ข้อวิจารณ์นโยบายป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล


หมายเหตุ: 

1) รัฐบาลไทยกำลังจะใช้งบหลายแสนล้านเพื่อ "ป้องกันน้ำท่วม"  ซึ่งผมว่ามันจะสูญเปล่าเสียมาก ทั้งจากการโกงกิน และ การวางนโยบายที่ผิดพลาด ดังนั้นในฐานะประชาชนคนหนึ่ง จึงขอติงมา ณ บทความนี้

2) ประเด็นในบทความนี้ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้และ ในหลายบท บทความนี้เอามาหลอมรวมเป็นบทเดียว ปรับสำนวนใหม่ และมีแนวคิดใหม่แทรกเข้ามาเล็กน้อย

 

....คนถางทาง

 

ข้อวิจารณ์การป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล

วันที่ ๑๖ กพ. ๒๕๕๕  ผมได้มีโอกาสดูจอแก้ว (ที่ผมดูเฉลี่ยวันละประมาณ 1 นาทีเพราะเบื่อความด้อยคุณภาพของสื่อประเภทนี้)  ทราบว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยแบ่งเขตประเทศไทยออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนต้นน้ำ (ภาคเหนือ) ส่วนกลางน้ำ (ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน)  และส่วนรับน้ำ คือ กทม. และปริมณฑล โดยทั้งสามส่วนจะมีวิธีการจัดการต่างกัน

 

โดยหลักการใหญ่ๆ คือ ในส่วนต้นน้ำจะให้ปลูกป่าเพื่อดูดซับน้ำ   ส่วนกลางน้ำจะทำแก้มลิงเพื่อชะลอน้ำ  ส่วนปลายน้ำจะขุดคลองระบายน้ำลงทะเล (เรียกกันโก้เป็นภาษาปกิดว่า ฝลัดเวย์)

  

พอฟังเสร็จผมก็เกิดอาการ “ของขึ้น” ทันที  เพราะเรื่องแก้ไขน้ำท่วมแบบองค์รวมนี้ผมคิดพูดเขียนไว้นานและมากพอควร  

นโยบายชุดนี้ของรัฐบาลนี้คิดกันยังกะว่า ถ้าฝนมันแล้งที่ต้นน้ำ และกลางน้ำ  แต่ตกหนักที่ปลายน้ำ แล้วน้ำมันจะไม่ท่วมกทม. อย่างนั้นแหละ  (ดังนั้นไม่ต้องปลูกป่าที่ปลายน้ำก็ได้)

 

นโยบายรัฐบาล มีข้อบกพร่องอยู่ตรงที่นักวิชาการที่ปรึกษา (ราคาแพง) ไปคิดกันแบบผิดๆว่า ภาคเหนือคือต้นตอของน้ำ (ท่วม)

 

เราท่านที่ไม่มีวิชาการ หรือ มีเงินถุงถังไปจ้างนักวิชาการที่ปรึกษา ก็พอมองออกจากแผนที่ราคาสิบบาทว่า ภาค "กลางน้ำ" นี่แหละที่สร้างปัญหามากที่สุด ส่วนภาคเหนือนั้นมีส่วนร่วมในปัญหาน้ำท่วมไม่น่าถึง 10%  เพราะ 1) พื้นที่รับน้ำภาคเหนือมีน้อยกว่าภาคกลางประมาณ 1 ต่อ 3   2) น้ำภาคเหนือที่รับมา(จากฝน) ก็ถูกแบ่งออกไปแม่น้ำอิรวะดี (ในพม่า)  และ แม่โขง เสียสองในสามส่วนกระมัง  เหลือไหลออกมาเจ้าพระยาเพียงส่วนเดียวเท่านั้นเอง

 

แต่น้ำจากภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนอันกว้างใหญ่นั้น ร้อยละร้อยส่งต่อมายังส่วนปลายน้ำ เข้ากทม.โดยตรง ...แต่อนิจจา นักวิชาการราคาแพงที่รัฐบาลจ้างมาหาได้ตระหนักไม่ ทำให้ไปเน้นที่ต้นน้ำภาคเหนือกันอย่างผิดจุด

 

อีกทั้งการปลูกป่าเพื่อดูดซับน้ำในภาคเหนือนั้น มันไม่น่ามีประสิทธิผลสูง  เพราะพื้นที่ภาคเหนือมันมีความชันสูง ทำให้น้ำไหลเร็ว ดังนั้นน้ำไม่มีเวลาที่จะให้ดินดูดซับมากนักหรอก

 

นอกจากนี้ พื้นที่ภูเขาสูงนั้น หน้าดินมันจะตื้น ชั้นล่างเป็นหิน ดังนั้นแม้นว่ามันดูดซับน้ำ ก็ได้ไม่มากหรอก ดังนั้นการปลูกป่าเพื่อซับน้ำในภาคเหนือจึงไม่น่ามีผลต่อการป้องกันน้ำท่วมแถวกทม. มากนัก แต่เอ้าปลูกก็ดี..ดีกว่าปล่อยให้นักการเมือง (ผู้ทรงเกลียด) มันสมคบกับนายทุนท้องถิ่นเข้าบุกรุกถางกันจนเป็นเขาห้วโล้นไปหมดแล้ว

 

พื้นที่ภาคกลางนอกจากกว้างใหญ่และรับน้ำมากแล้ว ยังมีความลาดชันต่ำ ทำให้น้ำไหลช้า ทำให้ดินมีเวลาดูดซับน้ำ อีกทั้งหน้าดินหนา ซับน้ำได้มาก.... ดังนั้นถ้าจะปลูกป่าเพื่อป้องกันน้ำท่วม  ต้องเน้นหนักที่ “กลางน้ำ” ครับ ไม่ใช่ที่ต้นน้ำดังที่รัฐบาลว่า

 

แต่ต้องยอมรับว่าจะต้องลดพื้นที่ทำนาลง แล้วปลูกป่าทดแทน  ซึ่งเรื่องนี้ผมได้เขียนบทความเสนอไว้หลายที่เป็นเวลาหลายปีแล้วว่า การปลูกป่าให้ดีจะทำให้มีรายได้มากกว่าทำนา 20 เท่า (แล้วได้การป้องกันน้ำท่วมเป็นของแถมฟรี ๆ)  แต่ดูเหมือนว่ามีคนเข้าใจน้อยมากถึงไม่มีเลย ดังเช่น รัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาต่างก็มีนโยบายสำคัญในการสนับสนุนการปลูกข้าวส่งออกขายแข่งตัดราคากับเวียตนาม เขมร  อยู่นั่นแหละ  (แข่งกันจน)

 

การปลูกป่าซับน้ำที่ดีนั้น ต้องรู้จักวิธีปลูกด้วย โดยเฉพาะขนาด รูปทรง และทิศทางว่าจะปลูกขวางความลาดชัน หรือว่าตามความลาดชัน  อีกทั้งชั้นเยื่อของป่า สลับกับพื้นที่การเกษตร จะทำอย่างไรให้ดีที่สุด  เชื่อว่าไม่มีใครคิดประเด็นนี้สักเท่าไหร่  สายพันธุ์พืชที่ซับน้ำได้ดีก็ควรคำนึง  คิดบูรณาการไปถึงเศรษฐกิจการค้า อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ที่จะได้จากป่าด้วย

 

ในปี ๒๕๔๓ ผมได้ตั้งคำถามว่า ทำไมต้องยกถนนให้สูง เพราะผมเห็นว่ามันอาจกั้นทางน้ำไหล อาจทำให้น้ำท่วมเมืองได้ง่ายขึ้น และยังเกิดปัญหาด้านนิเวศอีกด้วย เช่นดินเค็ม ..ผลคือผมถูกด่าเสียดสีจากหลายคน แต่วันนี้เห็นมีคนเอาไปพูดกันกว้างขวางว่าถนนเตี้ยดีกว่า

 

 

แต่ช้าก่อน ถนนสูงนั้นถ้าสร้างให้ดี ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ มันก็สามารถช่วยลดน้ำท่วมได้นะ มันขึ้นอยู่กับ “สมอง” ของผู้ออกแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่ผ่านมา สร้างกันตามใจชอบ ฟลุกๆ มันก็ช่วยได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่มันช่วยทำให้ท่วมมากขึ้นเสียมากกว่า

การสร้างคลองระบายน้ำออกทะเลนั้น ถ้ามีหัวสักหน่อย จะไม่ต้องเสียค่าเวนคืนที่ดินสักสลึงก็ยังได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ ลดรายจ่ายประเทศในระยะยาว  เช่นการชลประทาน การประมง การคมนาคม การท่องเที่ยว การกีฬา(ทางน้ำ) การอุตสาหกรรม

วิธีเวนคืนที่ขอเสนอคือ ให้เอาเงินรายได้(ที่เพิ่มขึ้น)ของผู้ที่ขายที่ดินในอนาคตมาชดเชยให้กับคนที่เสียที่ดิน เพราะที่ดินจะมีราคาแพงขึ้นมากจากการอยู่ริมคลองนี้ (อาจถึง 10 เท่า)  ทั้งนี้ต้องบริหารจัดการอย่างชาญฉลาดทำให้ที่ดินริมคลองมีราคาสูงขึ้นด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 485055เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2012 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

So, it seems that the National Flood Management plan is just another mega-hammer on a small paper peck.

Some how I wonder, if we can combine logistics/transport infrastructure for Thailand in the 21st century with flood management. Afterall, flood water distribution or discharge is just a transport problem. Other goods transport and commuting problems are there. The existing infrastructures (roads, rivers, railways, ports, fuels, storage, ...) are out-of-date and inadequate. A more 'holistic' infrastructure program (covering both land and water management, health, education and transport for the 21st century) would provide a high gearing lift for economy, ecology, technology and invention, ... for Thailand for next 10-15 years.

Here is a BIG chance for a wayward government to really function as a real dovernment ;-).

ท่าน sr ครับ ผมได้คิดเขียนไว้มาก คือการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส คือแก้ปัญหาแล้วได้ประโยชน์อื่นไปด้วย โดยเฉพาะการคมนาคมขนส่ง ทางบก ทางเรือ การท่องเที่ยว (แก้มลิงก็คือทะเลสาบอันสวยงาม) การอุตสาหกรรม (ซึ่งต้องการน้ำ) การประมง การป่าไม้และอุตสาหกรรมที่ตามมา รวมทั้งแก้โลกร้อน มันสารพัดครับ

เย้ๆๆๆๆ คนถางทางกลับมาแล้ว เหงาตั้ง 1 วัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท