลายมาศ)

         ด้วยการเปิดวงเสวนา เยี่ยมมากเลย เข้าใจPLC แจ๋ว (ท้องฟ้าเมติเตอร์เรเนียนเลย ฟ้าสีคราม)

        กลุ่มสองเวียนมาที่ ครูย่ง(แอบวิจารณ์ว่าครูย่งใจดี อบอุ่น) ฝึกให้เราอยู่กับข้อเท็จจริง (เข้าใจว่าปัจจุบันขณะ) อย่าเอาความคิดอดีต และความคิดของตนเองมาตัดสิน เสียดายเวลาน้อยมาก  อยู่กับตัวเองยังไม่พอใจเลย

        กลุ่มสามเวียนมาที่ ครูใหม่(ผู้มีเสียงดังระฆัง ใบหน้ายิ้มตลอดเวลา ทำให้เราเคลิ้มไปกับเสียง จนเกิดการฟังแบบไม่ได้ยิน  ฮา)  จนทำให้เราคิดอะไรไม่ออก  ฐานครูใหม่เป็นฐานการฝึกการให้ความสำคัญของตั้งคำถาม  พวกเราได้ดูVDO สร้างกรอบคำถามที่

            -คำถามที่สำรวจความรู้เดิม

            -คำถามที่เร้าความสนใจ

            -คำถามที่ฝึกคิดหาเหตุผล

            -คำถามที่ให้ผู้เรียนอภิปราย ขยายความ

            -คำถามที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

            -คำถามที่ค้นหาความรู้ใหม่

            -คำถามที่เป็นการทบทวนสรุปบทเรียน

            -คำถามที่ประเมินผู้เรียน

        โฮ....ภายในเวลาจำกัด ทำคำถามไม่ทัน โกรธตัวเองที่ไม่ดูแลใจ ปล่อยคิดเรื่อยเปลื่อย คิดมาก คิดนอกเรื่อง

        อ.เอ็มเก่งมาก จับอารมณ์เราได้

ช่วงบ่ายย้ำ PLC,PBL,ครูยุคศตวรรษที่21

     คุณอ้อ เพิ่มพลังความท้าท้ายของวง PLC (ถ้าครูใหญ่วิเชียรจะบอกว่า ปะทะให้แรง ให้เลือดไหลซิบๆ  ฮา แต่คิดว่าไม่ได้ผลเสมอไป)  สรุปแล้ว อะไรก็ได้ที่คุยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ตั้งแต่ สองคนขึ้นไป มีเป้าหมายร่วมกัน เป็นวงPLC ทั้งนั้นแหละ

    อ.เอ็ม กระซับ PBL ลงไปอีก กับคำถามน้องกานดาว่า จำเป็นไหมต้องPBLเท่านั้นถึงจะนำเด็กไปสู่ศตวรรษที่21 คำถามของ อ.ดวงจันทร์ว่า PBL ขนาดใหนจึงเหมาะ

    สรุปแล้ว อะไรก็ได้ขอให้มีปัญหา มีคำถาม เด็กครูลงมือทำจริง เด็กได้หาความรู้เอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการประเมิน  ส่วนขนาดของPBL แล้วแต่ความสะดวก อาจเริ่มจากตนเอง วิชาที่รับผิดชอบ  ชวนเพื่อนครูทำ ทำทั้งช่วงชั้น และหรือเอาสเปอร์ภายนอกมาจัดเป็นกระบวนเรียนรู้ร่วมกัน

   สรุปว่า (ตามความเข้าใจข้าพเจ้าเอง)

       ถ้าไม่ยึดติดกับ PLC ,PBL(ให้PLC ,PBLเป็นความว่างเปล่า) อะไรก็ได้ที่ทำแล้วให้เด็กมีทักษะในศตวรรษที่ 21 จะง่ายมาก คือไม่ยึดติดที่ตัวอักษร

      ครูใหม่ ทำให้เราตระหนักว่า 20 ก็ดีอยู่ ไม่ทิ้งนะ แต่ปรับและเพิ่ม 21 ลงไปหน่อย แค่นี้ครูก็ สบายใจแล้ว

     ก่อนกลับการบ้านพรุ่งนี้คือ ประสบการณ์ภายใต้โครงการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์

 

 

      

 

 

หมายเลขบันทึก: 485911เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2012 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท