ข้อคิดเรื่่องการลดความดันโลหิตในโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน


ข้อคิดเรื่่องการลดความดันโลหิตในโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (หลอดเลือดสมองอุดตันและแตก)

ในภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน หลักการรักษาคือการทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่รอบๆ บริเวณ  ischemic penumbra ให้มากที่สุด และหลอดเลือดข้างเคียงที่ช่วยส่งเลือดไปเลี้ยง (collateral blood flow) ในบริเวณที่ขาดเลือดขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิต ซึ่งยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ในกรณีที่จะลดความดันโลหิตลงอย่างรวดเร็วทันที แต่มีคำแนะนำว่าความดันโลหิตควรจะลดให้ต่ำลงในกรณีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง (malignant hypertension) หรือมีภาวะอื่นร่วม เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือความดันโลหิตมากกว่า 185/110 mm Hg ในกรณีที่จะให้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy) หรือในกรณีที่ความดันโลหิต SBP มากกว่าหรือเท่ากับ 220 mmHg หรือ DBP มากกว่าหรือเท่ากับ 120 mmHg (โดยจะเริ่มให้ยาเมื่อวัดความดันโลหิตซ้ำทุก 5-10 นาที ต่อเนื่องกัน 2-3 ครั้ง ภายหลังทีให้ผู้ป่วยพักแล้ว ยังมีความดันโลหิตสูงตามค่าดังกล่าว)
ในกรณีการให้ยาลดความดันโลหิตสูงในระยะยาวเพื่อป้องกันหรือลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดซ้ำพบว่าแนวทางส่วนใหญ่จะแนะนำเริ่มให้ยาเมื่อผ่านพ้นระยะเฉียบพลันไปแล้ว ซึ่งในแต่ละอ้างอิงอาจให้นิยามของระยะเวลาเฉียบพลันที่แตกต่างกันเช่น บางอ้างอิงใช้ที่ 72 ชม.แรกหลังจากเกิดอาการ บางอ้างอิงใช้ที่ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ
ส่วนในกรณีที่เป็นเลือดออกในสมองเฉียบพลัน การที่มีความดันโลหิตสูงเกินไปอาจทำให้เลือดออกมากขึ้นและมีการบวมรอบๆ บริเวณที่มีเลือดออก โดยมีคำแนะนำให้ลดความดันโลหิตเพื่อให้  mean arterial pressure (MAP) น้อยกว่า 130 mm Hg โดยการเลือกให้ยาอาจพิจารณาจากระดับของ SBP และ DBP (สามารถดูจากในอ้างอิงอีกครั้ง)
เพิ่มเติม
ในภาวะโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน กว่าร้อยละ 60 จะพบว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงในช่วงแรก โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีระดับความดันโลหิตลดลงได้เองในเวลาต่อมา
และและนำอ่านบทความจาก 2 ลิ้งค์ด้านล่างนี้ประกอบร่วมด้วย
#การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน
#Cerebral autoregulation

Ref: Harrison 's principles of internal medicine, 18e
http://www.thaihypertension.org/2012%20Guideline%20in%20the%20Treatment%20of%20Hypertension.pdf 
http://pni.go.th/cpg/ischemic-stroke2007.pdf
http://pni.go.th/pnigoth/?page_id=989&did=26

หมายเลขบันทึก: 482866เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2012 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากคร้าบ อาจารย์จืด

เมื่อไหร่จะมีบทความใหม่ค่ะคุณหมอ

รออ่านบทความใหม่ด้วยคนครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท