การเตรียมตัวเข้า AEC 2015 ทุนทางวัฒนธรรมเป็นจุดแข็งของคนไทย


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 14 เมษายน 2555 ติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://archive.naewna.com/allnews.asp?ID=97

 

การเตรียมตัวเข้า AEC 2015 ทุนทางวัฒนธรรมเป็นจุดแข็งของคนไทย (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 
พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติตามราชประเพณีโบราณ

ไม่ใช่เฉพาะคนไทยและคนรุ่นใหม่ในไทยเท่านั้นที่จะต้องเรียนรู้ศึกษาวัฒนธรรมประเพณีอันยิ่งใหญ่ของไทย แต่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกก็ต้องตะลึงกับขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทยที่สะสมเป็นรากเหง้าของประเทศมาเป็นเวลาเกินพันปี ซึ่งประเทศอื่นๆไม่สามารถจะลอกเลียนได้

นอกจากนั้นคนไทยยังระลึกถึงพระจริยาวัตรของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการองค์หนึ่ง ทรงเป็นพระราชธิดาองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของคนไทย


สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี


สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นขัตติยะนารีที่ทรงทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดินอย่างแท้จริง เช่น

* ทรงมีพระอัจฉริยะภาพทางการคำนวนและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

* ทรงมีพระปรีชาทางด้านหัตถศิลป์

* ทรงโปรดศิลปะการดนตรีทั้งการขับร้องและทรงเปียโน

* ทรงรักษาขนบทำเนียบประเพณีของไทยโดยทรงนิยมใช้ของไทยไม่ต้องหรูหรา

* ทรงศึกษาธรรมะ ศึกษาพระอภิธรรมแตกฉาน

* ทรงดำรงพระองค์สมถะ แต่ทรงใช้เงินเพื่อช่วยเหลือเพื่อสาธารณะชน

ผมและคนไทยขอร่วมถวายอาลัยส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยมา ณ ที่นี้

สัปดาห์นี้มีบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งจากเราไปในวัยอันไม่สมควรคือ ท่านรองนายกฯไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมเสียชีวิตอายุแค่ 71 ปี

ผมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของท่านและเสียใจแทนคนไทยที่คนดีของชาติต้องจากเราไปอีกท่านหนึ่ง

ในระดับชาติ คุณไพบูลย์ได้เสียสละเพื่อพัฒนาองค์กรเอกชนและชุมชนให้เข้มแข็ง ถึงแม้จะเรียนทางเศรษฐศาสตร์และทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมาก่อน แต่ก็พยายามจะสร้างชุมชนเข้มแข็งให้พึ่งตัวเองได้ เป็นบุคคลที่เน้นสันติวิธี พยายามให้คนไทยแก้ปัญหาความ

ขัดแย้งด้วยการเจรจาต่อรอง โดยใช้เหตุและผล เน้นบทบาทของคนกลางที่ประสานความขัดแย้งระหว่าง 2 ฝ่าย

ตัวผมได้ทำงานใกล้ชิดบนเวทีกับท่านประมาณ 5 - 6 ครั้ง ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผมทำงานสร้างผู้นำของ กฟผ. ได้ริเริ่มที่จะให้ผู้นำ กฟผ.หันมาดูแลชุนชนมากขึ้นเพราะได้รับการต่อต้านจากชุมชนและ NGO

ท่านก็กรุณามาร่วมอภิปรายให้ผู้นำ กฟผ.ให้ปรับวิธีการคิดของผู้นำ กฟผ.

ท่านเต็มใจอย่างมากที่จะสละชีวิตเพื่อส่วนรวม ผมขอสดุดีความดีของท่านมา ณ ที่นี้ และหวังว่า จะเป็นตัวอย่าง (Role Model) ที่ดีต่อคนในสังคมต่อไป

สัปดาห์นี้ต้องพูดถึงแผ่นดินไหวล่าสุดในเกาะสุมาตรา ระดับ 8.6 ริกเตอร์ ซึ่งถือว่ารุนแรงมาก

ถึงแม้ว่าจะไม่มีอันตรายเหมือนอย่างปี 2547 ก็ตาม แต่ก็มีข้อน่าสังเกตหลายเรื่อง

* ทำไมเกิดซ้ำในบริเวณเดียวกัน ภายใน 8 ปี ตามปกติจะเกิดทุกๆ 100 กว่าปี

* คราวนี้การเตรียมตัวอพยพคนทำได้ดีในทุกๆประเทศเพราะมีประสบการณ์มามาก

* แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ วิชาการเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเปลี่ยนไปมากเพราะอะไรที่เกิดช่วงนี้ก็จะไปกระทบโครงสร้างใหญ่ของเปลือกโลกที่เปลี่ยนแปลงไปมาก

ภัยธรรมชาติและภัยพิบัติจะมีรุนแรงมากขึ้น มนุษย์จะเตรียมตัวอย่างไร? แต่ที่แน่ๆคือ โลกจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีความเข้าใจว่าได้ทำลายธรรมชาติมานานแล้ว ถึงเวลาที่จะดูแลธรรมชาติอย่างจริงจัง ทำให้สำเร็จแต่ที่น่ากลัวคือ มนุษย์ก็ยังปรับพฤติกรรมไม่ได้

ยกตัวอย่างบทบาทของสภาผู้แทนไทยในช่วงหลังๆทำอยู่คือ

* ปรองดอง

* แก้รัฐธรรมนูญ

วิธีการทำก็ไม่เกรงกลัวว่าคนอีกจำนวนหนึ่งจะคิดอย่างไร? ไม่เน้นจริยธรรม เหตุและผล (ยกมือลูกเดียว) ดังนั้นคนไทยที่รักชาติ หวังดีต่อประเทศคงต้องช่วยดูแลประเทศต่อไป

ขอชมเชยผู้นำฝ่ายค้าน คุณอภิสิทธิ์ในช่วงนี้ทำหน้าที่ของงานได้ดี

ผมมีความเชื่อว่า ยุทธศาสตร์ของพรรคฝ่ายค้านในช่วงนี้ก็คือทำให้ประชาชนอุ่นใจว่าเป็นทางเลือกที่ดีในอนาคตและเวลา 3 ปีไม่นานเกินไปก่อนการเลือกตั้งใหม่ ขอให้ใช้เวลาเพื่อสร้างฐานเสียงในภาคอีสานและภาคเหนือมากขึ้น ที่เคยถูกปรามาสว่าเลือกตั้งแพ้ทุกครั้งจะได้ไม่เกิดขึ้น ผมขอให้กำลังใจ

ยิ่งไปกว่านั้นนโยบายที่พรรคดึงคนข้างนอกเลือดใหม่มาเข้าพรรค โดยเฉพาะจากภาคเหนือและภาคอีสานเข้ามาทำงานพรรคฯต้องมีอย่างต่อเนื่องและปรับวิธีการให้บทบาทของ

คนเหล่านั้นสอดคล้องกับความคาดหวังของเขา อย่าให้เขารอจนกระทั่งทนไม่ไหวจนลาออกไปอยู่พรรคอื่นๆ

มีคนบอกผมว่า มีนักการเมืองในพรรคอื่นๆที่เคยผิดหวังกับวิธีการของพรรคประชาธิปัตย์เพราะไม่ได้ใช้ศักยภาพของเขาได้เต็มที่ แต่ประสบความสำเร็จในพรรคอื่นๆ

สุดท้ายเป็นข้อเขียนของ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ลงใน Facebook ส่งมาที่ผมเรื่องบทบาทของมหาวิทยาลัยของไทยที่ถูกใจผมมากๆก็คือ ท่านบอกว่าประวัติของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยตั้งแต่ University of Bologna มาถึง Oxford, Cambridge ก็เกือบ 1,000 ปีแล้ว มหาวิทยาลัย ต้องสร้างปัญญาไม่ใช่สร้างปริญญา ซึ่ง ดร.ภาวิชใช้คำว่า มหาวิทยาลัยต้องสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) และสร้างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

ผมค่อนข้างจะเห็นด้วยซึ่งผมก็ช่วยและทำอยู่ ลูกศิษย์ผมทุกคนที่เรียนกับผมต้องคิด วิเคราะห์เป็น นำความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม หวังว่าจะสร้างนวัตกรรมด้วย ข้อคิดเห็นของ ดร.ภาวิช ถูกต้อง 100%

แต่ท่านที่อยู่พรรคเพื่อไทย ทำไมคุณทักษิณจึงตั้งคนอื่นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชุดนี้ 2 คนแล้ว

ปัญหาก็คือข้อเขียนของ ดร.ภาวิช คุณทักษิณฟังหรือเปล่า?

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 485643เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2012 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท