ยุววาณิช : การทำกิจการและการบริหารจัดการสุขภาวะของชุมชนในเชิงธุรกิจ


               กลับบ้านที่ราชบุรีคราวนี้ตั้งใจไปทำบุญสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ รู้สึกดีใจถึงแม้ว่าจะไม่ถึงกับพร้อมหน้าพร้อมตาญาติพี่น้องมากนัก แต่การได้กลับไปกราบท่านเพื่อขอพรอันเป็นศิริมงคลแก่ตัวเองเป็นสิ่งที่ทำมาตลอดทุกปี ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน ..

               ยังมีอีกสิ่งที่น่ายินดี และปลื้มใจเมื่อทราบว่าลูกศิษย์ลูกหาในระดับชั้นปวช.ปีที่ ๓ สาขาการบัญชี และอาจารย์ที่ปรึกษา ของโรงเรียนราชบุรีบริหารธุรกิจ จ.ราชบุรี กับบริษัท หัวขี้เลื่อย จำกัด ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการกรุงไทย ยุววาณิช ประจำปี ๒๕๕๔ ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ ๑๐ และยังได้รับรางวัลการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นรางวัลพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไปเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ..

               ผู้บริหารของโรงเรียน (อาจารย์วิยดา ทองคำ และอาจารย์วิณิตา ศุกระมูล) ยังแสดงความดีใจแม้ขณะเล่าสู่กันฟังในผลงานของลูกศิษย์ และพาชมโรงตากกระถาง (โรงอาหารของโรงเรียน) ของ บริษัท หัวขี้เลื่อย จำกัด ด้วยตัวเอง ^^

               อาจารย์วิยดา เล่าให้ฟังแบบขำๆ อีกว่า นักศึกษาชุดนี้เป็นเด็กเรียนรั้งท้ายของห้องวิชาการบัญชี แต่เป็นเด็กกิจกรรม ชอบแสดงออก ร่วมทำกิจกรรมทุกอย่างของโรงเรียน ชื่อบริษัทจึงเป็น หัวขี้เลื่อย ตามความหมายของเด็กที่เป็นเด็กเรียนไม่เก่งของห้อง .. แต่ถ้าดูจากผลงานและความพยายามของพวกเค้าแล้วไม่ขี้เลื่อยเลยจริงๆ เพราะเป็นการร่วมส่งผลงานเป็นปีแรกของพวกเค้า จาก ๑๐ ชิ้นงานของโรงเรียนและจาก ๕๐๐ กว่าโครงงานทั่วประเทศ

               ปัจจุบันได้จดบริษัท จดลิขสิทธิ์ และขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า OTOP ของเมืองราชบุรีไปแล้วเรียบร้อย ..

               งานนี้มองเห็นพัฒนาการของทีมครูผู้สอน และนักศึกษาที่ร่วมคิดร่วมทำงาน เริ่มจากพัฒนาโครงงานในการเรียนการสอนที่เกิดจากการพัฒนาโครงการวิจัยหน้าเดียวร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน ที่ช่วยเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน ครูก็ได้พัฒนางานวิจัย นักเรียนก็ได้เรียนรู้การทำโครงงาน และการทำธุรกิจเล็กๆ จากการนำขี้เลื่อยที่เหลือจากการทำโรงเพาะเห็ดของโรงเรียน และขี้เลื่อยจากโรงงานแถวๆ บ้านของนักเรียนมาทำเป็นกระถาง เป็นกระบวนการ Recycle ของเหลือใช้ .. ตอนนี้ทราบว่าเด็กทีมนี้เป็นที่เนื้อหอมมากๆ นอกจากสินค้าของบริษัท หัวขี้เลื่อยจะขายดิบขายดี ทำกระถางขี้เลื่อยกันแทบส่งไม่ทัน ยังมีโรงเรียนอื่นๆ มาขอซื้อตัวนักเรียนกันเลยทีเดียว ..

                                      

---------------------------------------------------------------------
รายงานข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กระถางขี้เลื่อย' ผลงานรีไซเคิล เด็กราชบุรี << ข่าวสดออนไลน์
แชมป์ยุววาณิช กระถางขี้เลื่อย
<< กระทรวงศึกษาธิการ
10 ปี กับกรุงไทย ยุววาณิช ความภาคภูมิใจของชาวกรุงไทย << ธนาคารกรุงไทย
วันนี้ของเด็กไทย << สยามธุรกิจ
เปลี่ยนขยะ หัวเชื้อเห็ด ให้เป็นกระถางต้นไม้รักษ์โลก << เดลินิวส์ออนไลน์
รมว.คลัง มอบรางวัลการประกวดโครงการ กรุงไทย ยุววาณิช ปี 2554 << สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

 

หมายเลขบันทึก: 485274เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2012 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ Ico24 ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์. สำหรับดอกไม้เป็นกำลังใจค่ะ ^^

น่ารักน่าเอ็นดูกับชื่อบริษัท "หัวขี้เลื่อย" ต่อไปอาจให้ meaning "ขี้เลื่อย"ใหม่ เป็น "คิดได้ไง เยี่ยม"

ขอบคุณค่ะคุณหมอปัทมา Ico24 ป. ^^ ต่อไปชื่อบริษัทอาจเป็น บริษัท คิดได้ไง เยี่ยม จำกัด แทน ๕๕๕

ขอบคุณค๊าบ ท่านพี่ Ico24 ใบไม้ย้อนแสง. ที่แวะมาเยี่ยมทักทาย ๑ คลิ๊ก ^^

สวัสดีค่ะ เห็นด้วยกับคุณ Ico48 ค่ะ

เด็กๆคิดได้ไง

ขอบคุณค่ะที่ไปสวัสดีปีใหม่กัน

สวัสดีค่ะพี่ณัฐรดา : เด็กๆ เค้าเก่งค่ะโดยมีคุณครูช่วยหนุนเสริม ซึ่งคงเป็นภารกิจของครู นักเรียนและโรงเรียนสายวิชาชีพ หัวการค้าหล่ะต้องยกให้ แต่พอเป็นงานวิชาการจะเก็บตัวเงียบกันเชียวเด็กพวกนี้ ๕๕๕

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท