ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน 2


ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน

ขออภัย ที่ทิ้งช่วงเวลานานหลายวัน จากหลายสาเหตุที่ไม่สามารถจะบันทึกต่อในประเด็นที่ค้างไว้เมื่อครั้งที่แล้ว ว่าด้วย " ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน " ของท่านศาสตราจารย์ประเวศ  วะสี

        วันนี้ จะขอนำเนื้อหาต่อเนื่อง ซึ่งท่านกล่าวว่า " ระะบการศึกษาที่ดีควรก่อให้เกิดความสุขถ้วนหน้า"  มีว่าอย่างไร

         มีบุคคลมากหลาย ที่พยายามแก้ไข ปรับปรุง หรือปฏิรูปการศึกษา แต่ระบบการศึกษาก็ดื้อยามาก เพราะอะไรที่เป็นผลของความเชื่อ ค่านิยม และโครงสร้างแล้ว แข็งแรง ประดุจปราการเหล็กดังกล่าวข้างต้น การบ่นว่า ประณามกล่าวโทษใด ๆ ไม่มีกำลังพอที่จะแหวกความเหนี่ยวแน่นของความเชื่อ - ค่านิยม-โครงสร้างออกไปได้

         เราต้องเห็นใจความทุกข์ยากของกันและกัน และร่วมมือกันทุกฝ่าย ไม่ใช้อำนาจ แต่ใช้ปัญญาร่วมกัน จึงจะสามารถปรับเปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยม และโครงสร้างไปสู่ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดินได้

         กระบวนการที่ปรับเปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยม และโครงสร้าง ให้หลุดพ้นออกจากความเชื่อและการปฏิบัติที่ไม่ได้ผลที่ทางพระเรียกว่า "สีลัพพตปรามาส" สีลัพพตปรามาส คือ การสะสมความเชื่อที่ไม่เป็นประโยชน์จริง จะมีในทุกองค์กรและทุกสังคม อันจะนำไปสู่ความติดขัดและสภาะวิกฤตขององค์กรหรือสังคมนั้น ๆ จนต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อและจารีตกันครั้งใหญ่เพื่อให้พ้นวิกฤต

        จุดวิกฤตของการศึกษา คือการคิดแบบแยกส่วน เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ซึ่งอะไรก็ตามที่เอาอย่างอื่นเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ล้วนนำไปสู่วิกฤตการณ์ทั้งสิ้น เพราะเป็นการแยกส่วนไปเป็นคนละ  เรื่อง ๆ

         แต่ถ้าเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง อะไร ๆ ก็มารวมอยู่ที่นี่  ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สุขภาะ เศรษฐกิจ ศิลป  ฯลฯ จะเกิดปรากฎการณ์ที่ว่า  " การศึกษาอยู่ในทุกสิ่่ง ทุกสิ่งอยู่ในการศึกษา" ไม่ได้ชำแหละออกเป็นเรื่องๆ  การชำแหละทำให้ตัดขาดและหมดชีวิต ดังการชำแหละโค ชำแหละสุกร ความมีชีวิตอยู่ที่การเชื่อมโยง เมื่อเชื่อมโยงก็บูรณาการและเกิดดุลยภาพ ดุลยภาพก็คือ ความสุขและความยั่งยืน

         ชีวิตนั้นมีความละเอียดลออ เชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอก จึงเชื่อมโยงกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

          .....ยังไม่จบนะคะ  โปรดติดตามตอนต่อไป 

 

หมายเลขบันทึก: 485871เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2012 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท