โครงการประกันรายได้เกษตรกร (ทพศ.)


ผลสำเร็จจากการเรียกเงินชดเชยที่จ่ายโดยไม่สมควร โครงการประกันรายได้เกษตรกร (ทพศ.)

โครงการประกันรายได้เกษตรกร (ทพศ.)

        เป็นโครงการที่รัฐมุ่งที่จะช่วยเหลือเกษตรกรโดยการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง หรือการนำผลิตผลไปจำนำ ณ สถานที่รัฐกำหนด

        ภายใต้การเข้าร่วมโครงการนั้น รัฐได้กำหนดเงื่อนไข ที่ผู้เข้าร่วมโครงการต้องนำเอกสารสิทธิ์ มายืนยันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเองมีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ ที่เข้าร่วมโครงการ ถ้าหากเป็นการนำเอกสารสิทธิ์ เช่นโฉนดที่ดิน ก็ไม่มีปัญหาเพราะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินชัดเจน แต่หากนำเอกสารสิทธิ์ซึ่งมีเฉพาะสิทธิครอบครอง เช่นสัญญาเช่าที่ดินหรืออื่นๆ ซึ่งนำมายืนยันเข้าร่วมโครงการได้

         ประเด็นนี้จะทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นทันที เกษตรกรผู้ร่วมโครงการจะไม่มีความชัดเจนในพื้นที่ จึงทำให้เกิดการแจ้งพื้นที่ผิดพลาด อาจจะเกิดจากการไม่เจตนา เข้าใจผิดโดยสุจริต หรือเจตนา(เป็นองค์ประกอบของการกระทำผิดอาญา) โดยแจ้งพื้นที่ร่วมโครงการให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตามความเข้าใจของตนเอง(หรือเจตนาก็ตาม ทำให้ได้รับเงินชดเชยที่จ่ายโดยไม่สมควร(ฐานลาภมิควรได้)

           ภายใต้โครงการ ทพศ.หลังจากจ่ายเงินชดเชยไปแล้ว รัฐได้กำหนดให้มีองค์กรภาครัฐที่ออกไปติดตามประเมินผล ทำให้พบความผิดปกติจากการกระทำผิด(เจตนา หรือไม่เจตนา) รัฐจึงต้องเรียกเงินคืนในส่วนดังกล่าว

           กระบวนการเจรจาเรียกเงินคืนดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก มีผลกระทบกับเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ หากใช้หลักนิติศาสตร์ก็แสดงว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว(เจตนาหรือไม่) รัฐต้องมีการตรวจสอบ

           หากใช้หลักรัฐศาสตร์ โดยการเรียกเงินคืนกลับไปเป็นเงินแผ่นดิน ก็ต้องดำเนินการอย่างรัดกุม หลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร ถึงแม้ว่าจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ก็ตาม

            ขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย

1.ต้องเรียกผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงทำความเข้าใจถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งข้อเท็จจริง และข้อกฏหมายเพื่อหาทางประนีประนอม

 

2.แจ้งประสานหน่วยงานที่จ่ายเงินชดเชยเข้าร่วมเจรจา(ธกส.สาขาในพื้นที่) ถึงวิธีดำเนินการคืนเงิน

 

3.เชิญแกนนำในท้องถิ่นที่เกษตรกรให้การยอมรับ ศรัทธานับถือในความรู้ความสามารถเข้าร่วมเป็นผู้เจรจาและเป็นพยาน

4.หลังจากนั้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ปรึกษา หารือเพื่อตัดสินใจแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภายใต้กระบวนการที่ไม่มีการข่มขู่ หลอกลวง โดยกลฉ้อฉลใดๆทั้งสิ้น

5. หากผลการเจรจาประนีประนอมโดยหลักความเข้าใจที่ถูกต้อง และยอมรับร่วมกัน และยินดีคืนเงินส่วนต่างดังกล่าว ก็จะทำให้ทัศนคติระหว่างรัฐกับเกษตรกรมีความเข้าใจที่ดีต่อกันและร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไปอย่างยั่งยืนอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม

หมายเลขบันทึก: 484776เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2012 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาเยี่ยมชมคะ

ชอบขั้นตอนการดำเนินการดังที่กล่าวมาทั้ง 5 ข้อมากคะ

เป็นการเจรจาร่วมกัน รับฟังความคิดเห็นกันและกัน

ทำให้เกิดความโปร่งใส และนำมาซึ่งทัศนคติ ที่ดีจากภาคประชาชนสู่ภาครัฐ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท