หมออนามัย โรคเครียด


 

หมออนามัย โรคเครียด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

โรคเครียด เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางด้านความกังวล ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการวิตกกังวลมากเกินปกติ บางคนมีอาการ นอนไม่หลับ ใจสั่น ตื่นเต้น ตกใจง่าย เหงื่ออกมากผิดปกติ ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก แน่นท้อง ชาตามตัว ตัวอย่างของโรคเครียด เช่นโรควิตกกังวล โรคกลัว โรคย้ำคิดย้ำ ทำโรคแพนนิค (โรคใจอ่อน หรือโรคประสาทลงหัวใจ) โรคเครียดที่มีอาการทางกาย โรคเครียดภวังค์(หลงอยู่ในความคิดของตนเอง) จะเห็นได้ว่าโรคเครียดเป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย มักพบผู้ป่วยหลายคน มีอาการทางกาย และไปรักษากับแพทย์ทางอายุระกรรม ซึ่งจะตรวจไม่พบ สาเหตุทางร่างกายใดๆ

สาเหตุของโรคเครียด

    จากจิตใจที่มีความเครียด ซึ่งเป็นภาวะของอารมณ์ที่จะเกิดขึ้น เมื่อคนอยู่ในสถานการณ์หวาดหวั่น น่ากลัว หรือมีภัยอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจอารมณ์เครียดเกิดขึ้นได้มาจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. เกิดจากพื้นฐานทางจิตใจของคนแต่ละคน ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดความเครียดได้มากน้อยไม่เหมือนกัน เด็กบางคนเกิดมาพร้อมกับระบบประสาทที่อ่อนไหว ตื่นตัวและเครียดกังวลได้ง่าย บางคนจิตใจหนักแน่นไม่ค่อยหวั่นไหว แม้มีเหตุการณ์ที่น่ากลัวก็ไม่มีปฏิบัติกริยามาก
  2. การถูกเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนตั้งแต่เด็กถึงวัยรุ่น ถ้ามีเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดความน่ากลัว หวาดหวั่น เกิดความไม่มั่นคงในอารมณ์ ก็จะฝังใจทำให้เกิดความเครียดเมื่อโตขึ้นได้ง่าย
  3. การคิดที่ไม่ดี คิดในแง่ร้าย คิดกังวลล่วงหน้ามากเกินไป ถ้าถูกฝึกให้คิดเช่นนี้มากเกินไปจะติดเป็นนิสัยทำให้เกิดอารมณ์เครียดได้ง่าย
  4. การดำเนินชีวิตที่แข่งขัน เร่งรีบ ต่อสู้กันมากเกินไป ขาดการพักผ่อน ทำให้ร่างกายและจิตใจเกิดความเครียด

 

อากาโรคเครียด  

     ปวดศีรษะเป็นประจำ โดยอาจปวดข้างเดียว ปวดท้ายทอย ปวดกระบอกตาและบริเวณหัวคิ้ว มีผื่นแดงตามผิวหนัง มีอาการคันตามคอ หลัง หรือลำตัว มือเท้าเย็นเป็นประจำ นอนกัดฟัน นอนกรน ปวดหลัง ปวดคอปวดไหล่ ความต้านทานโรคต่ำ เช่นเป็นหวัดง่าย ท้องเสียง่าย ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีอาการปวดท้องอาเจียน อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องผูก มีความกังวลสูงและร้อนรนในการที่จะต้องทำงานให้เสร็จ หัวใจผิดปกติ อาจมีอาการหายใจสั้นๆ หรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีความผิดปกติทางเพศสัมพันธ์ นอนไม่หลับเป็นประจำ หรือต้องใช้ยานอนหลับ เป็นผู้ย้ำคิดย้ำทำ จำไม่ได้ว่าทำไปแล้วหรือยัง ต้องคอยตรวจสอบอยู่บ่อยๆ

การรักษา ขึ้นอยู่กับโรคเครียด ว่าเป็นโรคใด เพราะพยากรณ์โรคต่างกัน

  1. การรักษาโดยการใช้ยา ยามีประสิทธิภาพสูงมากในการรักษา โดยเฉพาะระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่เครียดมานาน หลังจากรับประทานยาคลายกังวล จะรู้สึกอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วใน 3-4วัน ปัญหาในการใช้ยาคือ ผู้ป่วยต้องใช้ยาเป็นประจำ ไม่สามารถหยุดยาได้ ซึ่งเกิดจากโรคเครียดส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับตัวในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยได้แต่รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ ไม่ได้ปรับปรุงบุคลิกหรือการปรับตัว โดยทั่วไปแล้ว ยาคลายกังวล ในปริมาณไม่สูง ไม่มีผลเสพติดทางร่างกาย ผู้ป่วยสามารถหยุดยาได้ โดยไม่มีอาการถอนยาแต่อย่างใด ตัวอย่างยาคลายกังวลที่ใช้คือ Diazepam
  2. การรักษาโดยใช้จิตบำบัด โดยเน้นการรักษาแบบจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ สามารถเพื่อทำให้ผู้ป่วยปรับตัว ชีวิตประจำวันได้ ปรับปรุงบุคลิกภาพตนเอง ให้มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น
  3. การรักษาโดยพฤติกรรมบำบัด ในกรณีย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคกลัว สามารถใช้วิธีนี้ ช่วยในฝึกเพื่อลดพฤติกรรมดังกล่าวได้
  4. อื่นๆสันนาการต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย เช่นงานอดิเรกต่างๆฟังเพลง เล่นกีฬาเบาๆปลูกต้นไม้ การใช้หลักศาสนา ซึ่งแล้วแต่ความพอใจของแต่ละคน ย่อมทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้

 

ชนิดของความเครียด

     1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันที่ และร่างกายตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที่เหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายจะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่มีคนมากๆ ความกลัว ความตกใจ หิวข้าว อันตรายต่างๆ

     2. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรัง เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นนั้นจะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความเครียดของแม่บ้าน ความเหงา

 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากความเครียดเรื้อรัง

  1. ปัจจัยทั่วไปที่มีผลต่อความเครียดได้แก่ ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของความเครียด การอบรมเลี้ยงดูเด็ก เด็กที่ได้รับความอบอุ่นและได้รับการอบรมที่ดีจะมีความทนทานต่อความเครียดมากกว่าเด็กที่มีครอบครัวที่แตกแยก มีการทะเลาะกันในครอบครัว บุคลิกภาพของคนที่จะเครียดง่าย กรรมพันธุ์ คนบางครอบครัวจะมีความสามารถในการผ่อนคลายได้น้อยกว่าคนอื่น จึงทำให้เครียดเรื้อรัง โรคบางชนิดที่มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่นโรคภูมิแพ้ ระยะเวลาและปริมาณความเครียดที่ได้รับ หากเจอความเครียดอย่างมากและเป็นเวลานานทำให้เกิดโรคจากความเครียดได้มาก บุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดได้ง่าย วัยรุ่น เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ต่อการรับสภาพและการปรับตัวต่อความเครียด ผู้หญิงจะเกิดความเครียดได้บ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากผลของฮอร์โมนเพศ ผู้หญิงทำงานจะมีความเครียดทั้งที่ทำงานและที่บ้าน คนที่มีการศึกษาน้อย หม้ายหรือคนที่หย่า คนตกงาน คนที่อยู่คนเดียว คนที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเครียดง่ายกว่าคนในชนบท
  2. ความเครียดในวัยเด็ก เด็กที่ครอบครัวอบอุ่นจะมีระดับฮอร์โมนความเครียดต่ำกว่าเด็กที่ครอบครัวแตกแยกสาเหตุสำคัญของความเครียดในเด็ก ได้แก่แม่ที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือก้าวร้าวจะเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด รองลงมาได้แก่ความยากจนและการอยู่ในชุมชนแออัดเด็กผู้หญิงจะเกิดความเครียดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่เด็กผู้ชายจะเกิดความเครียดจากการเรียนที่ตกต่ำการเปลี่ยนสถานที่เรียน
  3. ความเครียดในผู้สูงอายุ ท่านที่อยู่กับผู้สูงอายุต้องเข้าใจผู้สูงอายุด้วยเพราะกลุ่มนี้จะเครียดได้บ่อยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ไม่สามารถทำได้ตอนอายุน้อยๆ การเจ็บป่วยซึ่งจะพบมากขึ้น นอกจากนั้นสถานะทางสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปจากผู้นำในครอบครัวเป็นที่ต้องพึงพาคนอื่นทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย นอกจากนั้นความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับกับความเครียดลดลง
  4. ผู้ที่ดูแลคนอื่น เช่นดูแลคู่ครองที่เป็นอัมพาตกลุ่มคนเหล่านี้จะมีโรคที่เกิดจากความเครียดได้สูงกว่ากลุ่มอื่นโดยเฉพาะกลุ่มดังต่อไปนี้ กลุ่มรายได้ต่ำ อยู่กับผู้ป่วยสองต่อสอง ผู้ป่วยที่ต้องดูแลอยู่ในสภาพช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ไม่สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยที่ต้องดูแล นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มพยาบาลที่ต้องบริการผู้ป่วยก็มีความเครียดสูง
    1. ผู้ที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย โกรธง่าย โมโหร้ายจะเกิดโรคจากความเครียดได้ง่าย
    2. ผู้ที่ขาดญาติหรือมิตร เวลาที่มีปัญหาไม่สามารถปรึกษาผู้อื่นจะเกิดโรคความเครียดได้ง่ายกว่าคนอื่น
    3. เครียดจากงาน ความเครียดที่เกิดจากงานมักจะเป็นความเครียดเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการเสียสมาธิ ง่วงนอน ปวดหลัง เกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้ง่ายลักษณะความเครียดกับงาน ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง ไม่มีความมั่นคงในงาน ชั่วโมงการทำงานมากเกินไป ผู้ที่จากครอบครัวมาเป็นเวลานาน รายได้ไม่เป็นไปตามความหนักและความรับผิดชอบของงาน ไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบ ความคาดหวังของคนรับบริการและเจ้านายสูงเกินความเป็นจริง

 

 

คุณมีความเครียดหรือไม่ ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

  1. อาการแสดงทางร่างกาย มึนงง ปวดกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง เสี่ยงดังในหู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้องจเต้นเร็วน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ ไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบ
  2. อาการแสดงทางด้านจิตใจ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  3. อาการแสดงทางด้านอารมณ์ โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตนเอง
  4. อาการแสดงทางพฤติกรรม รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ ติดสุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว

การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดมากให้ท่านปฏิบัติตนตามคำแนะนำ

ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมของการนอนคือ เวลา 22.00น. เมื่อภาวะเครียดมากจะทำให้ความสามารถกำหนดเวลาชีวิตเสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้อาการเครียดลดลง ก็จะหลับได้เหมือนเดิมปกติ ในการปรับตัวใช้เวลา 3 สัปดาห์  ให้ร่างกายได้พัก ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอกบ้าน ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนแปลงบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดความเครียด หากคุณเป็นคน ที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การรับประทานอาหาร ให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้างserotonin เพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอ หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า ให้ออกกำลังกาย ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

สาเหตุของความเครียด

      สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่นมลภาวะ ได้แก่ เสียงดังเกินไปจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ อากาศเสีย ควัน น้ำเสีย ฝุ่นละออง ยาฆ่าแมลง การอยู่กันอย่างแออัด สภาพเศรษฐกิจที่ไม่น่าพอใจ เช่นรายได้น้อยมากกว่ารายจ่าย สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่นการสอบแข่งขันเข้าเรียน  เข้าทำงาน เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง นิสัยในการกินการดื่ม ที่ส่งเสริมความเครียด เช่นผู้ที่ดื่มกาแฟบ่อยๆสูบบุหรี่ดื่มเหล้า ตลอดจนกินของที่มีน้ำตาลมากๆ มีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆที่ไม่ราบรื่น มักมีข้อขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นเป็นปกติวิสัย ความรู้สึกตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น ต้องพยายามต่อสู้เอาชนะ ต้องการมีอำนาจเหนือผู้อื่น

 

 

 

วิธีลดความเครียดมีหลายวิธี

  1. วิธีแก้ที่ปลายเหตุ ได้แก่ การใช้ยา หม่อง ยาดม ยาแก้ปวด ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยากล่อมประสาท แต่วิธีการดังกล่าวไม่ได้แก้ไขความเครียดที่ต้นเหตุทำให้ความเครียดนั้นเกิดขึ้นได้อีก วิธีที่ดีที่สุด คือ วิธีแก้ไขต้นเหตุ
  2. วิธีแก้ไขที่ต้นเหตุ ได้แก่แก้ไขเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยให้เกิดความเครียด เช่นงานอดิเรกที่ชอบ ฝึกออกกำลังกายบริหารร่างกายแบบง่ายๆ
  3. เปลี่ยนแปลงนิสัยและทัศนะคติต่อการดำเนินชีวิต เช่นลดการแข่งขัน ผ่อนปรน ลดความเข้มงวดในเรื่องต่างๆ
  4. หาความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโภชนาการ เช่นรู้ว่าอาหาร เครื่องดื่มบางประเภทช่วยส่งเสริมความเครียด
    1. สำรวจและเปลี่ยนแปลงทัศนะคติตัวเองและผู้อื่น เช่นมองโลกในแง่ดี มองผู้อื่นในแง่ดี

     6     สำรวจและปรับปรุง สัมพันธภาพต่อคนในครอบครัวและสังคมภายนอก

     7.     ฝึกผ่อนคลายโดยตรง เช่นการฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ การออกกำลังกายแบบง่ายๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด การสำรวจท่านั่ง นอน ยืน เดิน การใช้จิตนาการ นึกภาพที่รื่นรมย์

    

คำสำคัญ (Tags): #โรคเครียด
หมายเลขบันทึก: 482749เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2012 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมมีอาการตอนขับรถครับ ผมก็บอกไม่ถูกเหมือนกันครับ ว่าเกิดจากการเครียดมากหรือเปล่า คืออยู่ดีๆผมกลัว ไม่กล้าแซงรถคันหน้าทำให้ผมจิ้ดขึ้นสมองและจิ๊ดที่ีอกด้านซ้ายครับ ช่วยติดต่อผมทีครับผมอยากหายมาก

เป้นโรคขี้กังวล คิดมากจนปวดหัว ลองฟังคุณหมออธิบายค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=-ub8d2edNZQ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท