“เขาน้ำค้าง”..เ้ส้นทางสู่ธรรมชาติและอุดมการณ์ที่แตกต่าง


การเดินทางที่ไม่มีข้อจำกัดใดๆ ปล่อยใจสัมผัสธรรมชาติสองข้างทาง ..เราตั้งใจเก็บเกี่ยวความสุขระหว่างทางโดยละเลยเป้าหมายไปบ้าง.. แถมมีเพื่อนร่วมทางที่รู้ใจ ...ไถลไปเรื่อยๆหน่ะ!! สุขใจไม่น้อยเลย..

คุณค่าของพื้นที่ดินแดนพหุวัฒนธรรมกิ่นใต้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสรรพสิ่งล้วนเกี่ยวพัน บูรณาการในทุกภูมินิเวศ  “เขา พรุ (นา)  เล”  ที่เรียกสั้นๆตามประสา..ภาษาถิ่นใต้ ภาพที่เห็นได้ทั่วไปเริ่มจากภูผาสูง-พื้นที่ป่าต้นน้ำ พรุ (นา)-แหล่งรองรับน้ำ และ เล-ชายฝั่งทะเล ตามลำดับ เช้านั้นในการมุ่งหน้าสู่เส้นทาง เราน้อมนำคำพ่อหลวงของปวงชนมาปรับใช้กับวิถีของ “ครูพื้นที่” ด้วยการ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”  เป็นการฝึกตื่นรู้ในมิติต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์รอบด้าน

 

ขณะที่รถมุ่งหน้าไปยังอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงขลา  ได้แวะพักทักทายสรรพสิ่ง ตั้งกล้องดูนก เดินดูต้นไม้ ฟังเรื่องเล่าจากพงไพร ไม่ว่าจะเป็นชนิดไม้ป่าที่นับวันจะไม่รู้จัก หรือประโยชน์ใช้สอยที่กำลังจะลืมเลือนไป  ครั้นเดินเรื่อยๆต่อไปยังฝายน้ำล้น  เจ้าแมลงปอ (Dragon fly) แมลงชีปะขาว (May fly) และแมลงปอเข็ม (Damsel fly) หลากสีสวย บินว่อนไปมาประหนึ่งว่าทักทาย  ด้วยเพราะมีวงชีวิต (life cycle) ช่วงหนึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ  แมลงน้ำ (aquatic insect) เหล่านี้จึงใช้บ่งชี้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำได้เป็นอย่างดี ความเย็นฉ่ำที่สัมผัสได้ น้ำใสมองเห็นหินเกลี้ยงสวยที่ท้องน้ำ ก้มลงหยิบขึ้นมาพิจารณา ไพล่นึกถึงสำนวนที่ว่า “A rolling stone gathers no moss” มีนัยว่าอะไร...น่าคิดเตือนตนได้ดีเชียว??  ฝายดังกล่าวกั้นสายน้ำที่ไหลรินมาจากคลองที่เชื่อมต่อจากน้ำตกใกล้ๆกัน  เป็นสถานที่เหมาะสำหรับสำหรับใครที่หลงใหลในกลิ่นไอของธรรมชาติ  เพื่อนสรรพสัตว์น้อยใหญ่ที่นี่ดูจะคุ้นเคย ไม่ตื่นกลัว นอกจากนกหลากชนิด (ปรอดทอง, จับแมลง, กินปลี, กาฝาก, หัวขวาน ฯลฯ) ที่โผบินไปมาในมุมสูงแล้ว ที่พื้นล่างเจ้านกเด้าลมดง ก็เดินเป็นเจ้าบ้าน อวดลายสวยโชว์ตัวบนท้องถนน ขณะที่กระรอกน้อยพวงหางแดงก็กระโดดเกาะกิ่ง ก้านไม้ริมทางเดิน ดูแล้วเพลินตา สุขใจ ..

 

เส้นทางนี้น่าประทับใจไม่น้อย เพราะมากด้วยสีสันทั้งธรรมชาติและความแตกต่างทางอุดมการณ์ จนพัฒนาเป็นขุมรวมกำลังพลของ “สหาย” ทั้งหลายเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้ามของสหาย จคม. / พคม.  มีประวัติศาสตร์ให้ตรึกตรอง ใคร่ครวญ..ถึงสันติที่โหยหา บริเวณอุโมงค์เขาน้ำค้าง ก่อนที่จะต่อเติมพลังยามเช้าด้วยการชมตะวันขึ้น  ณ. ริมฝั่งอ่าวไทย บริเวณหาดสะกอม และเดินป่าศึกษาไม้กินได้ ไม้ใช้สอย ไม้ดอกหอม และสมุนไพรในป่าบริเวณเขตห้ามล่าฯในบริเวณใกล้เคียง ก่อนกลับสู่นิวาสถานมอ.ปัตตานี            (อ่านบันทึกเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/910

.. ๔ เมษายน ๒๕๕๕..

...pax vobiscum...(๔)


หมายเลขบันทึก: 484228เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2012 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เขาคอหงส์แถว มอ. เมื่อก่อนคงสวยงามและมีสัตว์ป่าเยอะนะคะ ที่สำคัญนำความเย็นมาให้ชาวหาดใหญ่ด้วยค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ถูกถล่มทีละเขาสองเขาแล้วค่ะ :(

ค่ะ..อ. จัน. .เมื่อมีโอกาสเข้าไปพักกับเพื่อนใน มอ.หาดใหญ่ แฟลตที่อยุ่ใกล้เขา อากาศเย็น ลมพัดเอื่อยๆสดชื่นที่เดียว นกและเยอะด้วยซิค่ะ เช้ามืดชวนกันไปวิ่งรอบอ่างน้ำก็ได้บรรยากาศดีมาก เป็นการเติมพลังชีวิตได้ดีในการเริ่มต้นใหม่แห่งวัน ขอบคุณความเขียวสบายตา อากาสเย็นสดชื่น ที่เขาคอหงส์นำมาให้ หมู่มวลสรรพสัตว์น้อยใหญ่ รวมถึงชาวหาดใหญ่และมอ.ที่ใกล้อยู่ใกล้ๆ เสียดายที่ชุมชนเมืองขยายเร็วเสียจนไปทำให้ธรรมชาติรอบข้างเปลี่ยนไปเร็วมาก นั่งรถผ่านทางลัดจากนาหม่อมเข้าไป มอ. เห็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าเศร้าใจทุกครั้ง ..ขุดไปถมไป. เขาลูกแล้วลูกเล่า....ถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม?? สังเกตูดว่าถ้าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทีละน้อย ดูเหมือนจะไม่สังเกตเห็นก็มักจะไม่กระทบใจ แต่ถ้าเป็นครั้งใหญ่ๆเช่นวิบัตภัยน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีก่อน เราก็มักตระหนักรู้ และรักธรรมชาติขึ้นมาทันควัน.... บางครั้งก็ไม่ค่อยจะทันการณ์ซะแล้วซิค่ะ ...

ขอบคุณ ทุกท่านที่แวะมาทักทาย ให้ดอกไม้ สำหรับสหายใหม่...ค่ะ :-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท