ชีวิตที่พอเพียง: ๑๕๒๐. ชีวิตที่งานมากแต่ไม่เป็นเจ้าของ


งานที่ผมชอบคืองานที่ต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นงานที่ผมไม่รู้จริง จึงต้องเรียนรู้ พินิจพิเคราะห์หามุมมองใหม่ๆ ซึ่งเมื่อหาพบ ก็มักจะพบว่ามีคนเขาคิดมาก่อนแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลก แต่ก็ใหม่ในมุมของ บ้านเมืองของเรา ผมแปลกใจเสมอว่า ทำไมคนในวงการนั้นๆ โดยตรงจึงไม่พบ วิธีการใหม่นั้น


          วันที่๒๗ก.พ.๕๕พบท่านชนะรุ่งแสงท่านบอกให้จัดงานให้ผมเพิ่ม(เป็นนัยว่าผมลาออกจากประธานกกอ. มีเวลาว่าง) ผมบอกว่าผมมีงานยุ่งมากแต่ไม่ใช่งานของผมเป็นงานของบ้านเมืองที่ไม่มีคนจ้างผมทำแต่ผมทำด้วยความรักบ้านเมืองของเราและเพื่อช่วยน้องๆที่เป็นเจ้าของงาน

          ชีวิตแนวนี้มีความเบาสบายและมีคุณค่าสูงในขณะเดียวกันเหมาะสำหรับคนแก่ที่รู้สึกว่าตนเองพอแล้วไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้วแต่ก็ยังพอมีกำลังทั้งด้านร่างกายด้านสติปัญญาและด้านการมีเครือข่ายทางสังคมที่จะนำมาใช้ทำประโยชน์ต่อสังคมได้

          การทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทนให้คุณค่าทางใจสูงมากซึ่งก็คือการได้รับผลตอบแทนเป็นปิติสุขนั่นเองปิติที่ได้เห็นการเจริญก้าวหน้าของคนรุ่นหลังในการทำหน้าที่แก่บ้านเมืองได้เห็นตัวผลงานที่เป็นนวัตกรรมที่จะก่อผลดีต่อเนื่องระยะยาวแก่สังคมโดยมั่นใจว่าเมื่อเราตายไปแล้วสังคมก็จะยังได้รับประโยชน์จากผลงานเหล่านี้

          การมีงานมากแสดงว่าตัวเรายังพอมีคุณค่าอยู่ยังเป็นที่ต้องการช่วยให้ตัวเรามีสุขภาวะเชิงสังคม (social health)   เป็นคุณค่าที่มองจากมุมของการให้ไม่ใช่จากมุมของการได้หรือการเอา

          มีงานมากหรืองานล้นต้องมีระบบจัดการหรือจัดลำดับความสำคัญของงานเวลานี้ผมจัดลำดับเองไม่ได้ใช้เลขาในการรับนัดโดยใช้ระบบ first come, first served   ไม่ยอมเลื่อนหรืองดนัดที่รับไว้แล้ว เพื่อไปให้เวลาแก่งานที่มาทีหลัง   ระบบนี้มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี   ส่วนดีคือจัดง่าย ส่วนเสียคือหลายครั้งผมต้องไปทำงาน ที่ไม่ค่อยสำคัญ โดยต้องยอมเสียโอกาสไปงานสำคัญหรือที่ตนเองชอบเป็นพิเศษ

          งานที่ผมชอบคืองานที่ต้องคิดใหม่ทำใหม่   เพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน   ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นงานที่ผมไม่รู้จริง   จึงต้องเรียนรู้ พินิจพิเคราะห์หามุมมองใหม่ๆ   ซึ่งเมื่อหาพบ ก็มักจะพบว่ามีคนเขาคิดมาก่อนแล้ว   ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลก แต่ก็ใหม่ในมุมของ บ้านเมืองของเรา   ผมแปลกใจเสมอว่า ทำไมคนในวงการนั้นๆ โดยตรงจึงไม่พบ วิธีการใหม่นั้น

          ทำให้ผมตีความว่า ชีวิตที่อุดม คือชีวิตแห่งการเรียนรู้   และการเรียนรู้ที่สุดยอด คือการเรียนรู้ที่แนบแน่นอยู่กับการปฏิบัติ หรือการลงมือทำ

 

วิจารณ์ พานิช
๗ มี.ค. ๕๕

 

หมายเลขบันทึก: 482723เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2012 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท