รู้ไว้ก่อนไปชิชา(สูบมอระกู่)


สำนักข่าว Dailymail ตีพิมพ์เรื่อง 'How an hour spent smoking trendy shisha pipes is as harmful as a HUNDRED cigarettes' = "(การ) สูบมอระกู่ (บ้องชิชา) ที่กำลังฮิต 1 ชั่วโมง มีอันตรายพอๆ กับบุหรี่ 100 มวนได้อย่างไร", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
แนะนำให้อ่าน [ มอระกู่ - บาระกู่ - ชิชา คืออะไร ]; [ ชิชา ]
ภาพที่ 1: หม้อยาสูบชิชา (ชื่ออื่น = บาระกู่ มอระกู่ ฮุคคา) ใช้ความร้อนจากถ่านเผายาสูบผ่านน้ำ กลไกการสูบผ่านน้ำคล้ายบ้องกัญชา [ wikipedia ]
.
.
ภาพที่ 2: บ้องยาสูบชิชา [ wikipedia ]
.
มอระกู่เป็นเครื่องรมควันจากตุรกี ใช้การดูดท่อผ่านน้ำ คล้ายๆ การสูบกัญชา (Hubbly-bubbly, hookah, shisha) เช่น ชิชา ฮุคคา ฯลฯ กำลังเป็นที่นิยมในสถานที่ "อโคจร (อะ = ไม่; โคจร = ไป; รวม = ที่ที่ไม่ควรไป) ในอังกฤษ (UK) เช่น บาร์ชิชา ฯลฯ ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้น 210% ในช่วง 5 ปี
.
องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า การสูบชิชาหรือมอระกู่ 1 ชั่วโมงมีอันตรายพอๆ กับบุหรี่ 100 มวน
.
ศ.รอบเบิร์ท เวสท์ จากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า คนส่วนใหญ่จะดูดบุหรี่ 8-12 ครั้ง (puffs)/มวน = ควัน 0.5-0.6 ลิตร, การสูบชิชาจะสูดควัน 200 ครั้ง (drags = 0.15-1 ลิตร/ครั้ง)/ชั่วโมง = 30-200 ลิตร/ชั่วโมง
.
การสูดชิชาเพิ่มเสี่ยงโรคร้าย และโรคติดต่อจาก "ปาก-สู่-ปาก" เช่น วัณโรค ตับอักเสบ ฯลฯ ผ่านการปนเปื้อนเศษเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และอาจมีเศษเลือดอีกนิดหน่อย (น้อยมาก ทว่า... ไม่น่าไว้วางใจ)
.
คนส่วนใหญ่มีโรคเหงือก, โรคเนื้อเยื่อรอบเหงือก-โคนฟัน(ปริทนต์)อักเสบ ทำให้มีเลือดซึมที่เหงือก ปนไปในน้ำลายได้
.
ควันชิชามักจะเย็นกว่าควันบุหรี่ แถมยังมีการผสมกลิ่นผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอรี ฯลฯ และการสูบควันผ่านน้ำ ทำให้ผู้สูบมีแนวโน้มจะสูดเข้าไป "ลึก" กว่าบุหรี่
.
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า น้ำไม่ได้ช่วยลดพิษภัยจากควัน แต่ช่วยให้ควันเย็นลง
.
ค่าสูบในอังกฤษตกประมาณ 7-20 ปอนด์ = 337-963.4 บาท/ครั้ง และมักจะสูบร่วมกัน 2-3 คน
.
ถ้าคนตะวันออกกลาง อียิปต์ ตุรกีสูบชิชากันมาก, ภูมิภาคนี้น่าจะมีคนเป็นโรคปอด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอดมาก ซึ่งอาจจะได้เข้ามาใช้บริการเมดิคัลทัวร์ หรือรักษาโรคในไทยเช่นกัน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 15 มีค.55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 484715เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2012 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท