ดอกไม้ประจำชาติไทย..อะไรดี


ปีบขาว (กาสะลอง) ....อันนี้ โดยจริตส่วนตัว ชอบมากๆ ที่สุด เพราะรูปทรงประหลาด ขาว หอมชื่นใจ ออกดอกทั้งปี

วันนี้จู่ๆ ดอก”คูน” แห่งอีสาน  (แขก = ราชพฤกษ์,  ชัยพฤกษ์)  ก็กลายเป็นดอกไม้ประจำชาติไทยไปได้โดยปริยาย แบบว่าไม่ต้องมีประชาพิจารณ์แต่อย่างใด ...เออ..มันง่ายๆ แบบไทยๆ ดีจริงนะ  

 

สำหรับผม...ไม่ชอบคูนมากนัก เพราะมันมีฝักแก่ ที่ยากต่อการเก็บ กำจัด หรือใช้ประโยชน์   อีกทั้งปีหนึ่งออกหนเดียว  ไม่ได้ชื่นชมนานๆ อีกทั้งพอเอารถไปจอดใต้ต้น ฝักมันก็หล่นใส่จนรถมือสองอายุ ๑๐ กว่าปีที่แสนรัก ( และราคาแพงตั้งสองแสน) หลังคาบุบอีกต่างหาก

 

 

 จึงอยากเสนอดอกไม้ประจำชาติคู่แข่งอื่นที่ดี และมีความหมายน่าสนใจ เช่น

 

 

*เฟื่องฟ้า ....ออกดอกทั้งปี มีหลากหลายสี ทนแล้งชะมัด   ฝนก็ทนด้วย ดอกอะไรมันจะทั้งสวยและอึดแบบนี้  อาจเสียอย่างเดียวคือไม่ค่อยหอม แต่ความหอมนั้นบางคนก็ว่าฉุน เหม็น นะ กลิ่นกลางๆ น่าจะดีเสียอีก ...เข้าได้กับทุกเสื้อสี

 

*ตะแบก....ดอกหลากสีสวยงามมาก มีม่วง ขาว ชมพู เป็นหลัก มีขนาดดอกเล็กใหญ่ สะพรั่งสวยงามมาก ใบและลูกเอามาชงชาแก้โรคได้สารพัด    มีหลายพี่น้อง เช่น เสลา อินทนินบก อินทนินน้ำ  

 

*พุทธรักษา ...เป็นไม้ไม่ยืนต้น แต่ก็แตกหน่อได้เรื่อยๆ จนกลายเป็นยืนต้น มีลักษณะคล้ายทิวลิป (ที่คนไทยเห่อกันหนักหนา) แต่ดีกว่าทิวลิปมาก เพราะสวยกว่า และออกดอกทั้งปี มีหลากหลายร้อยสี แถมมีกลิ่นอ่อนๆ... ถึงว่า พุทธ จึง รักษา

 

*จาน (ทองกวาว)...เป็นดอกไม้ประจำ มหาลัย หลายแห่งไปแล้ว   ขึ้นได้มากทางอีสาน เหนือ

 

*ปีบขาว  (กาสะลอง) ....อันนี้ โดยจริตส่วนตัว ชอบมากๆ ที่สุด เพราะรูปทรงประหลาด   ขาว หอมชื่นใจ ออกดอกทั้งปี หล่นขาวโพลนใต้ต้น  แถมทนแล้ง ทนฝน ประโยชน์ทางยาสมุนไพรก็สารพัด  (ถ้าจำไม่ผิดเข้าตำรายาไทยโบราณ จัดอยู่ใน “เกสรทั้งห้า” ด้วยนะ)

 

 

แล้วท่านล่ะ ช่วยเสนอดอกไม้ประจำชาติด้วยนะ

 

กติกาคือ

 

ต้องปลูกได้ในทุกภาคของไทย

มีความหมาย หรือ ลักษณะที่ดี (สุดแล้วแต่การตีความ เช่น อดทน เลี้ยงง่าย ไม่สามารถถูกจูงจมูกได้ง่าย  เหมือนคนไทยมักง่ายในสมัยนี้) 

มีลักษณะภายนอกที่ดี (เช่น สวย หอม ลึกลับน่าติดตาม)

 

...คนถางทาง (๑๒ เมษายน ๒๕๕๕)

 

 

หมายเลขบันทึก: 485005เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2012 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันนี้มาด้วยเรื่อง ........ดอก............ทั้งนั้นเลยนะอาจารย์

เฟื่องฟ้านั้น บางคนว่าเป็นดอกนำเข้า ไม่ทราบจริงไหม แต่ทำไมหน้าตามัน ไท้ไทย ล่ะ

เพิ่งนึกออกว่าต้นไม้ประจำจังหวัด อังกอราชของผมคือ ต้นสาทร (ต้นไรหว่า..ชอบกันจังไอ้ชื่อแขกๆ เนี่ย) ถ้าให้ผมเป็นคนตั้ง ผมจะตั้งต้น "แจง" เป็นไม้ไทยโบราณ ทรงพุ่มสวยงามมาก มีมากที่สุดก็แถวอังกอราชนี่แหละ ชาวบ้านนอกถือเป็นไม้มงคลทั้งสาม (อีกสอง จำไม่ได้เสียแล้ว) แถมใบอ่อนมันกินได้อีกด้วยนะ

เพิ่งไปค้น เขาว่ากันว่า เกสรทั้งห้า คือ พิกุล บุนนาค สารภี มะลิ และ บัวหลวง ไม่มีปีบครับ แหมน้อยใจนะ เพราะชื่อมันไม่ไพเราะออกแขกหรือไง กระทั่งบัวก็ยังต้องเป็น บัวหลวงเลย บัวไพร่บ้านนอกไม่ได้หรือไง

"ครูพื้นที่"เพิ่งกลับมาจากไปเยี่ยมบ้านค่ะ ถือโอกาสเอาไม้ดอกมาสวัสดี "คนถางทาง" อีกทั้งฝากนมัสการหลวงตา อุ๊บ!!.. เกือบไปแล้ว ^-^..หลวงพี่ "สติสัมปันโน" ด้วยค่ะ ขอบคุณที่ได้ชี้แนะธรรมะผ่านงานเขียน หลากสไตล์ อ่านแล้วอมยิ้ม ขำ หรือหัวเราะ เป็นกุศโลบายที่ดีเชียวหล่ะ

ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในลิสต์ของไม้ชนิดที่ คนถางทางชอบ แต่สักวันเผื่อเปลี่ยนใจ รัก ชอบไม้ดอกบ้าง อิอิ .. อโศก คือชื่อของไม้ดอกชนิดนี้ ปลูกไว้ริมระเบียง นอกชานที่บ้าน ทุกปีที่นิมนต์พระคุณเจ้า 5 รูปมาสวดในวันทำบุญสงกรานต์ ส่วนใหญ่จะเป็นท่านเจ้าคุณและพระคู่สวดเป็นเปรียญ 9 สองสามรูป เพราะเป็นวัดที่พระบวชเรียน.ปริยัติธรรม??..จึงสวดได้น่าฟัง ทั้งที่ตั้งใจแต่ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง นอกจากท่านเจ้าคุณเทศสอนก็จะได้ใคร่ครวญมากขึ้น ปีนี้มีสวดยันทุนด้วย ได้ยินคำว่า ยันทุนสามครั้ง (ภาษาแขก อย่างที่..คนถางทาง.. มักจะอ้างถึง) จะด้วยเพราะช่วงคลื่นที่เหมาะ หรืออะไร มิทราบได้ หรืออาจจะเพราะเมตตาธรรม ไม้ต้นนี้ออกดอกสะพรั่ง ใบเขียวขจี อวดสายตา ขณะประนมมือ ฟังพระสวดก็ชื่นชมเจ้าอโศกไปด้วยทุกปี (ขออภัย...ยังละวางไม่ได้.. ค่อยๆฝึกไป .. ยังติดในความสวย ความงาม อยู่เจ้าค่ะ :-)))

อโศก ก็ความหมายดีนะครับ เดาว่าหมายความว่า หมดโศก โรค ภัย แหม ว่าแต่ว่า บ้านสวย น่าอยู่มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท