เทคโนโลยีสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับบล็อก


ซอฟต์แวร์ที่สร้างค่าโดยอาศัย กระบวนการทางสังคม

กระแสเรื่องบล็อกในเมืองไทย ค่อยๆ มาแรงขึ้นเรื่อยๆ หลายๆ คนเลยที่ติดตามข่าว
ความเคลื่อนไหวด้าน IT อาจจะอยากรู้ว่า นอกจากบล็อกแล้ว มีอะไรอีกไหม ที่น่ารู้
น่าติดตามอีก วันนี้ผมจะลองเล่าในมุมมองของผมนะครับ ว่ามีกลุ่มเทคโนโลยี
ที่เกี่ยวข้องกับบล็อกอะไรอีกบ้าง ที่น่าติดตาม

เทคโนโลยีกลุ่มนี้ ที่ผมติดตามอย่างใกล้ชิดมาสองปีกว่า คือกลุ่มที่เรียกกันว่า
social software หรือจะแปลเป็นไทยก็ได้ว่า "ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม" ชื่อเข้ากัน
กับชื่อเต็ม สคส. พอดีเลย เมื่อวานนี้ ดร.จันทวรรณก็ได้ พูดถึง เว็บชื่อ Many2Many
ซึ่งเป็นเว็บสำคัญที่พูดเรื่อง social software ไว้ และผมก็พยายามติดตามอ่านอยู่
เสมอๆ พอจะสรุปความหมายของ social software สั้นๆ ได้ว่าคือ
"ซอฟต์แวร์ที่สร้างค่าโดยอาศัยกระบวนการทางสังคม" (ไม่รู้ยิ่งแปลยิ่งงงไหม)

ตอนนี้ผมจะขอเล่าสรุป ซอฟต์แวร์ 4 กลุ่ม ที่จัดเป็น social software นะครับ

  1. ฺBlog
  2. Wiki
  3. Social Networking
  4. Social Bookmarking and Tagging

1. Blog หรือที่เขียนเป็นไทยว่า บล็อก เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะคล้ายไดอารี่
แต่เป็นไดอารี่ที่เปิดให้คนอื่นเข้ามาอ่าน เข้ามา comment ได้ เนื้อหาก็ไ่ม่เหมือน
ไดอารี่ซะทีเดียวนัก เพราะมักจะมี link ไปยังบล็อกอื่นๆ พร้อมความเห็น comment
ทำให้เกิดการสนทนาข้ามระหว่างบล็อก คุณค่าที่เกิด ก็เกิดหลายจุด ได้แก่การช่วยให้
ความคิด ที่เขียนออกมาชัดเจนขึ้น ช่วยบันทึกความจำประสบการณ์ไว้ไม่ให้ลืม ช่วย
ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคนอ่าน และคนเขียน รวมทั้งอาจช่วยสร้างชุมชน
ของผู้สนใจร่วมกัน อันจะนำไปสู่ CoP ได้อีกด้วย ซึ่งก็ย้อนกลับมาเป็นแรงจูงใจ ให้คน
เขียนเนื้อหาดีๆ ในบล็อกมากขึ้น เพราะมี "เพื่อน" ร่วมชุมชนคอยติดตามอ่านอยู่

2. Wiki เป็นเว็บที่ตรงข้ามกับบล็อก เพราะบล็อกจะเน้นที่ความเห็นของคนแต่ละคน
ที่ใครคิดยังไง ก็พูดในบล็อกของตัวเอง มีสิทธิ์ขาดที่ใครจะมาเถียงไม่ได้ ในขณะที่
Wiki จะเน้นที่ฉันทามติของคนทั้งหมด โดยแต่ละหัวข้อก็จะมีหน้า 1 หน้า หากใคร
คิดเห็นยังไง ก็เขียนแก้ไขหน้านั้นๆ ได้ แต่ถ้าคนอื่นไม่เห็นด้วยก็มาเขียนเพิ่มหรือ
ลบ/แก้ของเดิมได้ ฟังๆ ดูคงวุ่นพิลึก แต่ความจริงแล้วกลับทำงานได้ดี เกิดบทความ
ดีๆ ในเรื่องต่างๆ มากมาย ใครสนใจไปดูได้ที่ Wikipedia ครับ (ภาษาไทย ก็มี)

3. Social Networking หรือแปลเป็นไทย(ผมแปลเอง) ว่าเว็บเชื่อมสายสัมพันธ์
เว็บในกลุ่มนี้ มีความหลากหลายค่อนข้างมาก แต่หลักการก็คือ ให้แต่ละคนใส่ข้อมูล
เกี่ยวกับเพื่อน หรือคนรู้จักของตัวเอง และข้อมูลรายละเอียดส่วนตัว ความชอบ
ความสนใจของตัวเอง ยกตัวอย่างเว็บพวกนี้ ก็เช่น Friendster, Linkedin, Orkut
หรือแม้กระทั่งอย่าง Flickr (เว็บบริการเก็บรูป) ก็มี feature ด้าน Social Networking
ที่ช่วยให้ค้นหารูปเจอ และแบ่งรูปกับเพื่อนๆ ได้ง่าย ผมเห็นแนวโน้มว่าเว็บชุมชน
ส่วนใหญ่ในอนาคต จะใส่ feature ด้าน Social Networking ลงไปเกือบหมด
ทำให้ค้นหาคนที่คล้ายๆ กับเราได้ จึงเป็นเครื่องมือที่ดีมาก ในการสร้างชุมชน

4. Social Bookmarking and Tagging เป็นกระแสที่มาใหม่ล่าสุด ในแวดวงของ
Social Software เป็นการค้นพบวิธีจัดระเบียบข้อมูล แบบมีส่วนร่วม เพื่อการแบ่งปัน
(ฟังแล้วงงๆ ไหมครับ) หลักๆ ก็คือ ให้ใส่ keyword แก่ข้อมูลแต่ละชิ้น และมีการ
รวม keyword เดียวกัน ออกมาเป็นกลุ่มเดียวกัน โดยข้อมูลหนึ่งอาจถูกแต่ละคนใส่
keyword ที่ไม่เหมือนกันได้ พอหลายๆ คนช่วยกันใส่ ก็ทำให้ keyword สมบูรณ์เอง
การใส่ keyword นี้ (เรียกว่า tagging) ทำได้กับข้อมูลทุกๆ แบบ เช่น เว็บไซต์ (del.icio.us)
รูปภาพ (flickr) บทความวิจัย (citeulike) และอื่นๆ อีกมากมาย มีเว็บ technorati
จะรวม keyword จากหลายๆ ที่ มาให้ดูได้จากที่เดียว

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเองสนใจเรื่อง tagging นี้มากเป็นพิเศษ เพราะมีการทำนายว่า
มันจะผนวกเข้ากับระบบ blog ต่อไป และใช้ในการ filter เนื้อหาของ blog เฉพาะที่เรา
น่าจะสนใจได้ด้วยไว้วันหลัง จะหาโอกาสเล่าให้ฟังอีกครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 482เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2005 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ดีมากเลยคะอ.กรกฎ ที่มาช่วยๆ กันเขียน ช่วยๆ กันสร้างความเข้าใจ ให้คนไทยได้รับรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเองและประเทศชาติ

ขอบคุณจริงๆ คะ :)

จันทวรรณ

ผมได้ความรู้เรื่อง blog เพิ่มขึ้นมากเลยครับ

ขอบพระคุณมากครับ

  ขอบคุณครับ... 
นอกจากได้ประโยชน์ ตน ของผมแล้ว จะนำไปขยายผลให้เกิด ประโยชน์ในวงกว้าง ยิ่งขึ้นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท